"Self-conquest is the greats of victory" การชนะใจตนเอง คือ ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

11/04/2010

BOE&ECB Interest Rate

***ECB LEAVES BENCHMARK INTEREST RATE UNCHANGED AT 1.00%, AS EXPECTED.

***BANK OF ENGLAND KEEPS ITS BENCHMARK INTEREST RATE AT 0.50%

10/30/2010

Quantitative Easing หรือ QE

QE คืออะไร ตอบแบบสั้นๆ คือการที่ธนาคารกลางเพิ่มเงินปริมาณมหาศาลเข้าสู่ระบบโดยตรง ด้วยการเข้าซื้อสินทรัพย์ คือตราสารทางการเงินต่างๆในตลาดอย่างจริงจัง มีผลทำให้งบดุล (Balance Sheet) ของธนาคารกลางบวมเป่ง ทั้งทางฝั่ง Asset (ตราสารที่ซื้อเข้ามา) และฝั่ง Liability (เงินที่จ่ายออกไป)

สิ่งที่ตามมากับนโยบาย QE เหมือนกับเงาก็คืออัตราเงินเฟ้อ เพราะกระแสเงินที่ไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจจะทำให้กำลังซื้อของภาคเอกชนเพิ่มขึ้น ขณะที่สินค้าและบริการต่าง ๆ ยังคงมีบริมาณเท่าเดิม และความเชื่อมั่นในค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐที่จะลดลง และหันไปลงทุนใน Safe Haven ต่าง ๆ (หนึ่งในนั้นคือทองคำ)

9/29/2010

Philosophy of professional traders.

ปรัชญาจากเทรดเดอร์มืออาชีพ

มีคนไม่กี่คนที่ทำผิด โดยการคิดว่าต้องทำทุกอย่างตลอดเวลา แต่กลับมีคนหลายๆคนในตลาดหุ้น ที่พยายามซื้อ-ขายอยู่ตลอดเวลา— Jesse Livermore

ผู้ที่สามารถควบคุมผู้อื่นได้ อาจจะมีอำนาจที่ยิ่งใหญ่ แต่ผู้ที่สามารถควบคุมตนเองได้ คือผู้ที่มีอำนาจอย่างแท้จริง — Lao Tse, Chinese Philosopher

ความลับสำคัญในความสำเร็จในการเล่นหุ้นนั้น ไม่ได้อยู่ที่เล่นหุ้นได้ดีที่สุด แต่ไม่ทำสิ่งที่แย่ที่สุดต่างหาก — anonymous

ทุกๆช่วงขณะในตลาดหุ้นนั้นมีความเฉพาะตัวของมันเอง.. และคุณไม่จำเป็นต้องรู้ว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป ในการที่จะทำกำไรในตลาดหุ้น — Mark Douglas

ถ้านักเล่นหุ้นส่วนใหญ่ เรียนรู้ที่จะพึ่งพาความสามารถของตนเองสักครึ่งหนึ่งจากเดิมที่พวกเขาทำ พวกเขาจะสามารถทำกำไรได้มากขึ้นอีกเยอะ — Bill Lipschutz

ความเชื่อผิดๆที่มีกันมายาวนานก็คือ ไม่มีใครเจ๊งจากการรีบขายหุ้นเพื่อทำกำไร แต่นั่นเป็นสิ่งที่ทำให้นักเล่นหุ้นหลายๆคนหมดตัว, พวกมือสมัครเล่นมักจะหมดตัวจากการขาดคราวละมากๆ ส่วนพวกมืออาชีพจะหมดตัวจากการได้กำไรคราวละน้อยนิด — William Eckhardt

คุณอาจเรียนรู้ที่จะแยกแยะนักเล่นหุ้นที่เก่งกาจออกจากคนอื่นๆ เทคนิคต่างๆที่จะทำให้ประสบความสำเร็จออกจากเทคนิคที่ไม่ทำให้ประสบผลสำเร็จ สิ่งดีๆที่ทำออกจากข้อผิดพลาด หรือคุณนั้นอาจที่จะเรียนรู้ที่จะแยกแยะคนรักหรือคู่ต่อสู้ ผู้แพ้ออกจากผู้ชนะ ใส่ใจหรือไม่ใส่ใจ ลึกซึ้งหรือผิวเผิน เพื่อนหรือศัตรู แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ คุณต้องเรียนรู้ที่จะแยกแยะว่า สภาวะจิตใจของนักเล่นหุ้นต่างหาก ที่เป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดสำหรับความสำเร็จในการเล่นหุ้น — Leo Melamed

โดยทั่วไปแล้ว เราทุกคนนั้นเล่นหุ้นไปตามความเชื่อของเรา ซึ่งเมื่อไหร่ที่เราได้ยึดมั่นในสิ่งที่เราเชื่อแล้ว เรามักจะไม่ชอบที่จะเปลี่ยนแปลงมัน และเมื่อเราเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น เรามักจะสันนิษฐานว่าเราได้นำเอาข้อมูลทุกๆอย่าง มาวิเคราะห์เป็นอย่างดีแล้ว แต่ในความเป็นจริง ความเชื่อของเรา ซึ่งเป็นผลจากการเลือกที่จะรับรู้สิ่งต่างๆในตลาดหุ้น อาจได้ทำลายข้อมูลที่เป็นประโยชน์ที่สุดออกไปแล้วก็ได้ — Van K. Tharp, Ph.D.

นักเล่นหุ้นทางเทคนิคควรจะสามารถยอมรับกับการขาดทุนเพียงเล็กน้อย ที่เกิดขึ้นจากระบบการลงทุนของพวกเขามากกว่านักเล่นหุ้นด้วยพื้นฐาน โดยนักเล่นหุ้นที่ดีนั้น ควรจะยอมรับว่าตลาดหุ้นได้สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นจริงออกมา คุณไม่ควรนำความทะนงตน หรือความเห็นส่วนตัวมาทำลายระบบการลงทุนที่ดีของคุณ — Jerry Parker

นักเล่นหุ้นส่วนใหญ่มักถูกเสมอเมื่ออยู่ในช่วงกลางๆของแนวโน้ม แต่มักผิดเสมอเมื่ออยู่ในช่วงปลายของแนวโน้ม ทั้งขาขึ้น และขาลง — Humphrey B. Neill

กุญแจสำคัญในการเล่นหุ้นนั้น คือความมีวินัยและความสม่ำเสมอ แม้ว่านักเล่นหุ้นหลายๆคน จะสามารถจำสิ่งต่างๆที่เราได้สอนไปถึงร้อยละ 80 ก็ตาม แต่สิ่งที่พวกเขาทำไม่ได้ก็คือ เชื่อมั่นในระบบการลงทุนของเขา ถึงแม้ว่าจะต้องเจอกับช่วงเวลาแย่ๆก็ตาม — Richard Dennis, on Turtle Trading

นักเล่นหุ้นที่เก๋าเกม จะพยายามควบคุมความเสี่ยงเอาไว้ ส่วนนักเล่นหุ้นที่อ่อนหัดนั้น มักคิดแต่จะทำกำไรเพียงอย่างเดียว — Alan Farley

ปรัชญาของผมคือหุ้นทุกตัวนั้นแย่ และมันจะยังเป็นอย่างนั้นจนกระทั่งราคาของมันวิ่งขึ้นไป และหากราคาของมันลดลง คุณต้องรีบตัดขาดทุนโดยเร็ว.. การปล่อยให้การขาดทุนบานปลายนั้น เป็นข้อผิดพลาดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของนักลงทุนส่วนใหญ่ — William O\\\’Neil

ผมรู้ว่ามันอาจจะฟังดูแปลกๆสำหรับนักเล่นหุ้นหลายๆคน แต่มันมีข้อแตกต่างระหว่างการวิเคราะห์หุ้นได้ดี กับการเล่นหุ้นได้ดี การวิเคราะห์หุ้นให้ละเอียดมากขึ้นไม่สามารถทำให้ผลการเล่นหุ้นดีขึ้นมาได้นัก และมีนักเล่นหุ้นหลายๆคน ที่ติดกับดักอยู่ในวงจรนี้ พวกเขาคิดแต่ว่าการวิเคราะห์ที่ดีขึ้น จะทำให้พวกเขามั่นใจว่าสิ่งที่พวกเขาทำนั้น จะเป็นสิ่งที่ทำให้ประสบผลสำเร็จในการเล่นหุ้นได้ ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับความรู้สึกของนักเล่นหุ้นโดยทั่วไป และเป็นสิ่งที่นักเล่นหุ้นส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ตระหนักถึง จนกระทั่งพวกเขาคิดได้ว่าคุณไม่สามารถใช้การวิเคราะห์หุ้น มาเอาชนะต่อความกลัวต่อการผิดพลาดหรือการขาดทุนที่เกิดขึ้น ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ — Mark Douglas, Trading In The Zone

จิตของคุณนั้นจะเป็นผู้กำหนดเอง ว่าตลาดหุ้นดีหรือไม่, ทุกข์หรือสุข, และรวยหรือจน — Edmund Spenser

ตลาดหุ้นสามารถจะทำตัวไร้เหตุผลได้ยาวนานมากกว่าที่คุณ จะสามารถทนอยู่กับการหมดตัวของคุณได้ — John Maynard Keynes

ผมจะไม่ยอมให้ความสำเร็จของวันวาน มาทำให้ผมพึงพอใจกับทุกๆวันนี้ เพราะนี่คือพื้นฐานสำคัญของความล้มเหลว — Og Mandino

สิ่งสำคัญไม่ได้อยู่ที่คุณจะเล่นได้หรือเล่นเสีย แต่มันอยู่ที่ว่าคุณทำเงินได้เท่าไหร่ตอนที่คุณเล่นได้ถูกทาง และคุณเสียเงินไปเท่าไหร่เมื่อคุณพลาด — George Soros

นักเล่นหุ้นหลายๆคนมักทำลายระบบการลงทุนที่ดีของพวกเขาเอง โดยการที่พวกเขาพยายามทำให้มันเพียบพร้อมที่สุด — anonymous

ถ้านักเล่นหุ้นส่วนใหญ่ เรียนรู้ที่จะพึ่งพาความสามารถของตนเองสักครึ่งหนึ่งจากเดิมที่พวกเขาทำ พวกเขาจะสามารถทำกำไรได้มากขึ้นอีกเยอะ — Bill Lipschutz

อย่าพยายามที่จะซื้อให้ต่ำที่สุด และขายที่จุดสูงสุด ไม่มีใครทำได้ นอกจากคนโกหก — Bernard Baruch

การทำผิดเป็นเรื่องที่รับได้ แต่ปล่อยให้มันผิดต่อไปเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ บางทีเราก็เลือกไม่ได้ที่จะทำผิดพลาดไป แต่หากเรายังไม่รู้จักแก้ไข นั่นแหละคือความผิดพลาดที่แท้จริง การจะเล่นหุ้นให้สำเร็จได้นั้น แน่นอนคุณ ต้องมีความชำนาญ แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือ คุณต้องรู้จักบริหารเงินทุนของคุณให้ดี (Money Management) นักเล่นหุ้นที่ดีต้องรู้จักจัดการกับการขาดทุนของเขา พวกเขาไม่ค่อยห่วงกับการทำกำไรเท่าไหร่นัก — MARK MINNERVINI

ความลับสำคัญในความสำเร็จในการเล่นหุ้นนั้น ไม่ได้อยู่ที่เล่นหุ้นได้ดีที่สุด แต่ไม่ทำสิ่งที่แย่ที่สุดต่างหาก — anonymous

Philosophy of professional traders

CFD หรือ Contract For Difference

CFD หรือ Contract For Difference เป็นอนุพันธ์ประเภทหนึ่ง

การซื้อขายส่วนต่าง (Contract For Difference-CFD)
การ ลงทุนแบบ CFD คือการลงทุนเพื่อทำกำไรจากส่วนต่างของราคาสินค้าที่กำหนด เช่น ทองคำ เงิน น้ำมัน อินเด็กซ์ (Index) อัตราแลกเปลี่ยน (FOREX :Foreign Exchange) บางครั้งมีหุ้นรายตัวด้วย ซื่งเป็นเครื่องมือที่ใช้การซื้อขายแบบมาร์จิน คือนักลงทุนต้องมีเงินจ่ายล่วงหน้า (Margin Deposit) จึงจะสามารถทำการซื้อขายได้ เป็นที่นิยมอย่างมากในหลายๆ ประเทศทั่วโลก เนื่องการเป็นการลงทุนที่ไม่สูงนักเมื่อเทียบกับมูลค่าการลงทุนจริงๆในตลาด นั้นๆ เนื่องจากการลงทุนของนักลงทุนในตลาด CFD แต่ละครั้ง มีการกำหนดอัตราส่วนของเงินลงทุนและมูลค่าที่ใช้ในการลงทุน (Leverage) เช่น 1:100 , 1:500 ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับ ประเภทของสินค้าที่เราต้องการซื้อขาย นั่นหมายความว่า การทำกำไรของนักลงทุนแต่ละครั้ง จะเป็น 1:100 เช่นกัน ถือว่าเป็นการลงทุนทีมีความเสี่ยงค่อนข้างสูงแต่ผลตอบแทนที่สูงด้วยเช่นกัน จึงเสน่ห์ของการลงทุน ที่เย้ายวนให้นักลงทุนทั้งหลาย และยังการมีระบบจัดการความเสี่ยงที่ดีเยี่ยม เป็นเครื่องมือในการลงทุนอีกด้วย โดยการใช้เครื่องมือที่เรียกว่า โปรแกรมเรียลไทม์ (Real Time Platform) หรือการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ต (Online Trading) ซึ่งโปรแกรมดังกล่าว สามารถทำการกำหนดกำไร(Take Profit) และขาดทุน (Stop Loss) และ การจองราคา (Pending Order) ได้อัตโนมัติ

ข้อแตกต่างระหว่าง CFD กับการลงทุนประเภทอื่นๆตลาด CFD จะมีความคล้ายคลึงกับ ตลาดการซื้อขายล่วงหน้า จากเดิมที่เราลงทุนได้เพียงในตลาดหลักทรัพย์เท่านั้น ทั้งนี้จึงขอเปรียบเทียบ การลงทุนแบบ CFD กับการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ และตลาดเกษตรล่วงหน้าในประเทศ อย่างคร่าวๆ เพื่อให้เห็นถึงข้อแตกต่างCFD มีการวางเงินก้อนในการลงทุนล่วงหน้า เช่น วางเงินลงทุน 5,000 แล้วแต่ว่าจะลงทุนแต่ละครั้งเท่าไหร่ จะลงเพียง 1,000 หรือ ลงทั้งหมดก็ได้ลงทุน 1 lot = 1,000 แต่มีมูลค่าจริงในตลาด 100,000 นั้นหมายความว่า 1:100 เมื่อมีกำไรเพียง 1 จะคุณด้วย 100 ทันที สามารถทำการซื้อขาย ได้ทั้ง ขึ้นและลง คือ เล่นได้ทั้งซื้อขึ้น หรือ จะเล่นแบบขายลงก็ได้ตลาดล่วงหน้า มีการวางเงินก้อนในการลงทุนล่วงหน้าก่อน แต่มูลค่าการซื้อขายยังคงเป็น 1:1หุ้น ไม่จำเป็นต้องวางเงินลงทุนเป็นก้อนก่อนลงทุนจริง เท่าไหร่ มีมูลค่าตามนั้น คือ ซื้อ 1,000 มูลค่าในตลาด 1,000 ราคาหลักทรัพย์ต้องขึ้นเท่านั้นจึงจะมีกำไร

ข้อดีของการลงทุนแบบ CFD
1. เป็นการตัดสินใจการลงทุนได้ด้วยตัวคุณเองแบบ วินาทีต่อวินาที โดยผ่าน Platform ที่เป็น Soft ware ที่เทรด CFD โดยเฉพาะ ข้อมูลเป็นราคา ตามเวลาจริงของตลาดโลกที่เกิดขึ้น
2. สามารถตั้ง ทำกำไร หรือ ตั้งรับการขาดทุน ได้อัตโนมัติ
3. เป็นการลงทุนแบบ Leverage คือได้อัตราส่วนของเงินลงทุนจริงกับมูลค่าจริงสูง เช่น ทองคำ 1: 100 , เงิน 1: 5000, อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ 1: 100000 เป็นต้น
4. ไม่ต้องใช้นายหน้าในการซื้อขาย โดยนักลงทุนสามารถซื้อขายผ่านออนไลน์ได้ด้วยตนเองการ ลงทุนประเภทนี้ในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่เปิดเสรีทางการเงินเช่น ฮ่องกง เกาะบิตริสเวอร์จิ้น อังกฤษ อเมริกา เป็นต้น นั้นสามารถทำได้อย่างเสรี โดยรัฐยังไม่มีกฏข้อบังคับที่จริงจัง เนื่องด้วยเป็นการซื้อขายผ่านอินเทอร์เน็ต

http://en.wikipedia.org/wiki/Contract_for_difference

8/24/2010

The 20 Habits of Successful Traders

1. They are patient with winning trades and enormously impatient with losing trades .

2. They realize that making money is more important than being right.

3. They look at technical analysis as a picture of where traders are lining up.

4. Before they enter any trade, they know exactly where they will exit for either a loss or a gain.

5. They approach trade number 5 with exact same mindset they did with the 4 previous losing trades.

6. They use "naked" charts

7. They realized a long time ago that being uncomfortable trading is OK.

8. They found a market that fit their style and personality.

9. They stopped trying to pick tops and bottoms long ago.

10. They stopped thinking about the markets as being “cheap” or “expensive”.

11. They are willing to changes sides, long to short and short to long when the market tells them to do so.

12. They trade aggressively when trading well and modestly when they are not.

13. They realize the market will be open again tomorrow.

14. They never add to a losing trade...ever.

15. Money is the target, but they set goals for themselves that are anything but money...

16. They read trading books - they read more "crowd" books.

17. They provide liquidity to the markets - watching price and volume.

18. The majority use some sort of tick-based chart so they can get a feel for the speed of the markets.

19. They practice reading the right side of a chart - not the left.

20. Most keep a trading journal how they felt, what the market was doing, what was in the news...

From ...traderinterviews.com/content/20Habits.php

8/09/2010

10 Steps to Becoming a Trader

Today’s guest is Mark Hodge of Rockwell Trading. The very basics of trading are often overlooked by new traders and I think we all can agree that you need a solid foundation to prosper in today’s markets. Mark decided to write a post on what, in his experience, makes a successful trader. Be sure to comment and feel free to share your success (and horror) stories of becoming a trader. Also, don’t forget to visit Mark at Rockwell Trading.

With the way the markets have been behaving these days, it’s no surprise that more and more people are interested in trading. If you’re new to trading, you’re probably attracted to the potential to make money, but you’ve heard horror stories about traders that have lost money in the markets as well. If you’ve been trading for awhile, you probably have a horror story or two of your own. These stories and experiences are important to share, but it’s unfortunate when many of these horror stories could have been avoided by understanding what it takes to become a trader, and by having direction early on.

The following “10 Steps to Becoming a Trader” provide a structured and systematic approach to becoming the trader you want to be. By following these “10 steps” you will be in the best position possible to achieve your goals as a trader:

Step 1 – Determine the type of trader that you want to be.
Sounds simple enough, but if you don’t address this key step it will be difficult to progress as a trader. What markets and time-frame will you trade? You’ll discover that your situation and goals will have a direct impact on the type of trader you decide to be. So ask yourself, what type of trader will you be?

Step 2 – Decide on a trading strategy.
By understanding the type of trader that you want to be (Step 1), you can narrow down your search and education to learn strategies that are appropriate for you. Don’t worry about learning strategies for markets or time-frames that you won’t be trading.

Step 3 – Get a charting package and trading platform.
Your charting and trading platforms should be tools, not barriers. Don’t let your charting package and trading platform prevent you from becoming the trader you want to be. Once you know the type of trader you will be and strategies you could possible use, you can then decide on the platforms that suit your needs.

Step 4 – Practice your strategy.
Although some trading strategies might be simple by nature, they can be extremely difficult to apply successfully without experiencing wins, losses, and draw-downs first hand. With practice you will be able to create personal experiences trading a strategy, which in turn will increase your confidence and give you performance numbers that can be evaluated. This practice and confidence is paramount to your eventual success trading a strategy live.

Step 5 – Learn chart reading skills.
Markets will trend or move sideways. Unfortunately there isn’t one strategy that is perfect for all market conditions. Understanding when to trade the right type of strategy using chart reading skills will help you improve the performance of the strategies you are trading.

Step 6 – Understand money management.
If the concept of money management is new to you, money management is simply a strategy for increasing or decreasing your position size. Even though the actual use of money management comes down the road, make it a point to learn about money management before moving on the next stage.

Step 7 – Create a trading plan.
Many traders are confused about the difference between a strategy and a trading plan. A trading plan is a comprehensive guide that goes beyond just basic strategy entry and exit rules. A strategy might tell you where to enter and exit a trade, but your trading plan will outline when to take a trade using a strategy.


In addition to covering specific guidelines for applying your trading strategies, a trading plan will cover goals, objectives, the markets you will trade, risk management, money management and more.

Step 8 – Execute your trading plan on a simulated account.
Even with trading, practice makes perfect. Practice your plan and evaluate your results. If you can’t make money trading your plan on a simulated account, you can’t expect that this will change when you trade your account live. When you do show consistent profits in a simulated account, it’s time to move onto the next stage.

Step 9 – Execute your trading plan on a live account.
After you have achieved simulated profits trading your plan, it’s time to trade a live account, but start small! Focus on consistent execution trading the plan you have practiced, and profits should follow.


Once you are able to achieve consistent profits it’s time to move on to Step 10.

Step 10 – Use money management to grow your account.
When you prove that you can take profits out of the market consistently trading your plan, it’s time to increase your position size in order to grow your account. There are different money management strategies that can be used, but traders should always increase their position sizes with profits, and decrease position sizes with losses (known as anti-martingale money management). When using an anti-martingale money management strategy you must earn the right to trade larger positions. With proper money management and consistent trading profits, you will be able to achieve your goals as a trader.

These 10 steps are a structured and practical approach that will help take you from where you are today, to where you want to be. Don’t’ skip any of these 10 steps! There are no short cuts here, but following this outline and approach will take your trading to the next level.

Happy Trading!
Mark Hodge
Head Coach, Rockwell Trading
club.ino.com/trading/2010/07/10-steps-to-becoming-a-trader

8/01/2010

สาส์นจากเทรดเดอร์ค่าเงิน Effi Lang

Effi Lang เป็นเทรดเดอร์ชาวบัลแกเรีย ที่ผมเชื่อว่าไม่น่าจะมีใครรู้จักเทรดเดอร์ผู้นี้ เพราะเขาไม่ได้เป็นเทรดเดอร์ชื่อดังขนาด จอร์จ โซรอส หรือว่า จิม โรเจอร์ส เเต่ Effi Lang เป็นคนที่สร้างเเรงบัลดาลใจให้ผมอย่ามหาศาล เมื่อ 3 ปี ก่อนหน้านี้ .........ทำให้ผมสนใจศาสตร์ของการลงทุนสไตล์ Trading เเละได้ฝึกฝนอย่างหนัก เพื่อจะไปในเส้นทางของเทรดเดอร์อิสระ เช่นเดียวกับ Effi Lang ซึ่งมีรายได้หลักมาจากการเทรด ซึ่งผมจะขอดึงข้อความบางส่วนที่คิดว่าจะช่วยให้เราเข้าใจ หนทาง รูปแบบ เป้าหมายชีวิตของเทรดเดอร์อย่างเเท้จริง

Effi Lang ได้พูดถึงเรื่องของ เวลา ว่าเป็นเรื่องสำคัญที่สุดที่เราจะต้องคำนึงถึง ตลอดการใช้ชีวิตของเรา เพราะเวลานั้นสามารถสร้างสรรค์ หรือ ทำลายเราได้ ( break or make you). เขาบอกว่า เวลาเเห่งการเดินทางของเขา เเละโลกเเห่งการลงทุนที่เเสนจะซับซ้อนเพิ่งจะเริ่มต้นขึ้น เเละเขาพร้อมที่จะอุทิศเวลาในชีวิตอีกหลายๆปีต่อจากนี้ไป เพื่อที่จะเข้าใจตนเอง เเละเข้าใจถึงธรรมชาติของตลาดการเงินอย่างเเท้จริง

There aren’t many jobs or occupations today that can offer what the challenge of becoming a Forex trader can..
(ในโลกนี้อาจจะมีหลายๆอาชีพ หลายๆงานที่น่าสนใจ เเต่มีงานจำนวนไม่มากนัก ที่จะสามารถสร้างความท้าทายให้กับชีวิตได้เท่ากับ............งานของเทรดเดอร์ )


Trading is not just a means of income, it is an Art and as with any other it requires an extremely persistent state of self discipline, which can be achieved only in cooperation with patience, a positive attitude and a goal.
(การเทรดนั้นไม่ได้เพียงทำเเค่ต้องการรายได้ หรือเงินตรา เเต่มันคือศิลปะที่ต้องใช้ระเบียบวินัยอย่างถึงที่สุด ซึ่งคำว่า ระเบียบวินัยนั้นจะเกิดขึ้นได้ ต้องอาศัยทั้ง ความอดทน ทัศนคติบวก เเละเป้าหมายที่ชัดเจน)

The fastest way to success is a disciplined plan. So take a day, a week a month a year if you have to, but write a plan and keep a diary, because that’s the fastest way to mature as a trader.
(หนทางที่เร็วที่สุดที่จะประสบความสำเร็จในการเทรดนั้น คือเเผนการที่เป็นระบบ เราอาจจำเป็นที่จะต้องใช้เวลาเป็น วัน เป็นอาทิตย์ เป็นเดือน หรือเเม้เเต่เป็นปีถ้ามันจำเป็นจริงๆ เเต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ให้เราเขียนเเผนการ เเละทำเป็นไดอารี่บันทึกการเทรดทุกๆวัน เพราะมันเป็นหนทางที่เร็วที่สุด ที่เราจะเป็นเทรดเดอร์ที่เติบโตขึ้น

Being a student of the Forex, is being a student of life, it is a difficult psychology lesson which will lead you through deep self-exploration and if you’re not prepared to take yourself on, don’t.
(การที่เราจะเรียนรู้ของโลกการเทรดค่าเงิน ก็เหมือนกับเราเป็นนักเรียนที่ศึกษาเรื่องราวในชีวิตของตัวเราเอง มันเป็นบนเรียนด้านจิตวิทยาอย่างยาก ซึ่งจะทำให้เราเข้าสู่การหยั่งรู้ลึกเข้าไปในจิตใจของตัวเอง ซึ่งถ้าเราไม่ได้มีการเตรียมตัวให้พร้อม ก็จงอย่าเข้ามา)

A persons potential is almost limitless in this world and the Forex is a trading art which will have you delve into your inner most thoughts and intimacies and help you tap and develop your potential at one of the fastest paces possible.
(ศักยภาพของมนุษย์นั้นมีไม่จำกัด เเละศิลปะของการเทรดก็จะเป็นตัวช่วยพัฒนาจิตวิญญาณ ความคิด เเละเป็นหนทางที่จะดึงศักยภาพภายในของเราออกมาอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้)

You will not only better yourself as a trader, but as a person, a brother, a parent and a contributing member to your society.
(เราจะไม่ได้เป็นเพียง คนที่ดีขึ้นในฐานะของเทรดเดอร์ เเต่ยังในฐานะอื่นๆ ทั้งพี่น้องที่ดีขึ้น เป็นพ่อเเม่ที่ดีขึ้น เป็นคนที่ดีขึ้นที่พร้อมจะเสียสละให้กับสังคมของเรา)

If a man could conquer himself, he could conquer anyone and the world. With time the FX will teach you nothing less than just that.
(บทเรียนจากการเทรดจะสอนให้เราเรียนรู้ที่จะเอาชนะตนเอง ใครก็ตามในโลกนี้ที่สามารถชนะตนเองได้ ก็สามารถที่จะชนะในเรื่องอื่นๆได้ทุกอย่าง เเละทั้งหมดนี้ก็คือบทเรียนที่เราจะได้จากการเทรด)

ผมหวังว่า สาส์นจากEffi Lang ฉบับนี้ จะช่วยสร้างเเรงบันดาลใจให้กับใครอีกหลายๆคน.....เป็นเทรดเดอร์ที่ดี นักลงทุนที่ดี เเละประสบความสำเร็จไม่ว่าจะใช้เครื่องมือทางการเงินใดก็ตามในการลงทุนครับ


เครดิต....optionistic.blogspot.com

7/17/2010

BOE's Sentance Says `Gradual' Rate Increase in U.K. Would Assist Recovery

Bank of England policy maker Andrew Sentance said a gradual interest rate increase from a record low to fight inflation will help support the economic recovery.

“We certainly don’t want to snuff out the recovery, but we want to keep a check on inflation,” Sentance said in an interview with BBC Radio 4’s “Money Box” program. “If we can raise interest rates in a gradual way, that will be helpful for the recovery because it will mean there won’t be a big shock to the business community.”

Sentance, 51, in June became the first member of the Bank of England’s Monetary Policy Committee to push for a rate increase, which would be the first in almost two years. The other seven policy makers opted to keep the benchmark rate at 0.5 percent as they weighed the risk of inflation against the danger that the deepest public spending cuts since World War II will kill the economic recovery.

The central bank also kept the rate unchanged this month, with the minutes of that meeting scheduled for release on July 21.

A rise in inflation has been “quite a surprise,” Sentance told the BBC.
Consumer prices have risen by more than the government’s 3 percent limit in every month since February and the statistics office yesterday said they increased 3.2 percent in June, more than economists surveyed by Bloomberg had forecast.


“We had previously expected the recession to push down inflation,” he said. “Inflation has been running above the target. The economy is still at an early stage of the recovery, but we did take interest rates down to an exceptionally low level last year. The question is to find the right level to support the recovery.”

Business surveys, especially those run by the Confederation of British Industry, are among reports that Sentance said he is “particularly keen on” when considering the economy before making an interest-rate decision.

By Anchalee Worrachate - Jul 17, 2010

Euro making a comeback? Not so fast

(MarketWatch) -- Since the euro touched a four-year low against the U.S. dollar just over a month ago, the shared currency has jumped a whopping 9.2%.

But analysts don't believe that's because everything is suddenly just peachy in the euro-zone and the worries about sovereign debt that drove the currency to that low have disappeared.

The euro sold off pretty steeply from about $1.51 in November because of worries that the sovereign-debt problems would drive away investors in the region and the fiscal austerity measures to address the deficits would put a lid on economic growth. It fell under $1.19 in early June.

People who had taken positions that would benefit from a weaker euro -- including shorting the currency -- are now on the other side of that trade, analysts said. Or at least they're unwinding the bets.

"After watching the euro shoot skyward like Wile E. Coyote with an Acme rocket on his back over the last few days, it's more likely that traders, seeing that $1.30 cliff face approaching, decided it was time to pull the plug," said Dan Cook, senior market analyst at IG Markets.

Data that aggregates traders' positions in currencies bears that out in recent weeks.
Net long positions in the U.S. dollar -- bets that it would appreciate -- declined for a fourth week ended July 6, according to Morgan Stanley. The level of net longs was the lowest since March.


At the same time, traders halved their short euro positions, Morgan Stanley said.
And indeed, one positive about a weaker euro is that it makes exports cheaper to sell abroad -- a good thing for Europe's manufacturing-heavy economy.


"Growth isn't falling off a cliff" in the euro-zone, said Michael Materasso, who co-manages the Franklin Total Return Fund /quotes/comstock/10r!fkbax (FKBAX 10.00, +0.01, +0.10%) .

The handful of recent U.S. economic reports that have come in weaker than forecast need to be looked at in the broader context, he said. The U.S. was already widely expected to slow in the second half of the year.

"The euro should be weaker," Materasso said. "Our view is we don't see a double dip, but we could see the U.S. economy grow below its potential but not flirt with recession."
There's little potential for the euro to rise above $1.30, Morgan Stanley analysts said in a note Friday.


"Investors have become too pessimistic about the global outlook," they wrote. "We favor a stronger U.S. dollar as the U.S. recovery proves sustainable."

Still, earlier this week, Goldman Sachs said the euro could rise to $1.38 in a year, supported by "reasonably solid" euro-zone growth and fewer disruptions than feared.

The upcoming release of stress tests on European banks should be supportive of the euro but the strength of the rally cannot be justified by recent news, strategists at Barclays Capital said.
The firm expects the results to be perceived positively by markets. If so, it will reduce the likelihood of a large move down by the euro, they said.


Still, it won't last, and the recent rally has been more because of reduced short positions than a big change in investor sentiment, strategists led by Jeffrey Melli wrote in a report.

Barclays expects the euro to fall back to $1.20 in the next three months and trade near $1.25 a year from now.

Deborah Levine is a MarketWatch reporter, based in New York.

7/16/2010

Gold Trods Zig-Zag Path But Long-Term Trend Points Up

Chicago -- (Kitco News) --Gold has meandered around the $1,200 an ounce level lately, struggling to stage much in the way of rallies – or breaks – as it enters the second half of 2010.

In the short-term gold may have limits to its upside potential, but the longer-term trend remains intact most market watchers believe.

“The trend is still up, but July has been difficult for gold. It’s struggling with the counter-seasonal tendencies,” said John Person, president of National Futures.com

Gold has been overshadowed by the strength in equities during the first several days of July, but many market watchers still don’t put much faith in the move higher in stocks. The first trickles of earnings reports have come in positive, but there’s a long season of earnings ahead. Those scant supportive earnings reports tend to get overshadowed by economic data, which lately has pointed to a soft-patch in the resumption of growth in the U.S. economy. The most recent example was Thursday’s retail sales report and the Empire State Index, a measure of manufacturing in New York.

Ken Morrison, editor and founder of the online newsletter Morrison on the Markets, said that gold’s lackluster performance lately goes along with some other commodity markets that have lost at least a favor with asset managers.

“Price behavior of gold futures and gold-related ETF’s since June 30 suggests there is a movement to reduce positions in gold and related investment and to turn the ‘paper profits’ into ‘booked’ profits…. Based on the high volume and sharp decline on July 1, it’s like the ‘longs’ could hardly wait to pull the trigger to lock in some of those gains once the quarter ended,” Morrison said.

He also said activity in the Commodity Futures Trading Commission’s weekly commitment of traders’ report underscores what is seen in the exchange-traded funds.

“It’s notable that in the week ending July 6, hedge funds reporting a long position to the CFTC declined by nearly 20% from 115 to 93 funds. Not only were longs exiting, but the same report confirmed that new short sellers were stepping up to the plate as the number of funds reporting short positions increased to 22 from a paltry nine in the prior week ending June 29,” he said.

Several market watchers have noted the drop in investor interest in gold since the prices hit their nominal all-time high in mid-June. Total ETF holdings dropped 4.4 metric tons from the high of 1320 tons in mid-June. Short-term it suggests that investors are uninterested in adding to positions, but the fact that redemptions have not accelerated means there’s still appetite to hold gold for the long-tem, the market watchers said.

Looking at technical charts, Morrison believes the August Comex futures are setting up a classic bear market flag as it struggles to break through the $1225-30 area, which could mean a correction is possible in the short-term. He said in the past two to three years that when gold has made new highs, then corrected, those corrections have been anywhere from 15% to 30%. A 15% correction from the mid-June intraday highs around $1,266 would mean a fall to $1,075.

Gold normally experiences a choppy price trend at this time of year, and this year is no different, Person said. The yellow metal is likely to weaken in the near-term, but by mid-August that should end, and prices are likely to rise into year-end because of seasonal patterns.

He said provided during the next four weeks gold will hold above $1,100 on a weekly basis the yellow metal could trade between $1,250 and $1,450. “If we see a weekly close under $1,100 (in the next four weeks) then all bets are off. That means something has drastically changed,” he said.

Person doesn’t recommend shorting gold despite its difficulties to return to the recent highs. “If you don’t want to own it here, wait to buy on dips,” he said.

Alan Bush, senior financial futures analyst at Archer Financial Services is still bullish on gold for the long-term. “There are two ways to trade gold. You’re either out, or you’re long. I would never have a naked short in gold in case of a geopolitical incident that occurs or that a … chart signal is hit” and prices spike, he said.

Bush cited all the money supply floating around the world because of stimulus spending has the potential to be inflationary, especially if the global economy is in recovery. Future inflation is still a concern, even though inflation now isn’t an issue. He also cited the recent purchases of gold by different central banks as price supportive.

But some believe the global recovery is in doubt.

Shawn Hackett, president of Hackett Global Advisers said he sees inflation in the long-term – but not until 2011 – because he believes the U.S. is due for a deflationary move for the rest of the year. Souring economic data could mean the stimulus plans the U.S. government put in place have come to an end and for the economy to continue to grow, more stimulus is needed. However, given how much the U.S. electorate disliked the first stimulus package, politically he does not believe the Federal Reserve and Obama administration can offer another unless another crisis hit.

“I think we’re headed for a heavy dose of deflation in the fourth quarter,” he said.

Much like what the markets experienced in 2008-09 with asset values declining, something similar could happen later this year. He said money supply contracting despite record low interest rates as consumers pay off debt and that leaves less money around to buy goods. “In the long-term, that’s a good thing, but in the short-term it isn’t,” he said.

In a deflationary scenario all assets – gold included – would fall. He said gold could trade in the $950 to $1,000 range – and that could offer investors a chance to buy the yellow metal at a discount to current prices. “That would be a fantastic time to buy gold as once we’re in the reflationary cycle you can maximize the upside,” he said.

16 July 2010, By Debbie Carlson Of Kitco News

7/08/2010

บีพีล้มละลาย ใครตายก่อน?

เมื่อประเมินสถานะและความมั่นคงของบริษัทน้ำมันเปรียบเทียบกับสถาบันการเงินแล้วก็จะพบว่า บริษัทน้ำมันไม่มีเงินฝาก หรือเงินทุนสำรองก้อนโตคอยค้ำจุนความมั่นคง

เหตุการณ์แท่นขุดเจาะน้ำมันดีพวอเตอร์ ฮอไรซอน ในอ่าวเม็กซิโกระเบิด อาจจะไม่ได้เป็นฝันร้ายที่จะตามหลอกหลอน บริติช ปิโตรเลียม หรือ บีพี บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของอังกฤษแต่เพียงผู้เดียวอีกต่อไป

เมื่อความเคลื่อนไหวล่าสุด บริษัทบีพีเร่งเดินหน้าหารือกับบรรดากองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ (เอสดับเบิลยูเอฟ) ของประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง และเอเชีย เพื่อหวังจะดึงเข้ามาเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ และปิดโอกาสบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่รายอื่นไม่ให้เข้ามาเทกโอเวอร์

ท่าทีกระเสือกกระสนเอาตัวรอดของบีพีในยามที่วิกฤตถาโถมเช่นนี้ ก็ทำให้ความกังวลเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่บีพีจะ “ล้มละลาย” กลับมาเป็นที่กล่าวขวัญถึงอีกครั้ง ซึ่งผู้ที่ดูเหมือนว่าจะต้องรับบทหนักที่สุด หากเรื่องราวปรากฏออกมาในรูปนี้ ก็หนีไม่พ้นรัฐบาลสหรัฐ

ด้วยภาระหนักอึ้งที่บีพีต้องเผชิญ ไม่ว่าจะเป็นตัวเลขการประมาณการมูลค่าความเสียหายที่สูงถึง 1,600 ล้านเหรียญสหรัฐ การให้คำมั่นสัญญาว่าจะตั้งกองทุนชดเชยให้กับเหยื่อผู้บริสุทธิ์อีกกว่า 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ที่ดิ่งลงกว่า 9 หมื่นเหรียญสหรัฐ หรือเกินกว่า 50% ตลอดจนการถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลงมาอย่างถล่มทลาย ก็ทำให้บีพีหลงเหลือทางเลือกที่จะเป็นทางรอดอยู่ไม่มากเท่าใดนัก และหนึ่งในทางเลือกที่บีพีหลงเหลืออยู่ในขณะนี้ก็คือ การยื่นขอล้มละลาย

นักวิเคราะห์หลายฝ่ายมองว่า สถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นมีส่วนสนับสนุนให้บีพีตัดสินใจยื่นขอล้มละลาย โดยตามกฎหมายล้มละลายที่เป็นอยู่ บริษัทสามารถยื่นขอล้มละลายได้ถึงแม้ว่าจะยังมีความสามารถในการชำระหนี้ได้อยู่ และหากบีพียื่นขอล้มละลายจริง บีพีก็จะเดินหน้าเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟู และปรับโครงสร้างหนี้อย่างที่หลายบริษัทก่อนหน้านี้ได้กระทำ

คำถามสำคัญคือ หากบีพีล้มละลายขึ้นมา อะไรจะเกิดขึ้น

แน่นอนว่า เหตุการณ์น้ำมันรั่วที่เกิดขึ้น เกิดในเขตประเทศสหรัฐ ผู้ที่จะได้รับผลกระทบหนักที่สุดหากบีพีล้มละลายคงหนีไม่พ้นรัฐบาลสหรัฐ

เพราะเมื่อบีพีล้มละลาย นั่นหมายความว่า บีพีจะไม่สามารถจ่ายคืนภาระหนี้สินที่ตนแบกรับอยู่คืนให้กับเจ้าหนี้ได้ และภาระหน้าที่ที่บีพีเคยประกาศว่าจะให้ความช่วยหลือ และชดเชยเงินให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุน้ำมันรั่วก็จะกลายมาเป็นงานหนักของรัฐบาลสหรัฐ

ชะตาชีวิตของบรรดาชาวประมง พนักงานประจำแท่นขุดเจาะน้ำมัน เจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่กำจัดคราบน้ำมัน และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุน้ำมันรั่วทั้งหมดทั้งมวลก็จะกลายเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลสหรัฐ
ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นอีกประการหนึ่งหากบีพีล้มละลายก็คือ จะทำให้อัตราการว่างงานในสหรัฐเพิ่มสูงขึ้นแบบทันทีทันใด เพราะทันทีที่บีพีล้มละลาย บรรดาเจ้าของสถานีบริการน้ำมันของบีพีที่ดำเนินกิจการอย่างเป็นอิสระจำนวนหลายพันสถานีทั้งสหรัฐต้องตกงาน


ยิ่งไปกว่านั้น จากความจริงที่ว่าบริษัทบีพี เป็นบริษัทน้ำมันที่มีสัดส่วนการนำเข้าน้ำมันจากตะวันออกกลางน้อยที่สุดเพียงประมาณ 10 ล้านบาร์เรล เมื่อเทียบกับเอ็กซอน เชฟรอน และ วาเลโร ซึ่งนำเข้าเกินกว่าร้อยล้านบาร์เรล ก็แปลว่า หากบีพีล้มละลาย รัฐบาลสหรัฐก็จะพึ่งพาการบริโภคน้ำมันจากตะวันออกกลางมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม ซึ่งเป็นสิ่งที่รัฐบาลสหรัฐไม่พึงปรารถนาเท่าใดนัก

การล้มละลายของบีพี นอกจากจะสร้างภาระอันหนักอึ้งให้กับรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งอาจมีผลไปฉุดรั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐที่รัฐบาลพยายามกระตุ้นนักกระตุ้นหนาแล้ว ยังมีโอกาสจะจุดชนวนวิกฤตเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งด้วย

ก่อนหน้านี้ เหตุการณ์น้ำมันรั่วในอ่าวเม็กซิโกถูกสื่อสารออกมาในเชิงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และความเดือดร้อนเฉพาะหน้าของชาวอเมริกันซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ ทว่าหลายฝ่ายประเมินความรุนแรงของเหตุการณ์น้ำมันรั่วในครั้งนี้ที่มีต่อเศรษฐกิจโลกต่ำเกินไป

ความเป็นจริงข้อหนึ่งที่สำคัญ และอาจจะถูกละเลยไปก็คือ สภาพคล่องทางการเงินของโลกนั้นขึ้นอยู่กับความมั่นคงของบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่อย่างมาก เนื่องจากบรรดาสถาบันทางการเงินต่างๆ ของโลกมักจะเข้าไปลงทุน หรือมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับธุรกิจน้ำมัน ซึ่งถูกมองว่าเป็นธุรกิจที่มีความสามารถในการชำระหนี้ได้เป็นไปตามเงื่อนไข และตรงตามกำหนดเวลา

ดังนั้น หากบริษัทน้ำมันล้มละลาย บรรดาสถาบันการเงินที่เข้าไปมีผลประโยชน์อยู่ด้วยก็จะติดร่างแห และได้รับผลกระทบตามไปด้วย

เมื่อประเมินสถานะและความมั่นคงของบริษัทน้ำมันเปรียบเทียบกับสถาบันการเงินแล้วก็จะพบว่า บริษัทน้ำมันไม่มีเงินฝาก หรือเงินทุนสำรองก้อนโตคอยค้ำจุนความมั่นคงของบริษัทเช่นเดียวกับสถาบันการเงิน และนั่นก็แปลว่า โอกาสที่บริษัทน้ำมันจะล้มละลายจึงมีมากกว่า

วันใดที่บีพีเกิดล้มละลายขึ้นมา แล้วพบว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นต่อภาวะเศรษฐกิจของโลกเลวร้ายเทียบเท่า หรือมากกว่าครั้งที่สถาบันการเงินยักษ์ใหญ่ของโลกอย่างเลห์แมน บราเธอร์ส เคยประสบมา จึงไม่น่าแปลกใจ

โพสต์ทูเดย์ 08 กรกฎาคม 2553

7/06/2010

แบงก์ยุโรปกับ Stress Test

แบงก์ยุโรปกับ Stress Test มั่นใจเกินไป วิกฤตยิ่งบานปลาย

การทดสอบสมรรถภาพจึงไม่ต่างอะไรกับการสร้างภาพ ในความเห็นของนักวิเคราะห์หลายๆ ราย แต่ยุโรปยังมองว่าเป็นการทดสอบอย่างจริงจัง และจะต้องโปร่งใสอย่างถึงที่สุด

เมื่อปีที่แล้วสหรัฐสร้างความฮือฮาด้วยการประกาศโครงการทดสอบสมรรถภาพของสถาบันการเงิน ตามกระบวนการ Stress Test เพื่อตรวจสอบความแข็งแกร่งของสถาบันการเงินเหล่านี้ว่าเพียงพอที่จะรับมือกับภาวะช็อกได้หรือไม่ ในกรณีที่สถาบันการเงินชั้นนำเกิดล้มละลายอย่างไม่ทันตั้งตัวเหมือนชะตากรรมที่เกิดขึ้นกับเลห์แมน บราเธอร์ส

มาปีนี้และในสัปดาห์นี้ ถึงคราวที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ต้องผลักดันให้ยุโรปต้องเดินตามรอยสหรัฐ ด้วยสถานการณ์ที่แตกต่างกัน แต่ด้วยความกังวลที่คล้ายคลึงกัน มิหนำซ้ำฝั่งยุโรปมีท่าทีกระวนกระวายใจเสียยิ่งกว่า

ยุโรปจึงเร่งรัดกับกระบวนการนี้เป็นพิเศษ โดยเริ่มตั้งแต่เดือนที่แล้ว เพื่อที่ในวันที่ 24 ก.ค. จะมีการประกาศผลการทดสอบอย่างเป็นทางการ ขณะที่สหรัฐให้เวลากับกระบวนการนี้ค่อนข้างนาน

ในกรณีของสหรัฐ การทดสอบสมรรถภาพของสถาบันการเงินเกิดขึ้นเพื่อตอบรับกับความโกลาหลที่เกิดขึ้นในตลาด ภายหลังจากสถาบันการเงินแห่งแล้วแห่งเล่าล้มครืนลงตามรอยเลห์แมน บราเธอร์ส จนความเชื่อมั่นสั่นคลอนอย่างรุนแรง

อย่างไรก็ตาม กรณีของสหรัฐดูเหมือนจะเข้าลักษณะวัวหายล้อมคอก เพราะนำมาตรการนี้มาใช้เมื่อสถาบันการเงินหลักๆ ล้มละลายไปเรียบร้อยแล้ว แต่อย่างน้อยยังมีผลลัพธ์ในด้านบวก คือ การเรียกคืนความเชื่อมั่นให้กลับคืนมา

ส่วนในกรณีของยุโรป หากไม่นับความล้มเหลวของไอซ์แลนด์แล้ว ยังไม่ปรากฏสถาบันการเงินแห่งใดที่ล้มครืนลงอย่างรุนแรง ทว่าวิกฤตหนี้สาธารณะที่กำลังบั่นทอนเสถียรภาพของบางประเทศ กำลังทำให้หลายฝ่ายพลอยกังวลว่าปัญหาในระดับสาธารณะจะลุกลามมาถึงภาคเอกชนด้วย

ที่ประชุมสุดยอดผู้นำยุโรปจริงจังกับปัญหานี้อย่างมาก และเห็นพ้องแทบจะในทันทีให้ดำเนินการทดสอบ เพราะหากพิจารณาว่าสหรัฐใช้มาตรการนี้เพื่อเรียกคืนความเชื่อมั่นแล้ว ยุโรปก็อยู่ในสถานะนั้นเช่นกัน หลังจากที่บรรดาบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงินระดมหั่นระดับเครดิตของสมาชิกกลุ่มประเทศยูโรโซนอย่างมันมือ จนส่งผลสะเทือนต่อความเชื่อมั่นอย่างรุนแรง

หากผลที่ออกมายืนยันว่า สถาบันการเงินยุโรปยังมี “สุขภาพ” ที่ดี ยุโรปจะมีเหตุผลหนักแน่นในการทัดทานการลดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงิน อีกทั้งยังสามารถเตรียมรับมือกับสถานการณ์เลวร้ายที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ

จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า เหตุใดธนาคารของสเปนจึงประกาศลั่น พร้อมเผยผลการทดสอบเป็นรายแรก ในฐานะที่สเปนตกเป็นเป้าข่มขู่การลดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงิน อีกทั้งยังมีปัญหาน่าเป็นห่วงทั้งในระดับดุลงบประมาณ และระดับธนาคารเอกชนที่เริ่มขาดสภาพคล่อง

แต่การทดสอบครั้งนี้ถือเป็นการชี้เป็นชี้ตายสมรรถภาพของธนาคารและสถาบันการเงินยุโรป หรือกระทั่งสามารถเป็นข้อพิสูจน์ความทนทานของระบบการเงินยุโรปต่อมรสุมทางการเงินและเศรษฐกิจหรือไม่นั้น ยังเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน

เหตุผลประการแรกมาจากประสบการณ์การทำ Stress Test ของสหรัฐ
การทดสอบสมรรถนะของสถาบันการเงินในสหรัฐเมื่อปีที่แล้ว ประเมินผลจากการตั้งสถานการณ์สมมติสองสถานการณ์ คือ ทดสอบความแข็งแกร่งในกรณีที่ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ทรุดตัว และภาวะว่างงานรุนแรง และทดสอบความแข็งแกร่งในกรณีสถานการณ์เลวร้ายที่สุด คือ สหรัฐเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยซ้ำซ้อน


ผลปรากฏว่า การทดสอบสถาบันการเงินชั้นนำ 19 แห่งที่มีเงินทุนสูงกว่า 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ทุกแห่งผ่านการทดสอบด้วยดี

อย่างไรก็ตาม การ “ผ่านการทดสอบด้วยดี” แม้จะช่วยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเรื่องความเชื่อมั่นของนักลงทุน แต่ในระดับโครงสร้างแล้วการทดสอบสมรรถภาพในเวอร์ชันของสหรัฐยังมีปัญหาอยู่มาก

นูเรียล รูบินี นักวิเคราะห์ชั้นนำแห่งตลาดวอลสตรีต ผู้เคยทำนายวิกฤตการเงินโลก ชี้ว่าในกระบวนการทดสอบของสหรัฐ แม้รัฐบาลจะกำหนดให้มีการเปิดเผยรายละเอียดทุกกระเบียดนิ้ว

แต่ในเวลาเดียวกันรัฐบาลสหรัฐกลับเปิดทางให้สถาบันการเงิน “ผลิต” ข้อมูลขึ้นมาอย่างแนบเนียน และข้อมูลส่วนใหญ่ออกมาด้านบวก หากไม่หนุนราคาหุ้นของสถาบันการเงินนั้นๆ ก็จะช่วยสร้างภาพลักษณ์ความสำเร็จให้กับกระบวนการ Stress Test

ไม่เพียงเท่านั้น รัฐบาลสหรัฐยังมีช่องทางในการอัดฉีดทุนเข้าหนุนสถาบันการเงิน ในกรณีที่ประสบปัญหาสภาพคล่อง และเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดความเสียหายในวงกว้างยุโรปอาจขอยืมรูปแบบ Stress Test มาจากสหรัฐก็จริง แต่โดยเนื้อหาแล้วยังเป็นที่น่ากังขาว่า จะได้ผลลัพธ์ที่ “น่าพึงพอใจ” เท่ากับกรณีของสหรัฐหรือไม่

ปัญหาสำคัญของยุโรป คือ สมรรถภาพของสถาบันการเงินในแต่ละประเทศอยู่ในระดับที่ต่างกัน จากประเทศที่มีเสถียรภาพมากที่สุดคือเยอรมนี จนถึงประเทศที่ใกล้ล้มละลายเต็มทีอย่างกรีซ และที่ต่างกันยิ่งกว่านั้นคือ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

ยุโรปตั้งสถานการณ์สมมติของการทดสอบไว้ที่ ภาวะถดถอยของ GDP 2.7% และภาวะว่างงาน 12% แต่ในความเป็นจริงบางประเทศมีตัวเลขเศรษฐกิจที่ย่ำแย่กว่านั้นหลายเท่าตัว เช่น สเปนที่อัตราว่างงานสูงถึง 20%

อีกหนึ่งประเด็นปัญหาที่น่าสนใจก็คือ ยุโรปมีชั้นเชิงในการเปิดเผยผลการทดสอบที่อ่อนด้อยกว่าสหรัฐ ซึ่งแม้จะจริงอยู่ที่สหรัฐใช้กลเม็ดในการปั่นความเชื่อมั่นภายหลังประกาศผลการทดสอบ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ยาก และไม่ช่วยแก้ปัญหาระยะยาว

แต่สหรัฐมองที่ความเชื่อมั่นของนักลงทุน ไม่ใช่ความแข็งแกร่งเชิงโครงสร้าง และถือเป็นพฤติกรรมโดยปกติของสหรัฐที่ได้ชื่อว่า ตีค่าภาคธุรกิจเหนือสิ่งอื่นใดการทดสอบสมรรถภาพจึงไม่ต่างอะไรกับการสร้างภาพ ในความเห็นของนักวิเคราะห์หลายๆ ราย แต่ยุโรปยังมองว่าเป็นการทดสอบอย่างจริงจัง และจะต้องโปร่งใสอย่างถึงที่สุด

การทดสอบที่ขาดการ “วางแผน” อย่างรัดกุมเหมือนดังสหรัฐ และการมั่นใจอย่างล้นเหลือของบรรดาผู้นำยุโรป จึงอาจส่งผลด้านลบอย่างเหนือความคาดหมาย เพราะความเข้าใจที่ต่างกัน รวมถึงความ “เข้าใจเอาเอง” ของผู้นำยุโรปว่า เศรษฐกิจของตนมีเสถียรภาพมากพอ ทั้งๆ ที่บางประเทศกำลังหมิ่นเหม่กับภาวะล้มละลายและเมื่อนั้นการทดสอบสมรรถภาพ จะไม่ใช่การยืนยันถึงความแข็งแกร่งของสถาบันการเงินยุโรป แต่จะกลายเป็นการเปิดเผยให้เห็นถึงความอ่อนแออย่างไม่น่าเชื่อซ้ำเติมให้วิกฤตยิ่งเลวร้ายลงไปอีก

จากโพสต์ทูเดย์ 06 กรกฎาคม 2553

6/28/2010

จี20ยุคถดถอยโทรอนโตซัมมิตเสียงแตก

การประชุมที่โทรอนโต มีโอกาสสูงมากที่จะปราศจากผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม หรือในระดับที่เลวร้ายที่สุด จะยิ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดช่องว่าง

การประชุมเวทีหนึ่งๆ ย่อมมีจุดที่หลากหลายไปตามวาระและเงื่อนไข แต่อย่างน้อยการประชุมแต่ละครั้งย่อมต้องมีจุดร่วมกันประการหนึ่ง นั่นคือการแสวงหาจุดร่วม และสงวนจุดต่าง เพื่อสลายสิ่งกีดขวางระหว่างทุกฝ่าย และเดินหน้าไปสู่จุดหมายร่วมกัน

การประชุม จี20 มีจุดประสงค์เช่นนั้นเช่นเดียวกัน
จากการประเมินวาระการประชุมสุดยอดผู้นำ จี20 ที่นครโทรอนโตของแคนาดา จะพบว่า วาระการประชุมมีความหลากหลายไปตามความต้องการของแต่ละประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่ทุกฝ่ายย่อมมีข้อเสนอที่แตกต่างกัน เพื่อนำมาแบบนโต๊ะประชุม แล้วหาทางออกที่ประนีประนอมที่สุด


อย่างไรก็ตาม นับวันเวที จี20 ยิ่งจะเป็นการประชุมที่ไร้ประโยชน์เข้าไปทุกขณะ เพราะเวทีจี20 ที่โทรอนโต ไม่ใช่ครั้งแรกที่ภาวะเสียงแตกระหว่างประเทศสมาชิกไม่อาจประสานให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ จนทำให้การประชุมคว้าน้ำเหลว อีกทั้งยังกลายเป็นตัวถ่วงให้ความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจโลกในบางมิติ ต้องพลอยชะงักไปด้วย

หากไม่มีข้อสรุปที่เป็นรูปธรรม หรือมีเพียงแถลงการณ์การประชุมอย่างกว้างๆ ก็เป็นเพียงสำนวนโวหารที่ไม่อาจแก้ปัญหาได้ ในเมื่อไม่อาจแก้ปัญหาได้ ทุกประเทศก็คอยที่จะประชุมกันอยู่ร่ำไป ก่อนที่จะปฏิรูปเศรษฐกิจ เวทีประชุมทั้งหลาย รวมถึง จี20 จึงควรปรับปรุงแนวทางและเป้าหมายของตนเองเสียก่อน

การปรับปรุงกระบวนการหารือและตั้งผลสัมฤทธิ์ของการประชุม จี20 ให้ชัดเจน มีความสำคัญอย่างยิ่งหลังจากที่ จี20 ได้เข้ามาแทนที่จี8 เมื่อปีที่แล้ว ในฐานะที่ประชุมเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่มีความสำคัญที่สุด พิจารณาจากสัดส่วนเศรษฐกิจของสมาชิก จี20 ที่กินสัดส่วนถึง 85% ของเศรษฐกิจโลก อีกทั้งยังเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้ประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาแล้วเจรจากันด้วยอำนาจต่อรองที่เท่าเทียมกัน

จี20 จึงนับเป็นหัวหอกที่จะกำหนดทิศทางของเศรษฐกิจโลกอย่างแท้จริง และเป็นความหวังของชาวโลกในห้วงเวลาที่วิกฤตยังไร้วี่แววที่จะคลี่คลาย

แต่เมื่อเดินทางมาถึงทางแพร่งที่วิกฤตต่างๆ มาบรรจบและพบกับปัญหาหมักหมมคาราคาซัง จี20 เริ่มที่จะขยับเขยื้อนต่อไปไม่ถนัด โดยเฉพาะภาวะติดขัดจากกรณีความขัดแย้งยืดเยื้อที่จะชี้เป็นชี้ตายแนวโน้มเศรษฐกิจโลก

เมื่อไล่เรียงความแตกแยกที่ไม่อาจประสานทั้งที่ผ่านการประชุมระดับต่างๆ มาครั้งแล้วครั้งเล่าสามารถรวบรวมได้คร่าวๆ ดังนี้ค่าเงินหยวน คู่กรณีตลอดกาลคือจีนกับชาติตะวันตก ก่อนหน้า จี20 จะเปิดม่านไม่นาน จีนยอมอ่อนข้อด้วยการประกาศปล่อยเงินหยวนให้ยืดหยุ่นขึ้น แต่ชาติตะวันตกยังแสดงท่าที “ได้คืบจะเอาศอก”

การเปิดเสรีการค้า คู่กรณีคือประเทศกำลังพัฒนากับพัฒนาแล้ว เนื่องจากผลประโยชน์ด้านการค้าไม่ลงตัว ยังผลให้ที่ประชุมในคราวนี้ต้องลดระดับความคาดหวังที่จะไปให้ถึงข้อตกลงรอบโดฮา

การควบคุมระบบการเงิน คู่กรณีคือสหรัฐที่พยายามซื้อเวลาการวางมาตรการควบคุม ขณะที่ยุโรปต้องการล้อมคอกให้เร็วที่สุด

ประเด็นกระตุ้นเศรษฐกิจ คู่กรณีคือสหรัฐ ยุโรป และประเทศกำลังพัฒนา
อย่างไรก็ตาม ประเด็นไม่ลงรอยข้างต้นเป็นการมองในภาพกว้างเท่านั้น เพราะเมื่อลงในรายละเอียดมากขึ้นจะพบว่าผู้นำแต่ละประเทศล้วนมีข้อเสนอที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ตามเงื่อนไขของแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน แม้ว่าจะตกอยู่ในห้วงวิกฤตเช่นเดียวกันก็ตามตัวอย่างเช่น นาโอโตะ คัง นายกรัฐมนตรีคนล่าสุดของญี่ปุ่นเพิ่งผลักดันนโยบายขึ้นภาษีและกระตุ้นการใช้จ่ายของรัฐเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะของญี่ปุ่น นั่นคือภาวะเศรษฐกิจชะงักงันยาวนานถึง 2 ทศวรรษ


สตีเฟน ฮาร์เปอร์ นายกรัฐมนตรีของแคนาดา ในฐานะเจ้าภาพการประชุม คงไม่ปรารถนาการทุ่มงบประมาณของภาครัฐ เพราะขณะนี้ต้องคอยรับมือกับกรณีอื้อฉาวที่รัฐบาลใช้จ่ายงบประมาณฟุ่มเฟือยจนเป็นที่ครหาไปทั้งประเทศ

ประธานาธิบดี ดิมิทรี เมดเวเดฟ ของรัสเซีย ต้องการผลักดันให้รัสเซียเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าระหว่างประเทศ (WTO) หลังจากถูกสหรัฐพยายามเล่นแง่เพื่อขัดขวางมาโดยตลอด แต่โดยท่าทีของสหรัฐที่ยกข้อตกลงลดอาวุธนิวเคลียร์มาเป็นเงื่อนไขทางอ้อมแล้ว รัสเซียอาจต้องฝันค้างต่อไป ขณะที่เป้าหมายที่สมาชิก WTO จะก้าวไปให้ถึงข้อตกลงรอบโดฮาต้องกลายเป็นหมันเช่นกันในเวทีประชุมที่โทรอนโต

ความแตกต่างและแตกแยกเหล่านี้ ไม่เพียงไม่อาจหาทางออกในระยะยาวได้เท่านั้น พิจารณาจากผลการประชุม จี20 ครั้งที่ผ่านๆ มา แต่ยังมีประเด็นความขัดแย้งงอกเงยขึ้นมาไม่รู้จบ

ดังเช่น ล่าสุดเกิดความขัดแย้งระหว่างฝ่ายที่ต้องการให้ทุ่มงบประมาณรัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (สหรัฐ) ฝ่ายที่ต้องการที่รัดเข็มขัดงบประมาณ (ยุโรป) และฝ่ายที่เลือก “สองไม่เอา” เพราะเศรษฐกิจอยู่ในภาวะน่าพอใจ (ประเทศตลาดเกิดใหม่ เช่น บราซิล)

การประชุมที่โทรอนโต มีโอกาสสูงมากที่จะปราศจากผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม หรือในระดับที่เลวร้ายที่สุด จะยิ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดช่องว่างด้านการแก้ปัญหาระหว่างค่ายต่างๆ ในกลุ่ม จี20

เหมือนกับคราวประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกาหลีใต้ เมื่อช่วงต้นเดือนนี้ ซึ่งแถลงการณ์ปิดท้ายการประชุมเต็มไปด้วยการเอ่ยถึงแนวทางการแก้ปัญหาอย่างกว้างๆ ในความเข้าใจขณะนั้น ชาวโลกต่างเห็นรัฐมนตรีคลัง จี20 อาจผ่านการตัดสินใจสำคัญๆ ให้เป็นหน้าที่ของระดับผู้นำรัฐบาล

แต่ในความเป็นจริงแล้ว การวางแนวทางการตัดสินใจที่สำคัญมักทำกันในระดับรัฐมนตรี การประชุมในระดับผู้นำมักเป็นการหารือในระดับรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่ยังไม่ลงรอย

และโชคร้ายที่การประชุมระดับรัฐมนตรีเมื่อช่วงต้นเดือน มีนานาประเด็นที่ไม่อาจลงรอย และมีทีท่าจะไม่อาจลงรอยในระดับผู้นำประเทศเช่นกัน

การประชุม จี20 ที่โทรอนโต จึงไม่อาจเป็นเวทีแห่งความหวังมากนัก สำหรับเศรษฐกิจโลกที่ยังต้องมองหาความหวังอันริบหรี่

โพสต์ทูเดย์ 28 มิถุนายน 2553

6/21/2010

ศึกแก้เกมค่าเงินหยวนสหรัฐ-จีนกับผลลัพธ์เกินหยั่ง

มูลค่าของเงินหยวนภายหลังการปล่อยให้ยืดหยุ่น ที่มีวี่แววจะยิ่งอ่อนค่าลงกว่าเดิม แทนที่จะแข็งค่า

ในที่สุดจีนยินยอมคล้อยตามแรงกดดันจากนานาประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐ ด้วยการประกาศว่า อาจปล่อยให้เงินหยวนเคลื่อนไหวขึ้นลงได้อย่างเสรีในเร็วๆ นี้ หลังจากที่ต้องทนฟังสหรัฐโอดครวญมาโดยตลอดว่า ค่าเงินหยวนอ่อนกว่าความเป็นจริง และยังผลให้สหรัฐต้องขาดดุลการค้าครั้งแล้วครั้งเล่า จนเศรษฐกิจไม่อาจเดินหน้าได้อย่างเต็มฝีก้าว

การตัดสินใจปล่อยค่าเงินหยวนให้ยืดหยุ่นยิ่งขึ้น อาจเป็นผลพวงมาจากท่าทีเอาจริงเอาจริงของรัฐบาลประธานาธิบดี บารัก โอบามา ที่ล่าสุดพยายามผลักดันกฎหมายเอาผิดจีนที่ตรึงค่าเงินหยวนให้อ่อนค่าจะกระทบต่อตัวเลขดุลการค้าของสหรัฐ

กฎหมายนี้แม้จะไม่เอาผิดจีนโดยตรง และเปิดช่องทางเล่นงานผ่านองค์การการค้าโลก (WTO) แต่ด้วยอิทธิพลที่ล้นหลามของสหรัฐในองค์กรระหว่างประเทศ ย่อมง่ายที่สหรัฐจะคว่ำบาตรทางการค้าต่อจีนโดยที่ WTO อาจคัดค้านพอเป็นพิธี

อย่างไรก็ตาม ปฏิกิริยาของจีน มิได้บ่งชี้ว่าจีนยำเกรงสหรัฐหรือต้องการโอนอ่อนผ่อนปรนแต่อย่างใด ตรงกันข้ามการปล่อยค่าเงินหยวนให้ยืดหยุ่นในครั้งนี้มีสัญญาณบ่งชี้หลายจุดว่า จีนกำลังตอบโต้สหรัฐอย่างแนบเนียน อีกทั้งผลลัพธ์ที่สหรัฐ คาดว่าจะเป็นผลดีต่อตนนั้น อาจกลายเป็นร้ายอย่างไม่น่าเชื่อ

ประการแรกคือ การประกาศปล่อยค่าเงินหยวนให้ยืดหยุ่นในครั้งนี้ ดูเหมือนผิดที่ผิดเวลา
จีนยังใช้วิธี “ลับลวงพราง” เพื่อเคลื่อนไหวในเชิงเศรษฐกิจและการเงิน นั่นคือ การปล่อยข่าวปฏิรูปค่าเงินหยวนในวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันที่สื่อทั้งหลายมักปล่อยพื้นที่ให้กับข่าวที่ไม่หนักจนเกินไป นอกจากนี้สื่อท้องถิ่นของจีนยังลดระดับความสำคัญของข่าวนี้ไปอยู่หน้าหลังสุดของหนังสือพิมพ์

การทำเช่นนี้เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยาตอบโต้ในทันทีทันใด โดยเฉพาะจากประเทศตะวันตกที่มักปั่นประเด็นค่าเงินหยวน ให้กลายเป็นวาระทางการเมือง ซึ่งฝ่ายจีนมองว่าเป็นเรื่องเกินกว่าเหตุ

ในเมื่อเกินกว่าเหตุ จีนจึงลดระดับประเด็นหยวนให้กลายเป็นข่าวเศรษฐกิจที่ไม่มีความสลักสำคัญนัก แต่กลับเป็นหมัดเด็ดที่ประเทศตะวันตกตั้งการ์ดรับแทบไม่ทัน

วิธีลับลวงพราง ลักษณะนี้จีนเคยนำมาใช้บ่อยครั้งกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยธนาคารกลางจีน (PBOC) มักขึ้นดอกเบี้ยอย่างสายฟ้าแลบ โดยที่นักวิเคราะห์หรือนักลงทุนแทบไม่เคยได้กลิ่นมาก่อน ซึ่งต่างจากท่าทีของธนาคารกลางตะวันตก ซึ่งมักแย้มพรายท่าทีเป็นระยะ

ลับลวงพรางแบบสายฟ้าแลบ ช่วยให้จีนสามารถต้านทานการเก็งกำไรจากอัตราดอกเบี้ยได้อย่างชะงัด และไม่ต้องเป็นที่สงสัยว่า จีนจะหวังให้การปล่อยค่าเงินหยวนแบบสายฟ้าแลบจะช่วยสยบเสียงเรียกร้องจากชาติตะวันตกได้อย่างชะงัดเช่นกัน

ผลในชั้นต้นปรากฏว่ามีปฏิกิริยาจากแซนเดอร์ ลีวิน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ ซึ่งนั่งเป็นประธานคณะกรรมาธิการตรวจสอบการใช้ภาษี ตอบรับด้วยท่าทีแบ่งรับแบ่งสู้ ด้วยการแสดงความยินดีในลำดับแรก ตามด้วยการข่มขู่ในลำดับต่อมา โดยเตือนว่าสหรัฐยังอาจตอบโต้จีน “หากเงินหยวนยังไม่แข็งค่าเท่าที่ควร”

ด้วยเหตุนี้คงไม่เกินเลยไปนักหากจะใช้คำว่า “ข่มขู่” กับคำกล่าวของลีวิน เพราะเป็นการสะท้อนถึงการกดดันจีนในเชิงรุก สืบเนื่องมาจากการผลักดันกฎหมายเอาผิดจีนกรณีตรึงค่าเงินหยวนของรัฐบาลโอบามา

ทัศนะที่ว่าสหรัฐเป็นผู้กำชัยชนะและประสบความสำเร็จในการกดดันจีน ยังสะท้อนให้เห็นจากความเห็นของนักวิเคราะห์บางราย เช่น จิม โอนีล หัวหน้านักวิเคราะห์เศรษฐกิจโลกของบริษัท โกลด์แมน แซคส์ ที่ชี้ว่า นี่คืออีกหนึ่งชัยชนะเล็กๆ น้อยสำหรับ ทิโมธี ไกธ์เนอร์ รัฐมนตรีคลังสหรัฐ

อย่างไรก็ตาม การมองว่าสหรัฐคือผู้ได้ในการปล่อยค่าเงินหยวน อาจเป็นความคิดที่ผิดพลาดอย่างสิ้นเชิง
เพราะนับแต่นี้จีนจะสามารถอ้างต่อที่ประชุมกลุ่มประเทศ จี20 ที่จะเริ่มการประชุมในช่วงสุดสัปดาห์หน้าได้ว่า ที่ประชุมควรใส่ใจกับปัญหาหนี้สาธารณะมากกว่าที่จะมาจับตาค่าเงินหยวน เพราะจีนได้ปล่อยให้ค่าเงินเป็นอิสระแล้ว อีกทั้งปัญหาหนี้ในยุโรปอาจเป็นตัวการที่แท้จริงที่ฉุดรั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก หาใช่การตรึงค่าเงินหยวนดังคำกล่าวอ้างของสหรัฐแต่อย่างใด


การที่สหรัฐหมายมั่นปั้นมือจะใช้ประชุม จี20 เพื่อเบี่ยงประเด็นความสนใจของชาวโลกจากวิกฤตนี้ของยุโรป (อันเป็นพันธมิตรของตน) จึงมีวี่แววจะเป็นความพยายามที่ไร้ผล

อีกทั้งสหรัฐอาจยังไม่ระแคะระคายว่า ข้ออ้างที่ประชุม จี20 จะใช้ตรวจสอบเงินหยวนในฐานะที่เป็นตัวการความไม่สมดุลของการค้าโลก เริ่มที่จะเป็นข้ออ้างที่ล้าสมัยเข้าไปทุกขณะ เพราะจีนเริ่มที่จะหันเข้าหาตลาดภายใน แทนที่จะพึ่งพาตลาดส่งออกเป็นหลัก

ด้วยเหตุนี้ การปล่อยเงินหยวนให้ยืดหยุ่น (ซึ่งอาจแข็งค่าขึ้นตามที่หลายฝ่ายหวังให้เป็นเช่นนั้น) จึงอาจไม่กระทบเศรษฐกิจจีนมากนัก

ในทางกลับกัน เศรษฐกิจของประเทศที่เรียกร้องจีนอาจกระอักเลือดเสียเอง!
ที่น่าวิตกสำหรับสหรัฐยิ่งกว่าก็คือ มูลค่าของเงินหยวนภายหลังการปล่อยให้ยืดหยุ่น ที่มีวี่แววจะยิ่งอ่อนค่าลงกว่าเดิม แทนที่จะแข็งค่าตามความคาดหวัง ดังความเห็นของหลี่ต้าวคุ่ย ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของคณะกรรมการด้านนโยบายของธนาคารกลางจีน (PBOC) ที่ชี้ว่า เงินหยวนอาจอ่อนค่าลง ยิ่งกว่าเดิม หากเงินยูโรยังอ่อนค่าต่อเงินเหรียญสหรัฐอย่างต่อเนื่อง

เช่นเดียวกับความเห็นของนูเรียล รูบินี กูรูการเงินที่ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งในวอลสตรีต ผู้ทำนายวิกฤตอสังหาริมทรัพย์สหรัฐ ที่กล่าวว่า แม้ว่าจีนจะยอมปล่อยเงินหยวน แต่โอกาสที่จะแข็งค่าขึ้นมามีอยู่น้อยมาก และหากแข็งค่าขึ้นมาจริงๆ จะแข็งค่าเพียงเล็กน้อยไม่เกินไปกว่า 3 หรือ 4% ต่อเหรียญสหรัฐ

กล่าวโดยสรุปก็คือ การปล่อยเงินหยวนให้ยืดหยุ่นเป็นกลเม็ดอย่างแนบเนียนของจีนในการแก้เกมและต่อกรกับแรงกดดันจากสหรัฐ โดยที่สหรัฐไม่อาจทัดทานได้

เพราะนี่คือสิ่งที่สหรัฐเรียกร้องเอง และจำต้องยอมรับผลลัพธ์ที่ออกมาด้วยจิตใจที่เป็นธรรม
แม้ว่าในความเป็นจริงแล้ว มีโอกาสน้อยมากที่สหรัฐจะยอมรามือจากการกดดันค่าเงินหยวน


โพสต์ทูเดย์ 21 มิถุนายน 2553

6/10/2010

ทองคำกับวิกฤตหนี้ยุโรปจับตาขาขึ้นในสถานการณ์ผันผวน

ทองคำจึงเป็นสิ่งที่มีความปลอดภัยสูง ต่างจากเงินตรากระดาษ หรือหลักทรัพย์ที่ซื้อขายกันบนกระดานเพราะมูลค่าของทองคำจะไม่สลายไป

หากเพชรคือเพื่อนที่ดีที่สุดของผู้หญิง ทองคำคือเพื่อนที่ดีที่สุดของนักลงทุนไม่ว่าสตรีหรือบุรุษเพศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่ระบบการเงินและเศรษฐกิจโลกตกอยู่ในภาวะผันผวนอย่างรุนแรง

ในภาวะเช่นนั้น ค่าของเงินจะตกต่ำ หลักทรัพย์จะไร้เสถียรภาพ สินทรัพย์ที่อิงกับมูลค่าสมมติทั้งหลายจะถูกทอดทิ้งไว้เบื้องหลัง นักลงทุนจะตะเกียกตะกายกันกว้านซื้อและเก็งราคาทองคำ สินทรัพย์ที่มีค่าในตัวของมันเอง และปราศจากแนวโน้มที่ราคาจะตกลงอย่างรุนแรงเหมือนสินทรัพย์ประเภทอื่น

ทองคำจึงเป็นสิ่งที่มีความปลอดภัยสูง ต่างจากเงินตรากระดาษ หรือหลักทรัพย์ที่ซื้อขายกันบนกระดาน เพราะมูลค่าของทองคำจะไม่สลายไปเหมือนอากาศธาตุหากเกิดความโกลาหลขึ้น ไม่ว่าจะด้วยวิกฤตการเงิน หรือด้วยวิกฤตเงินเฟ้อรุนแรงถึงขีดสุด

ในสัปดาห์นี้ราคาทองคำในตลาดโลกถีบตัวขึ้นมาแตะระดับสูงสุดประวัติการณ์ด้วยสาเหตุเดียวกับที่เคยหนุนระดับราคาจนทะลุสถิติเดิมมาแล้ว นั่นคือความกังวลของนักลงทุนต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและการเงินโลก

โดยปกติแล้วสิ่งที่จะกำหนดทิศทางราคาทองคำมักเป็นความต้องการที่มาจากกองทุนทองคำ GETF พร้อมด้วยความต้องการจากผู้ซื้อรายย่อย แต่มีกำลังซื้อสูงเพื่อการส่งออกไปยังตลาดที่มีความต้องการต่อเนื่อง เช่น อินเดีย และความต้องการจากธนาคารกลางทั่วโลก ส่วนใหญ่มักเป็นความต้องการในระยะยาว

แต่ในสถานการณ์คับขันจะมีแรงซื้อระยะสั้นถาโถมเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย และทำให้แนวโน้มราคาเปลี่ยนแปลงไป

เมื่อ 3-4 ปีที่แล้วนักลงทุนต่างกอบโกยทองคำมาครอบครองกันเป็นการใหญ่ เพื่อรับมือกับการอ่อนค่าอย่างต่อเนื่องของเงินเหรียญสหรัฐประจวบเหมาะกับโลกเข้าสู่มุมอับของวิกฤตการเงิน และภาวะเศรษฐกิจถดถอยพอดี ความต้องการทองคำจากอินเดียและจีนซึ่งถดถอยลง จึงได้รับแรงหนุนในทันทีจากแรงซื้ออื่นเพื่อแสวงหาความปลอดภัยด้านการลงทุน

มาวันนี้ กลางปี 2553 ทองคำเริ่มเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความเชื่อมั่นที่สั่นคลอนอีกครั้ง
วันที่ 8 มิ.ย. ราคาทองคำดีดขึ้นมาแตะระดับ 1,250 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ก่อนที่จะถอยลงมาปิดที่ระดับ 1,243.50-1,244.50 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ ในตลาดทองคำของฮ่องกง


ด้วยปัจจัยที่สำคัญที่สุด วิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรป แม้ว่าในวันเดียวกันนั้น ยูโรโซน หรือกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยุโรจะผลักดันกองทุนมูลค่า 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อพยุงสถานการณ์ แต่ปฏิกิริยาตอบรับไม่เป็นที่พึงพอใจของนักลงทุนเท่าที่ควร ดังจะเห็นได้จากตลาดหุ้นในยุโรปต่างทิ้งตัวลงมาในระดับต่ำที่สุดในรอบ 2 เดือน

เมื่อหุ้นล้มเหลวที่จะตอบรับข่าวดี ทองคำจึงเป็นทางเลือกไม่กี่ทางที่เหลือสำหรับนักลงทุนที่เริ่มกระวนกระวายกับแนวโน้มด้านลบที่ชัดเจนขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานะของเงินยูโร ที่อ่อนค่าลงมาอยู่ที่ระดับต่ำที่สุดในรอบ 4 ปี ความน่าเชื่อถือจึงยิ่งเทมายังทองคำอย่างล้นหลาม

แม้ว่าราคาทองคำในวันต่อมา (9 มิ.ย.) จะอ่อนแรงลงมาอยู่ที่ 1,233.00-1,234.00 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ แต่ปฏิกิริยาของตลาดหุ้น และความผันผวนของเงินยูโรจะเป็นปัจจัยที่ชี้นำราคาทองคำต่อไปอย่างไม่ต้องสงสัย พิจารณาจากเงื่อนไขในยุโรปเองที่ยังห่างไกลจากเสถียรภาพ

ดังจะเห็นได้ว่า แม้ตลาดหุ้นและราคาทองคำจะเริ่มตอบรับกองทุน 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐของยูโรโซน ซึ่งอาจช่วยรองรับความวิตกของนักลงทุนในระดับหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกันปัญหากลับแสดงตัวขึ้นอีกจุด นั่นคือการที่เศรษฐกิจของฟินแลนด์ช่วงไตรมาสแรกถอยกลับเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอีกครั้งอย่างเหนือความคาดหมาย หลังจากที่สามารถขยับขยายได้ในช่วงไตรมาส 3 และ 4 ของปีที่แล้วจนเป็นที่น่าชื่นใจของทุกฝ่าย

ด้วยเหตุนี้ยุโรปจึงมีประเทศที่ยังจมอยู่ในภาวะถดถอยเพิ่มขึ้นมาอีก 1 ประเทศ รวม 3 ประเทศ อันได้แก่ ไอร์แลนด์ กรีซ และฟินแลนด์ โดยเฉพาะ 2 ประเทศแรกมีภาวะหนี้สินในระดับที่น่ากังวลอย่างยิ่ง และไม่เพียงบั่นทอนความน่าเชื่อถือของเศรษฐกิจยุโรปเท่านั้น แต่ยังกระทบถึงภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกโดยรวมด้วย

สิ่งที่พึงตระหนักสำหรับปรากฏการณ์ราคาทองคำทำราคาในครั้งนี้ คือราคาทองไม่เพียงทุบสถิติราคาซื้อขายผ่านเงินเหรียญสหรัฐเท่านั้น แต่ยังทุบสถิติกับสกุลเงินอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเงินยูโร ปอนด์ ฟรังก์สวิส รวมถึงเงินเหรียญออสเตรเลียที่ราคาทองคำทุบสถิติในรอบ 4 เดือน ขณะที่เงินเหรียญนิวซีแลนด์ทุบสถิติในรอบ 15 เดือน

หมายความว่าทองคำกำลังมีปฏิกิริยาต่อเศรษฐกิจโลก หาใช่เฉพาะสารพันปัญหาในยุโรปเท่านั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง วิกฤตของยุโรปก่อให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ที่ลุกลามไปทั่วทุกสารทิศ

โอกาสที่ทองคำจะพยายามฝ่าระดับ 1,250 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ จึงยังมีอยู่ และเป็นโอกาสที่สูงในระดับหนึ่งหากสถานการณ์ในยุโรปยังไม่นิ่ง

อย่างไรก็ตาม มีโอกาสเช่นกันที่ราคาทองคำจะทิ้งตัวอย่างไม่ทันตั้งตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเสี่ยงจากการเก็งกำไร

หว่องเอ็งซุน นักวิเคราะห์จากบริษัท Phillip Futures Pte Ltd กล่าวกับสำนักข่าวบลูมเบิร์ก ว่า นักลงทุนควรตั้งการ์ดรับกระแสขาขึ้นของราคาทองคำในทันทีที่ราคาถอยลงมาอยู่ต่ำกว่า 1,230 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์

ความไม่ประมาทย่อมเป็นหนทางอันประเสริฐอยู่เสมอในภาวการณ์ด้านเศรษฐกิจและการเงินที่ยังตกอยู่ในความสับสน

โพสต์ทูเดย์ 10 มิถุนายน 2553

2/15/2010

มรสุมหนี้สินจากกรีซถึงสเปน...เส้นทางสู่วิกฤตการณ์ขาดดุลในหลุมพรางแห่งทุนนิยม

หากสองปีก่อนคือห้วงเวลาที่ทั่วโลกเผชิญความขมขื่นจากพิษซับไพรม์ ปีที่เพิ่งผ่านไปคืออดีตอันเลวร้ายของภาวะเศรษฐกิจซบเซา ในปีนี้จึงถึงคราวที่หลายประเทศต้องปวดหัวเพราะต้องเผชิญกับวิกฤตหนี้สินรุมเร้า อันนำมาซึ่งปรากฏการณ์ขาดดุลงบประมาณบานปลาย จนกลายเป็นปัญหาที่ยากจะเยียวยาภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว
แสงสว่างทางเศรษฐกิจที่เริ่มสาดส่องจากจีนและสหรัฐกำลังถูกบดบังจากเงามืดของกรีซ โปรตุเกส อังกฤษ และสเปน สี่ประเทศที่ตกเป็นจำเลยทางเศรษฐกิจ ด้วยข้อกล่าวหาที่ว่า ปัญหาหนี้สินในกลุ่มประเทศเหล่านี้คือตัวบ่อนทำลายความเชื่อมั่นของนักลงทุน และทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกทรุดตัวตามๆกันเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ซ้ำร้ายความเสียหายยังแผ่ขยายไปยังตลาดปริวรรตเงินตรา ที่ทำให้เงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐในอัตราแลกเปลี่ยนที่ระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือนเมื่อช่วงต้นสัปดาห์
สัญญาณเตือนภัยที่เริ่มส่งเสียงดังขึ้นเรื่อยๆ ทำให้บรรดาผู้นำของสหภาพยุโรป (อียู) เตรียมประชุมร่วมกันที่กรุงบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยี่ยมในวันพรุ่งนี้ (11 กุมภาพันธ์) เพื่อหารือถึงแนวโน้มเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศสมาชิก แต่ก่อนจะถึงวันนั้น ขอเชิญทุกท่านร่วมแกะรอยชะตากรรมทางเศรษฐกิจจากกรีซถึงสเปนไปด้วยกันนับจากบรรทัดต่อไปนี้
กรีซ
"กรีซ" ประเทศที่มีผู้เปรียบเปรยว่าเป็นดั่ง "รากแก้ว" แห่งอารยธรรมกรีกโบราณ อันเป็นพื้นฐานทางวัฒนธรรมที่เลื่องชื่อของชาติตะวันตก แต่กลับสอบตกวิชาบริหารเศรษฐกิจ หลังรัฐบาลก่อหนี้เกินตัวจนทำให้ตัวเลขพุ่งสูงกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ถึง 113% ในปี 2552 และมีแนวโน้มไต่ระดับต่อไปแตะ 125% ในปีนี้ ขณะที่ยอดขาดดุลงบประมาณอยู่ที่ระดับ 12.7% ของจีดีพี สูงกว่าเพดานขาดดุลงบประมาณที่อียูตั้งไว้ที่ 3%
พฤติกรรมการใช้จ่ายเงินเกินพอดีทำให้กรีซมีหนี้สินจำนวนมหาศาลถึง 2.94 แสนล้านยูโร หรือ 4.341 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และทำให้ประเทศตกเป็น "จุดอ่อน" ในกลุ่มสมาชิกอียู หรืออาจเป็นผู้ถ่วงความเจริญของโลกในยามที่โอกาสของการลืมตาอ้าปากทางเศรษฐกิจอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม
ท่ามกลางมรสุมหนี้สินที่กำลังสร้างปัญหาให้กรีซและกลุ่มประเทศอียูนั่นเอง มีนักวิเคราะห์ออกมาแสดงทัศนะว่า กรีซคือผลพวงของความฉ้อฉลทางการเมืองและเศรษฐกิจแบบทุนนิยม จากการทุจริตทั้งภาคธุรกิจและในวงข้าราชการ ทำให้มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณกันอย่างมันมือ ทั้งหมดนี้คือต้นตอของวิกฤตหนี้สินขนาดมหึมา และงบประมาณขาดดุลก้อนมโหฬาร
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจจะเลวร้ายแค่ไหน นายกรัฐมนตรีจอร์จ ปาปันเดรอู ของกรีซกลับออกมาประกาศจะยืนหยัดด้วยลำแข้งของตัวเอง พร้อมชี้แจงว่าไม่ต้องการง้อความช่วยเหลือจากชาติใด เช่นเดียวกับรัฐมนตรีคลังกรีซที่กล่าวในการประชุมว่าด้วยอนาคตของธุรกิจธนาคารในประเทศว่า กรีซยังไม่จำเป็นต้องขอเงินกู้จากต่างประเทศเพื่อกอบกู้สถานการณ์เงินแต่อย่างใด แม้ว่าปัจจุบัน รัฐบาลกรีซจะถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือจาก A มาอยู่ที่ระดับ BBB+ เป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปีจนทำให้กรีซกลายเป็นนักเรียนที่รั้งตำแหน่งบ๊วยในชั้นเรียนยูโรโซน
โปรตุเกส
"โปรตุเกส" ชาวยุโรปชาติแรกที่เข้ามาทำการติดต่อค้าขายกับประเทศไทยเราในสมัยอยุธยา เป็นนักเรียนอีกรายในก๊วนเพื่อนร่วมยุโรปที่โดนแรงกระเพื่อมจากปัญหาหนี้สินซึ่งขยายวงกว้างลุกลามมาเรื่อยๆ หลังจากโปรตุเกสมีค่าประกันความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ (CDS) ของพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
หนึ่งในมาตรวัดความเสี่ยงทางเศรษฐกิจของโปรตุเกสอีกประการหนึ่ง คือ ส่วนต่างของอัตราผลตอบแทน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบระหว่างโปรตุเกสและเยอรมนีซึ่งถือเป็นตราสารหนี้ปลอดความเสี่ยงมากที่สุดในกลุ่มยูโรโซนพบว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุไถ่ถอน 10 ปีของโปรตุเกสเพิ่มขึ้นอีก 0.21% เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ถือเป็นการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนที่มากที่สุดในรอบเกือบ 1 ปี
เมื่อผลลัพธ์ออกมาในรูปนี้ คงไม่ผิดนักหากจะบอกว่าโปรตุเกสกำลังลอกการบ้านกรีซ ซึ่งเป็นประเทศที่มีอัตราผลตอบแทนพันธบัตรพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 10 ปี อันเป็นตัวบ่งชี้ว่า ต้นทุนของการออกพันธบัตรของกรีซและโปรตุเกสที่มีต่อการชำระหนี้นั้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่รายงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เมื่อวันที่ 20 มกราคมระบุว่า โปรตุเกส อาจเกิดวิกฤตเศรษฐกิจได้อีกครั้ง หากตัวเลขขาดดุลงบประมาณยังคงอยู่ในระดับสูง ดังนั้น มาตรการเร่งด่วนที่ไอเอ็มเอฟแนะให้รัฐบาลควรทำ คือ การลดค่าใช้จ่ายภาครัฐ การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และการขึ้นอัตราภาษี
อังกฤษ
"อังกฤษ" ถิ่นกำเนิดสถาบันการศึกษาชั้นแนวหน้าของโลกอย่างมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์และออกซ์ฟอร์ดกำลังเข้าคอร์สติวเข้มเพื่อกวดวิชาการควบคุมยอดขาดดุลงบประมาณครั้งใหญ่ ก่อนที่ชื่อเสียงระดับโลกของสถาบันทั้งสองจะตกอยู่ในสถานการณ์อันตราย ภายใต้แผนการหั่นงบประมาณด้านการศึกษามูลค่า 600 ล้านปอนด์ภายในเวลา 3 ปี
เชื่อว่าน้อยคนนักจะนึกถึงภาคธุรกิจการศึกษายามที่เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจภายในประเทศ แต่หนึ่งในแง่มุมที่น่าสนใจและอยากหยิบยกมาเล่าสู่กันฟังในครั้งนี้ คือ ผลกระทบจากปัญหาหนี้สินที่เลวร้ายกำลังทำให้มหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดของอังกฤษ อย่าง ออกซ์ฟอร์ด และเคมบริดจ์ พลอยโดนลูกหลงจากการหั่นงบประมาณของรัฐบาลไปด้วย สาเหตุก็เป็นเพราะทางสถาบันต้องพึ่งเงินภาษีในการดำเนินงาน ซึ่งทางตัวแทนของมหาวิทยาลัยชั้นนำของรัฐบาลหวั่นเกรงว่า การปรับลดงบประมาณอาจส่งผลกระทบเลวร้ายถึงขั้นทำลายขีดความสามารถทางการแข่งขันระดับนานาชาติ อันหมายรวมถึงการแข่งขันทางเศรษฐกิจ หรือแม้กระทั่งเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดจากบทความที่มีผู้เขียนไว้ว่า การสั่งสมบ่มเพาะระบบการศึกษาที่ยอดเยี่ยมที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ในระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 800 ปี จะพังทลายลงได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่เดือน
ไซมอน จอห์นสัน อดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศเมื่อปี 2550-2551 กล่าวย้ำถึงชะตากรรมอันเลวร้ายของอังกฤษว่า อังกฤษอาจตกที่นั่งลำบากเช่นเดียวกับกรีซและโปรตุเกส หากปมปัญหาหนี้สินที่มีอยู่ท่วมหัวในขณะนี้ยังไม่ได้รับการคลี่คลายให้ดีขึ้น
สำหรับเกรดเฉลี่ยการสอบวัดผลของอังกฤษนั้น สถาบันจัดอันดับเครดิตชื่อดังของโลกยังคงให้อันดับความน่าเชื่อถือของเมืองผู้ดีที่ AAA ซึ่งในประเด็นนี้โจเซฟ สติกลิทซ์ ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียและเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์เชื่อว่า นักเรียนคนนี้จะสามารถรักษาอันดับความน่าเชื่อถือที่ทริปเปิ้ลเอเอาไว้ได้ต่อไป
สเปน
"สเปน" อดีตนักล่าอาณานิคมรุ่นบุกเบิกที่เคยสร้างความยิ่งใหญ่ไปทั่วโลก ก่อนจะก้าวผ่านเวลามาถึงยุคสมัยที่สเปนสามารถเข็นแบรนด์ซาร่า (Zara) ให้เจิดจ้าในแวดวงแฟชั่นระดับโลก ล่าสุด สเปน รั้งตำแหน่งประเทศที่มียอดขาดดุลงบประมาณที่ระดับ 11.4% ขณะที่หนี้สาธารณะส่อแววพุ่งทะลุ 5 แสนล้านยูโร (7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) ภายในสิ้นปีนี้
ภาวะระส่ำระสายจากปัญหาหนี้สินในสเปนทำให้เครดิตสวิส กรุ๊ป ออกมาเตือนว่า สเปน อาจเป็นนักเรียนที่เสี่ยงทำคะแนนสอบผ่านชนิดคาบเส้น หากพิจารณาจากปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจในประเทศที่ไอเอ็มเอฟระบุว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสเปนยังคงมีมูลค่าสูงเกินความเป็นจริงอยู่ 12%
อย่างไรก็ตาม โฆเซ่ มานูเอล คัมปา รัฐมนตรีเศรษฐกิจของสเปนตั้งเป้าลดยอดขาดดุลงบประมาณให้เหลือ 3% ภายใน 3 ปี พร้อมประกาศแผนประหยัดงบประมาณจำนวน 5 หมื่นล้านยูโร (7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) แต่นักวิเคราะห์เศรษฐกิจบางรายยังไม่ปักใจเชื่อถึงความเป็นไปได้ของเป้าหมายดังกล่าว ด้วยมองว่ารัฐบาลยังมองเกมไม่ออก แถมยังประเมินสถานการณ์ในแง่ดีมากเกินไป
สุดท้ายแล้ว สเปน ก็ไม่สามารถรักษาเกรดเฉลี่ยที่ระดับ AAA จากการวัดผลของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชื่อดังเอาไว้ได้ เพราะเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมาทางสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส (S&P) ได้ปรับลดอันดับเครดิตตราสารหนี้ของสเปนลงมาอยู่ที่ AA+ พร้อมให้แนวโน้มเป็นลบ จากเดิมที่อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ เนื่องจากสเปนยังต้องเผชิญกับปัญหาขาดดุลการค้า และอาจเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำยาวนานกว่าที่คาดการณ์ไว้
ลูกศิษย์ทั้งสี่จากชั้นเรียนของสหภาพยุโรป คือ ตัวอย่างของกลุ่มก้อนประเทศเศรษฐกิจที่กำลังตะเกียกตะกายขึ้นจากห้วงเหวแห่งทุนนิยม ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้สำนักข่าวบีบีซีของอังกฤษได้จัดทำสำรวจความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมในปัจจุบันจากประชาชน 29,000 คนใน 27 ประเทศทั่วโลก เนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปีแห่งการพังทลายของกำแพงเบอร์ลินที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของชัยชนะในระบบทุนนิยมนับตั้งแต่ปี 2532
บทสรุปของผลสำรวจข้างต้นบ่งชี้ว่า 1 ใน 4 เชื่อว่าทุนนิยมกำลังล่มสลาย โดยมีเพียงร้อยละ 11 ที่มองว่าทุนนิยมยังคงทำงานได้ดี แต่ร้อยละ 23 เชื่อว่าระบบนี้จะทำให้หลายประเทศเผชิญกับหายนะ
กระแสความตื่นตระหนกต่อปัญหาหนี้สินในยุโรปที่ก่อตัวขึ้นในครั้งนี้อาจถือได้ว่าเป็นการ "หักปากกาเซียน" ของบรรดานักวิเคราะห์ที่ต่างออกมาคาดการณ์กันอย่างหน้าชื่นตาบานว่า เศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม คำตอบของคำถามที่หลายคนสงสัยว่าสหภาพยุโรปจะมีวิธีการรับมือกับวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในรูปแบบใด เชื่อว่าเราทั้งหลายจะได้หมดข้อสงสัย...ในอีกไม่นานเกินรอ
สำนักข่าวอินโฟเควสท์

2/12/2010

EU บรรลุข้อตกลงช่วยเหลือกรีซ หวังฟื้นเสถียรภาพภูมิภาค

นักลงทุนมีความมั่นใจเพิ่มขึ้นอีกครั้ง เมื่อที่ประชุมกลุ่มประเทศยุโรปได้ข้อตกลงร่วมกันสำหรับการช่วยเหลือประเทศกรีซ ซึ่งส่งผลให้ราคาหุ้นทั้งในยุโรปและสหรัฐฯ ไปจนถึงสินค้าโภคภัณฑ์และพลังงานปรับตัวขึ้น ขณะที่ตลาดพันธบัตรกลับมาลดลงนานๆ ทีถึงจะได้เห็นภาพการจับมือกันระหว่างผู้นำประเทศ ประธานธนาคารกลาง รวมถึงคนในระดับ VIP ถ้าไม่ใช่การประชุมนัดใหญ่ๆ ในระดับนานาชาติ แต่ในครั้งนี้ agenda ของการประชุมสุดยอดของกลุ่มประเทศยุโรปต้องถูกเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ด้วยเรื่องที่ทุกคนกำลังเป็นกังวลและให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก นั่นก็คือ วิกฤติหนี้ของประเทศกรีซ จากสถานการณ์ที่อาจลุกลามจนกลายเป็นวิกฤติเศรษฐกิจครั้งรุนแรงอีกครั้งหนึ่ง ก็นำมาสู่ข้อสรุปที่ได้ในเบื้องต้นสำหรับการประชุมเมื่อวานนี้ ด้วยการที่ผู้นำประเทศในยุโรปต่างเห็นพ้องที่จะให้ออกมาตรการควบคุมสถานการณ์ของกรีซให้อยู่ในระดับที่ควบคุมได้ และเตรียมพร้อมให้ความช่วยเหลือประเทศเล็กๆ แต่มียอดการขาดดุลงบประมาณอันมหาศาลแห่งนี้ และกำลังสร้างความปั่นป่วนให้กับค่าเงินในภูมิภาคครั้งรุนแรงที่สุดในรอบ 11 ปีของประวัติศาสตร์ค่าเงินยูโรเลยทีเดียว ข้อตกลงที่หลายคนรอคอยเกิดขึ้นด้วยการประสานของ 3 บุคคลสำคัญ อย่าง นายกรัฐมนตรีเยอรมัน Angela Merkel ผู้นำกรีซ George Papandreou และที่ขาดไม่ได้ก็คือ ประธานธนาคารกลางยุโรป Jean-Claude Trichet ซึ่งทั้งหมดต่างได้เข้าพูดคุยและบรรลุข้อตกลงก่อนหน้าการประชุมสุดยอดของสหภาพยุโรปจะเริ่มขึ้นที่กรุงบรัสเซล นายเฮอร์มาน ฟาน รอมพาย (Herman Van Rompuy) ประธานสหภาพยุโรป กล่าวว่า ประเทศสมาชิกยูโรโซนตกลงกันที่จะใช้มาตรการแบบเจาะจงและร่วมมือในการรักษาเสถียรภาพทางการเงินของภูมิภาคโดยรวม โดยพร้อมให้ความสนับสนุนความพยายามจากรัฐบาลกรีซและการดำเนินการใดๆ ก็ตามที่มีความจำเป็นในการแก้ปัญหา ข้อตกลงช่วยเหลือล่าสุดได้เปิดช่องไว้ให้กับทาง EU เพื่อที่จะจัดการกับคลื่นการเก็งกำไรโจมตีประเทศกรีซรอบใหม่ ซึ่งก็รวมถึงประเทศที่มีปัญหาคล้ายๆ กัน อย่าง สเปนและโปรตุเกสด้วย คำแถลงของ EU ยังเป็นเหมือนการสะท้อนให้กรีซเร่งเคลียร์ปัญหาบัญชีของตัวเอง และต้องการผลักดันให้ประเทศยอมรับการเข้ามาตรวจสอบจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ด้วยผู้นำเยอรมัน Angela Merkel ที่มีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้ ได้แสดงท่าทีต้องการกดดันประเทศสมาชิกใดๆ ก็ตามที่กำลังโหมใช้เงินงบประมาณอย่างหนัก แต่มีการออมในประเทศในระดับต่ำ ด้วยการบีบให้ประเทศเหล่านี้ต้องอยู่ภายใต้กฏเกณฑ์ที่เข้มงวดต่อไป
Money Channel

2/11/2010

อียูเตรียมกำหนดกรอบการดำเนินงานเพื่อให้ความช่วยเหลือกรีซ

อียูเตรียมกำหนดกรอบการดำเนินงานเพื่อให้ความช่วยเหลือกรีซ หวังคุ้มครองเงินยูโร
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)
สหภาพยุโรป (อียู) เตรียมกำหนดกรอบการดำเนินงานในการให้ความช่วยเหลือกรีซเพื่อปกป้องสกุลเงินยูโร โดยเยอรมนีและฝรั่งเศสจะเสนอวิธีการแก้ปัญหาให้กับกรีซต่อที่ประชุมอียูที่กรุงบรัสเซลส์ในวันนี้ อาทิ การรับประกันเงินกู้ แต่มีเงื่อนไขว่านายกรัฐมนตรีจอร์จ ปาปันเดรอู ของกรีซต้องจัดการรับมือกับการประท้วงในประเทศ และลดยอดขาดดุลงบประมาณที่พุ่งสูงสุดลงให้ได้
นายฌอง-คล้อด จุงเกอร์ นายกรัฐมนตรีลักเซมเบิร์ก ในฐานะประธานคณะรัฐมนตรีคลังของกลุ่มประเทศที่ใช้เงินยูโร เผยว่า ได้มีการจัดการหารือต่างๆขึ้นในขณะนี้เพื่อหาทางออกที่จะสร้างความพอใจให้กับตลาด รวมถึงการประชุมในวันนี้ ซึ่งจะมีนายฌอง-คล้อด ทริเชต์ ประธานธนาคารกลางยุโรปเข้าประชุมด้วย โดยการประชุมจะเริ่มต้นขึ้นในเวลา 10.15 น. ตามเวลาในกรุงบรัสเซลส์ และจะมีการจัดแถลงข่าวในเวลา 16.45 น.
ทั้งนี้ กรีซ โปรตุเกส และสเปน กำลังเผชิญปัญหาด้านปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ท้าทายอย่างมาก ขณะที่อิตาลีและเบลเยี่ยมก็เริ่มแสดงถึงความน่าวิตกกังวลบ้างแล้ว โดยกระทรวงคลังอิตาลีกล่าวว่ารัฐบาลต้องคงการใช้นโยบายทางการเงินที่เข้มงวดเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะเผชิญกับอุปสรรคต่างๆ

2/05/2010

ดอลล่าร์พุ่ง เหตุวิตกหนี้ยุโรปกระตุ้นนักลงทุน.แห่ซื้อดอลล่าร์เลี่ยงความเสี่ยง

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐพุ่งขึ้นเมื่อเทียบกับยูโรและสกุลเงินหลักๆ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (4 ก.พ.) เนื่องจากความวิตกเกี่ยวกับหนี้สาธารณะและยอดขาดดุลงบประมาณของหลายประเทศในยุโรป รวมถึงกรีซ สเปน และโปรตุเกส ทำให้นักลงทุนแห่ถือครองสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง นอกจากนี้ นักลงทุนยังจับตาดูอัตราว่างงานและตัวเลขว่างงานเดือนม.ค.ซึ่งกระทรวงแรงงานสหรัฐจะเปิดเผยในคืนวันศุกร์(20:30) : ryt9.com/s/iq03/789268

1/29/2010

นักลงทุนถือเงินดอลลาร์เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง

เนื่องจากกระแสความวิตกกังวลเกี่ยวกับหนี้สาธารณะและความอ่อนแอในภาคการเงิน ของประเทศยุโรป รวมถึงกรีซ ทำให้นักลงทุนแห่ซื้อดอลลาร์สหรัฐเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง ยอดขาดดุลงบประมาณที่พุ่งขึ้นอย่างรุนแรงของกรีซส่งผลให้ S&P ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของกรีซลงหนึ่งขั้น สู่ระดับ BBB+ จากเดิมที่ระดับ A-

นักลงทุนถือเงินดอลลาร์เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยง หลังจากสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) เตือนว่าระบบการธนาคารที่อ่อนแอของอังกฤษอาจทำให้อันดับเครดิตของอังกฤษตก อยู่ในความเสี่ยง ซึ่งข่าวดังกล่าวได้ฉุดสกุลเงินปอนด์ร่วงลงด้วย

นักลงทุนจับตาดูตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 4 ปี 2552 ซึ่งทางการสหรัฐจะเปิดเผยในวันศุกร์(20:30) http://www.ryt9.com/s/iq03/785713

1/12/2010

แกะรอยหนี้รัฐยุโรปพุ่ง ส่อเค้าโลกเจอวิกฤติใหม่

รายงาน : กรุงเทพธุรกิจ วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2553

สื่อชั้นนำของโลกอย่างนิวส์วีค-อีโคโนมิสต์ ร่วมกับโออีซีดีและมูดี้ส์ ให้ข้อมูลวิเคราะห์ตามติดปัญหาหนี้หลายประเทศอย่างใกล้ชิด เพื่อตรวจสอบระวังความเสี่ยงที่อาจเกิดวิกฤติรอบใหม่ซ้ำรอยดูไบผิดชำระหนี้ ด้วยการติดตามดูหนี้รัฐเทียบจีดีพีที่สูง ศักยภาพบริหารงานเศรษฐกิจด้อยลง ผสมความอ่อนไหวการเงินเรื่องความสามารถชำระหนี้รัฐกับเอกชนในประเทศ ล้วนเป็นสัญญาณอันตรายบ่งชี้วิกฤติโลกครั้งต่อไป กำลังคืบคลานจากดูไบไปยังภูมิภาคอื่นโดยเฉพาะยุโรป

เมื่อปลายเดือนพ.ย.ปี 2552 ปัญหาของประเทศเล็กๆ อย่างดูไบ ได้กลายเป็นกรณีตัวอย่างที่ทุกประเทศต้องหันกลับไปดูหนี้สาธารณะของประเทศตัวเอง เมื่อดูไบ เวิลด์ บริษัทใหญ่ของรัฐบาลดูไบ เผชิญวิกฤติฉุดมูลค่าสินทรัพย์ร่วงกว่า 50% และกลายเป็นหนี้มหาศาลกว่า 5.9 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือเทียบเท่า 70% ของจีดีพีประเทศตลอด 3 ปีข้างหน้า

การประกาศขอเลื่อนชำระหนี้ 3.5 พันล้านดอลลาร์ของรัฐบาลดูไบ ที่จะครบกำหนดชำระเดือน ธ.ค.ปีนี้ ไปเป็นเดือน พ.ค.ปีหน้า ก่อวิกฤติศรัทธาเพียงชั่วข้ามคืนในหมู่นักลงทุนทั่วโลก โดยเฉพาะนักลงทุนเอเชียขวัญอ่อนกว่าใครเพื่อน พากันเทขายหุ้นจนบางตลาดร่วงมากสุดเกือบ 5% เมื่อวันศุกร์ (27 พ.ย.2552) ส่วนตลาดหุ้นดูไบเองเมื่อต้นเดือนธ.ค.ปีนี้ร่วงต่อเนื่อง ทำสถิติร่วงมากสุดกว่า 6%

หลังจากข่าวดูไบพักชำระหนี้ เขย่าขวัญนักลงทุนได้ไม่นาน อีก 2-3 สัปดาห์ถัดมา ปรากฏข่าวร้อนสร้างความวิตกให้นักลงทุน เมื่อฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อของกรีซลงมาอยู่ระดับ BBB+ จากเดิม A- ถือเป็นการลดอันดับครั้งแรกในรอบ 10 ปี และเป็นครั้งแรกความน่าเชื่อถือของกรีซถูกลดลงมาต่ำกว่าระดับ A

ฟิทช์ให้เหตุผลว่า กังวลเรื่องแนวโน้มระยะกลางของสถานภาพทางการเงินภาครัฐ และพิจารณาจากความน่าเชื่อถือด้อยลงของสถาบันการเงินและกรอบนโยบายของกรีซ ซึ่งได้รับผลพวงจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับแนวโน้มของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจมากขึ้น ว่าจะเกิดขึ้นอย่างยั่งยืนและสมดุลหรือไม่

ต่อมาอีก 2 วัน ภายหลังการเผยแพร่ข่าวกรีซถูกปรับลดความน่าเชื่อถือของประเทศ ทางสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ หรือเอสแอนด์พี ได้ประกาศปรับลดเรทติ้งแนวโน้มประเทศของสเปนลง 1 ขั้น และปรับลดเรทติ้งแนวโน้มของไอร์แลนด์จากมีเสถียรภาพเป็นติดลบ

สำหรับการลดเรทติ้งสเปน จาก AAA เป็น AA+ ด้วยเหตุผลที่ว่าสเปนเผชิญกับภาวะซบเซาในการขยายตัวทางเศรษฐกิจเป็นเวลานาน และมีแนวโน้มที่จีดีพีจะขยายตัวต่ำกว่า 1% ต่อปี เพราะหนี้ภาคเอกชนสูง และตลาดแรงงานตึงตัว พร้อมเตือนอีก 2 อาจลดเรทติ้ง หากรัฐบาลไม่ใช้มาตรการเชิงรุก จัดการปัญหาขาดสมดุลการคลัง

ขณะที่กรีซเหมือนผีซ้ำด้ามพลอย หลังฟิทช์ลดเรทติ้งได้ไม่นาน เอส แอนด์ พีประกาศหั่นเรทติ้งระยะยาวกรีซในกลางเดือนธ.ค. จาก A- มาเป็น BBB+ พร้อมเครดิตจับตามองเป็นลบ โดยให้เหตุผลว่าสถานะการคลังของกรีซเสื่อมถอย

ยูริ แลนเดสแมน ผู้จัดการกองทุนของไอเอ็นจี อินเวสต์เมนท์ แมเนจเมนท์ ให้ความเห็นว่าปัญหาความไม่เชื่อมั่นในสถานะการคลังของกรีซ นับว่าสำคัญและน่ากังวลใจมากกว่าปัญหาของดูไบ เพราะมีธนาคารมากมายหลายแห่งในยุโรปปล่อยกู้ให้กรีซ ทำให้ปัญหาที่เกิดกับกรีซน่าจะสำคัญและรุนแรงกว่าปัญหาของดูไบ

โดยนักวิเคราะห์มองความเสี่ยงเนื่องจากกรีซผิดนัดชำระหนี้สูงขึ้น และไม่แน่ใจว่าชาติสมาชิกอื่นในกลุ่มสหภาพยุโรปหรือ อียู จะช่วยเหลือกรีซไม่ให้ผิดนัดชำระหนี้หรือไม่ หากสถานะทางการคลังเลวร้ายลงไปอีก

นอกจากนี้ หากพันธบัตรของรัฐบาลกรีซถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าระดับลงทุน จะทำให้ขาดคุณสมบัติในการเป็นหลักประกันการกู้ยืมจากธนาคารกลางยุโรป หรืออีซีบี ด้วย ส่วนประเทศอื่นในยุโรป เช่น สเปนก็ถูกจับตามองเรื่องความเสี่ยงจากภาระหนี้รัฐสูงขึ้น รวมทั้งประเทศในยุโรปตะวันออก อย่างบัลแกเรีย ฮังการี และกลุ่มประเทศบอลติก ที่มีสัดส่วนหนี้ภาครัฐต่อจีดีพีสูงเช่นกัน

โดยปัญหาเศรษฐกิจและฐานะการคลังของกรีซ สเปนและโปรตุเกส ที่ล้วนเป็นประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป หรืออียู ที่ใช้สกุลเงินยูโรนั้น ตกเป็นประเด็นร้อนที่ทั่วโลก รวมทั้งสื่อตะวันตกโดยเฉพาะ ดิ อีโคโนมิสต์ นิตยสารเศรษฐกิจชั้นนำของอังกฤษ และ นิวส์วีค นิตยสารเศรษฐกิจการเมืองชั้นนำสหรัฐ พากันจับตาความสามารถจัดการเศรษฐกิจและบริหารหนี้สาธารณะของทั้ง 3 ประเทศ

ทั้งนี้ปัญหาความน่าเชื่อถือในการบริหารงานเศรษฐกิจ และจัดการหนี้ภาครัฐของบางประเทศในยุโรป ซึ่งรวมถึงกรีซ สเปน อิตาลีและโปรตุเกส ทำให้นักวิเคราะห์หันมาประเมินสถานการณ์ในกลุ่มประเทศแถบยุโรปกันมากขึ้น เพราะวิตกมากขึ้นเกี่ยวกับความเสี่ยงของประเทศเหล่านี้ และปัญหาขาดดุลการคลังของบางประเทศที่เป็นสมาชิกอียูยังเป็นประเด็นที่ทุกฝ่ายจับตามอง

โดยนักวิเคราะห์กลุ่มหนึ่งมองไกลไปถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดปัญหาที่ลุกลามใหญ่กว่า เพราะหากมีประเทศสมาชิกใดในยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโร เกิดผิดนัดชำระหนี้ขึ้นมาจริงๆ ก็อาจจะกระทบต่อชาติสมาชิกอื่นๆ ในอียูหรือกลุ่มยูโรโซนทั้ง 16 ประเทศได้

ขณะเดียวกันมีข่าวว่า มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส หรือมูดี้ส์ ออกมาเตือนสหรัฐกับอังกฤษด้วยว่า ความเสื่อมถอยของสถานะการเงินการคลังของทั้งสองประเทศ อาจเป็นการทดสอบเรทติ้งมหาอำนาจเศรษฐกิจของโลกทั้งสองประเทศได้รับในปัจจุบันที่ระดับ Aaaa

มูดี้ส์ยังหันมาสนใจญี่ปุ่น ด้วยการเตือนให้เร่งวางแผนลดหนี้รัฐบริหารการคลังให้ดีและมั่นคงในระยะยาว เพื่อสนับสนุนอันดับความน่าเชื่อถือประเทศ หลังปรากฏข่าวความเห็นขัดแย้งในรัฐบาลเรื่องการจำกัดมูลค่าพันธบัตรเตรียมออกในปี 2553 ส่งผลต่อการวางแผนกับความสามารถลดหนี้สาธารณะ
ด้านฟิทช์เขย่าขวัญอังกฤษ ฝรั่งเศสและสเปน ส่งท้ายปี 2552 ด้วยการเตือนให้ทั้ง 3 ประเทศสำคัญของยุโรป ปรับปรุงสถานะการคลังให้มั่นคงมากขึ้น และเพิ่มความน่าเชื่อถือทางการคลังให้มากขึ้น ด้วยการลดหนี้สาธารณะและความเสี่ยง ที่จะสร้างแรงกดดันให้กับเรทติ้งเดิมซึ่งแข็งแกร่งอยู่ระดับ AAA

ทั้งนี้เมื่อปลายเดือนพ.ย.2552 นักวิเคราะห์ของมูดี้ส์ ออกมาเตือนเรื่องหนี้สาธารณะทั่วโลกระหว่างปี 2550-2553 จะขยายตัวเพิ่ม 45% หรือกว่า 49 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งหากเทียบกับต้นทุนใช้ฟื้นฟูยุโรปหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถือว่ามากกว่า 100 เท่า

สอดรับกับองค์การความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจ หรือโออีซีดี เตือนไว้เมื่อเร็วๆ นี้ว่ากลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 30 ประเทศ จะจมอยู่กับภาระหนี้ที่ขยายตัว 100% ของจีดีพีหรือมากกว่านี้ในปี 2553 ซึ่งมีมูลค่ามหาศาลเกือบ 2 เท่าของมูลหนี้ที่มีอยู่เมื่อ 20 ปีก่อน

จากข้อมูลของโออีซีดีและมูดี้ส์ ก่อเกิดความกังวลเพ่งเล็งไปที่หนี้สาธารณะทุกประเทศทั่วโลกว่าน่าเป็นห่วงและกำลังก่อปัญหา เพราะการใช้นโยบายการคลังเชิงรุกของประเทศต่างๆ เพื่อต่อสู้กับภาวะโลกถดถอยรุนแรงสุดในรอบเกือบ 80 ปี ซึ่งมีต้นตอมาจากวิกฤติสินเชื่อบ้านปล่อยกู้ลูกค้าความน่าเชื่อถือต่ำ (ซับไพร์มสหรัฐ)

โดยอีโคโนมิสต์หวั่นเกรงว่า หนี้สาธารณะสูงขึ้นส่งผลต่อเครดิตการชำระคืนหนี้ของบางประเทศ จะกลายเป็นปัญหาใหญ่ครั้งใหม่ของเศรษฐกิจโลก พร้อมย้ำการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ยังคงติดลบในปี 2552 จะทำให้ประเทศที่มีหนี้มหาศาล บริหารจัดการหนี้ส่วนนี้ได้ยากมากขึ้นเรื่อยๆ

นิวส์วีคยังอ้างรายงาน "ตามติดหนี้รัฐทั่วโลกเดือน พ.ย.ปี 2552" ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ซึ่งบ่งชี้ความเป็นไปได้ที่กลุ่มชาติร่ำรวยอาจผิดชำระหนี้อย่างกรณีดูไบมีมากขึ้น

ไอเอ็มเอฟคาดการณ์ตัวเลขการคลังมากมาย สะท้อนวิกฤติการเงินโลกที่รุนแรงมากสุดในรอบ 80 ปีครั้งล่าสุด เป็นต้นตอสำคัญทำให้เกิดการขาดดุลงบประมาณกับหนี้ภาครัฐมากขึ้นในกลุ่มชาติร่ำรวย อย่างสหรัฐ-สเปน-ญี่ปุ่น-อิตาลี-อังกฤษ ย่ำแย่กว่ากลุ่มประเทศกำลังพัฒนา อย่างจีน-อินเดีย-เกาหลีใต้

ด้วยข้อมูลข้างต้นล้วนนำไปสู่การตั้งสมมติฐานเลวร้ายสุด คือรัฐบาลชาติร่ำรวยข้างต้นอาจไม่สามารถลดหนี้มหาศาลที่มีอยู่ได้ง่ายๆ เพราะหนี้มากมายเป็นหนี้ระยะสั้นต้องโรลโอเวอร์ต่อเนื่อง จึงเป็นไปได้ว่าหากเกิดการผิดนัดชำระหนี้ขึ้นมาในกลุ่มประเทศร่ำรวยจริง นักลงทุนทั่วโลกอาจได้เห็นวิกฤติการเงินครั้งใหม่ รับช่วงต่อจากวิกฤติซับไพร์มในไม่ช้า

1/04/2010

สิ่งที่ผู้เทรด Forex จำเป็นต้องทำ

Forex Trading 'Must Do': Instant Guide For Forex Beginners
It is believed that more than 50% of Forex traders are losing money long term in the foreign currency exchange market. Yet, there are still a lot of Forex traders jump in to the market, trade blindly and lost their money. Trade after trade, its surprising to see that 'normally-losing' traders keep betting (not investing!) their money into Forex market without reviewing their trading strategy. No matter you are the experienced or the beginners, there are certain 'must-do' when trading Forex to manage the risk wisely and to increase your possibilities in making profits.

สิ่งที่ผู้เทรด Forex จำเป็นต้องทำ
เป็นที่เชื่อกันว่า มากกว่า 50% ของผู้ที่เล่น Forex นั้นขาดทุนในระยะยาว แต่ก็ยังคงมีนักเล่น Forex หน้าใหม่จำนวนมาก กระโดดเข้ามาในตลาด Forex ทำการซื้อขาย อย่างไร้หลักการ และขาดทุนกลับไป เป็นที่หน้าแปลกใจที่ส่วนใหญ่ของ ผู้เทรดที่ขาดทุนนั้น ทำการเทรดเหมือนพนัน (ไม่ใช่การลงทุน) เงินทุนของพวกเขา เข้าไปในตลาด Forex โดยไม่ได้มีการตรวจสอบกับหลักการเลย ไม่ว่าคุณจะมีประสบการณ์ หรือเป็นผู้เริ่มต้น กับตลาด Forex มีสิ่งที่จำเป็น "ต้องทำ" ในการเข้าเทรด Forex เพื่อบริหารความเสี่ยงอย่างฉลาด และเพิ่มโอกาสในการทำกำไร

Forex traders must-do 1: Invest in your brain first
If you are serious about investing in Forex market, building up your trading skills and knowledge is the very first step that you must take. Seminars, workshops, video tutorials, online learning, or even books are handful to help us learn from the professional. Learn to implement technical charting into your trades; learn using indicators to determine the right time to enter/exit the market; brush up your experience by trading with a demo account… all these are effective to ensure your smooth starts and it will definitely reduce your chances of losing money

สิ่งที่ผู้เทรด Forex ต้องทำ 1 ลงทุนกับสมองของคุณเป็นอันดับแรก
ถ้าคุณต้องการลงทุนในตลาด Forex อย่างจริงจัง การสร้าง ทักษะการเทรด และความรู้ เป็นสิ่งแรกที่คุณต้องทำ การเข้าสมนา Workshop, วิดีโอการสอน, การเรียนรู้ออนไลน์ หรือแม่กระทั้ง หนังสือ เพื่อช่วยให้เราเรียนรู้จากนักเทรดมืออาชีพ เรียนรู้การใช้ กราฟ ทางเทคนิค ประกอบการตัดสินใจการเข้าเทรด เรียนรู้การใช้ indicator เพื่อเป็นตัวชี้จังหวะ การเข้า และออกจากตลาด สร้างประสบการณ์ ด้วยการเทรดผ่านบัญชีจำลอง ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่มีประสิทธิภาพ และสามารถให้คุณเริ่มต้นกับ Forex ได้อย่างราบรื่น และสามารถ ลดโอกาสในการขาดทุนได้อย่างแน่นอน

Forex traders must-do 2: Getting the right trading system
It is wise to research very well and consider all the various brokers' system available to you before making your choice. By applying certain level of computer automations (such like charting and doing auto trades), trading; a well-designed trading system will reduce your work dramatically. This in turns give you more time to focus on studying the market and plotting your strategy. Also, using auto-trading system will avoid you from doing emotional-trades.

สิ่งที่ผู้เทรด Forex ต้องทำ 2 เริ่มต้นกับระบบเทรดที่เหมาะสม
เป็นสิ่งที่ฉลาด และควรทำ ที่จะค้นคว้าหาข้อมูล และพิจารณา ระบบของโบรกเกอร์ทั้งหมดที่มี ก่อนที่เราจะเลือกใช้เพื่อทำการเทรดจริง ระบบของโบรกเกอร์ที่แตกต่างกันนั้นเช่น ระบบการแสดงกราฟ ระบบการเทรดอัตโนมัติ ระบบเทรดที่ได้ออกแบบมาอย่างดี จะช่วยให้งานของเราน้อยลง สิ่งนี้จะช่วยให้เรามีเวลา ที่จะเรียนรู้ตลาด และวางแผนกลยุทธ์ของเราได้มากยิ่งขึ้น อีกสิ่งที่ทำให้ระบบเทรดอัตโนมัติ นั้นมีประโยชน์มาก นั้นคือ การใช้ระบบเทรดอัตโนมัติ จะช่วยให้เราหลีกเลี่ยงการเทรดโดยใช้อารมณ์ได้
Forex traders must-do 3: Have a trading plan
As the old says: “Fail to plan is plan to fail”. Trading is like sailing boat middle in the sea; you will not be going anywhere without compass and navigator. What is the detail objective of the trades? How much profit to expect from the trade? When to get into the market? How much to invest? What price to exit the market? If things do not work out, when do execute the stop loss order? How high is the affordable risk? A good trading plan should at least answers the above questions. Further more, if your trading plan fails, review and modify your trading plan. Find out your mistakes and learn from them.

สิ่งที่ผู้เทรด Forex ต้องทำ 3: มีแผนการเทรดอย่างชัดเจน
อย่างที่ผู้เฒ่า ผู้แก่ กล่าวไว้ว่า "การล้มเหลวในการวางแผน เป็นแผนสำหรับความล้มเหลว" การเทรดในตลาด Forex นั้น เหมือนกับการ พายเรือในทะเล คุณจะไม่สามารถไปไหนได้เลย ถ้าไม่มี เข็มทิศ และตัวนำทาง อะไรเป็นจุดประสงค์ของการเทรด? คุณคาดหวังจะได้กำไรจากการเทรดเท่าไหร่? เมื่อไหร่ถึงจะเข้าไปในตลาด? จะลงทุนเท่าไหร่? จะออกจากตลาดที่ราคาเท่าไหร่? ถ้าทั้งหมดไม่เป็นไปตามแผน จะ stop loss เมื่อไหร่? จะทนต่อความเสี่ยงได้ขนาดไหน? แผนการเทรดที่ดี อย่างน้อยควรจะตอบคำถามทั้งหมดนี้ได้ ถ้าแผนการเทรดของคุณไม่ประสบผลสำเร็จ ตรวจสอบ และแก้ไข แผนการเทรดของคุณ ค้นหาสิ่งที่ผิดพลาด แล้วเรียนรู้จากมัน

Forex traders must-do 4: Money management
Money management is controlling your risk through the use of protective stops, while balancing your potential for profit against your potential for loss. For example, good money management means you know your profit objective and the odds of being right or wrong, and controlling your risk with protective stops. You are better off with a trade where you might lose $1000 if you are wrong and make $500 if you are right, that would work eight times out of ten, than to take a trade where you would make $1000 if you are right and lose only $500 if you are wrong, but works only one time out of three. If you are investing using your savings, it's even more important that you manage your money in your trading and in your personal expenses. Chances are high that you miss a good investing chance because of you are lack of capital.

สิ่งที่ผู้เทรด Forex ต้องทำ 4: มีการบริหารเงินทุนที่ดี
การบริหารเงินทุน เป็นสิ่งที่ควบคุมความเสี่ยงของคุณ และช่วยในการตัดสินใจในการออกจากตลาด โดยให้น้ำหนักจาก โอกาสในการทำกำไร เปรียบเทียบกับ โอกาสในการขาดทุน ตัวอย่างเช่น ในสถานะการณ์หนึ่ง ถ้าไม่เป็นไปตามแผน คุณอาจจะขาดทุน $1000 แต่ถ้าเป็นไปตามแผน คุณจะได้กำไร $500 โดยแผนนี้สำเร็จ 8 ครั้ง จากทั้งหมด 10 ครั้ง นั้นเป็นการดีกว่า การทำกำไร $1000 ถ้าเป็นไปตามแผน แต่ถ้าไม่เป็นไปตามแผนจะขาดทุน $500 โดยแผนนี้สำเร็จเพียงแค่ 1 ครั้งจากทั้งหมด 3 ครั้ง ถ้าคุณลงทุนโดยใช้เงินเก็บของคุณเอง การบริหารเงินทุนนี้ ยิ่งเป็นสิ่งสำคัญ เพราะโอกาสที่คุณจะพลาดการลงทุนที่ดี เนื่องจากเงินทุนของคุณมีไม่มากนั้น สูง

Forex traders must-do 5: Discipline trading
Trading Forex with discipline is important. Success in Forex trading could not be achieved by plotting out the best trading plan. It is also depends on implementing the trading plan. Be discipline, trade according to your plan and never trade with your emotion no matter you are losing money or winning. Greed will stop you from taking profit at predetermined level; while fear will stop you from making the nice kill in the market.

สิ่งที่ผู้เทรด Forex ต้องทำ 5: ลงทุนอย่างมีวินัย
การเทรด Forex อย่างมีวินัย นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ ความสำเร็จจากการเทรด Forex นั้นไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เพียงแค่ คุณมีแผนการเทรดที่ดีเท่านั้น อีกสิ่งที่สำคัญ และจำเป็น นั้นคือคุณต้องทำตามแผนนั้นอย่างมีวินัยด้วย เทรดตามแผน และไม่เทรดตามอารมณ์ ถึง จะขาดทุน หรือกำไร ความโลภอาจทำให้กำไรของคุณหายไป ในขณะที่ ความกลัว อาจะทำให้คุณพลาดโอกาสที่ดี ในตลาดได้เช่นกัน
Without a doubt, Forex is gaining its popularity fast against other kind of trading. No limited market access, no liquidity issues-after market hours, zero commission fees, low capital requirements with high leverage rates, and no restrictions on short selling -- Forex can be very beneficial. Always remember to plan your investment wisely by investing first on yourself; you shall get your reward at the end of the road.

กำไรจากตลาด Forex นั้นสูง และ เร็ว กว่าการเทรดชนิดอื่นมาก อย่างไม่ต้องสงสัย การเข้าถึงตลาดนั้นก็ไม่มีข้อจำกัด, ความลื่นไหลของตลาด, เป็นการลงทุน โดยไม่จำเป็นต้องใช้เงินทุนมาก ด้วย อัตรา leverage ที่สูง และ ไม่มีข้อจำกัดในการ Short Selling ทำให้ตลาด Forex สามารถทำกำไรได้สูงมาก จำไว้เสมอว่า การวางแผนการลงทุนอย่างฉลาด โดยการลงทุนให้กับตัวเองก่อน คุณจะได้รางวัลอย่างงามที่ปลายทาง

Teddy, writter and webmaster in financial investment. Learn Forex trading from scratch in his website at http://www.golearnforex.net.
Article Source:
http://EzineArticles.com/?expert=Teddy_Low
บทความต้นฉบับ Forex Trading 'Must Do': Instant Guide For Forex Beginners
โดย เทดดี้ โล (Teddy Low)