"Self-conquest is the greats of victory" การชนะใจตนเอง คือ ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

12/02/2009

กรณีศึกษากราฟของราคาทองคำ


เป้าหมายของสามเหลี่ยมคือTrendlineขอบบนซึ่งวัดได้เท่ากับFibonacci ที่แนว261.8% พอดีนั่นคือเป้าหมายและก็เป็นแนวต้านด้วย

11/02/2009

การหาเป้าหมายราคาถัดไปโดยใช้Fibonacci


การหาเป้าหมายราคาถัดไปโดยใช้ Fibonacci

เมื่อแนวโน้มราคายังคงเป็นขาขึ้นต่อไปและราคาไม่สามารถลงต่ำกว่าแนวรับ61.8% แล้วราคาสามารถดีดกลับขึ้นไปสูงกว่าhighเดิมได้ เป้าหมายถัดไปหากราคาอยู่ในคลื่นที่3ของ Elliott wave ราคาอาจขึ้นไปได้ถึง261.8% หรือ 423.6% แต่หากราคาอยู่ในคลื่นที่5ราคาอาจจะไม่ผ่าน 100%หรือไปได้แค่ 127.2%หากสัญญาณไม่แรงพอ

ในทางกลับกันหากราคาเป็นแนวโน้มขาลงก็สามารถปรับใช้ได้ในลักษณะเดียวกัน

การหาแนวรับแนวต้านโดยใช้Fibonacci retracement


การหาแนวรับแนวต้านโดยใช้ Fibonacci retracement

คือการหาจุดย่อของราคา เมื่อราคามีการพักตัวก่อนขึ้นต่อไปตามแนวโน้มการย่อของราคามีแนวรับที่สำคัญอยู่ที่ 38.2% , 50.0% , 61.8% ก่อนที่ราคาจะขึ้นต่อไปตามแนวโน้ม แต่ถ้าหากราคาตกต่ำกว่าแนวรับที่61.8% อาจจะทำให้แนวโน้มเปลี่ยนเป็นลงกลับไปที่lowเดิมได้

ในทางกลับกันเมื่อแนวโน้มราคาเป็นขาลงก็สามารถปรับใช้ได้ในลัษณะเดียวกัน

Fibonacci


Fibonacci

เป็นชื่อเรียกเลขอนุกรมมหัศจรรย์ ที่ตั้งขึ้นตามผู้คิดค้นคือ LEONARDS FIBONACCI
ใช้ค้นหาแนวโน้ม แนวต้าน แนวรับ สัญญาณซื้อและขาย โดยมีรูปแบบอยู่ 3 ลักษณะ คือ
- Fibonacci retracement หาแนวรับแนวต้านราคาในแนวระนาบ
- Fibonacci fan หาแนวรับในแนวเฉียง
- Fibonacci fan หาแนวรับในแนวดิ่ง หรือระยะเวลา

ส่วนมากจะเป็น Fibonacci retracement
ตัวเลขสัดส่วนที่นำมาใช้ ถูกคำนวณมาเป็น % หรือเทียบกับ 1.0 เป็นเลขดังนี้23.6% 38.2% 50% 61.8% 78.6% 100% 127.2% 161.8% 261.8% 423.6%การใช้ Fibonacci สามารถใช้วัดได้ทั้งคลื่นย่อย และคลื่นหลักตามสะดวก ตัวเลขวัดจาก0-100 และตัวเลขแต่ละเปอร์เซ็นต์จะเป็นแนวรับเมื่อราคาถอยกลับลงมาและจะเป็นแนวต้านเมื่อราคาดีดกลับขึ้นไป

เริ่มใช้ Fibonacci อย่างไร

เมื่อคลื่นเริ่มต้นขึ้น จนเริ่มตก เราก็จะได้จุดเริ่มต้นและปลายทางของคลื่นเป้าหมาย สิ่งที่เราจะวัด คือแนวรับก่อน
หากคลื่นที่วัด ความแรงไม่มาก เช่นคลื่น 1 แนวรับจะอยู่ที่แถว 50% 61.8% และ 78.6% รวมถึง 100%
หากเป็นคลื่น 3 บางที ราคาอาจลงมาแค่38.2% หรือไม่ก็อาจจะ 50% แล้วขึ้นต่อ
หากแนวรับ รับได้อยู่แถว 61.8% และดีดกลับได้อย่างแข็งแกร่ง คลื่นอาจจะย้อนสูงขึ้นกว่ายอดเดิม ไปที่ 127.2% 161.8% หรือ 261.8% หรือมากกว่านั้นได้ เราสามารถใช้เรื่อง Elliott Wave มาประยุกต์ร่วมกับการคะเน แนวต้านได้เช่น
หากเป็นคลื่น 3 ราคาอาจแรงไปถึง 261.8 หรือ 423.6% ได้
ขณะที่คลื่น 5 อาจไม่ผ่าน 100% หรือแค่ 127.2% ก็เป็นได้ หากสัญญาณไม่แรงพอ

การหาเป้าหมายของสามเหลี่ยมTriangle


การหาเป้าหมายของสามเหลี่ยมTriangle

เมื่อราคาหลุดแนวTrendlineของขอบสามเหลี่ยมทั้งด้านขึ้นและด้านลงจะทำให้ราคาวิ่งไปตามทิศทางนั้นอย่างแรง การหาเป้าหมายของราคาให้ตีเส้นคู่ขนานขึ้นไปเป้าหมายราคาคือบริเวณเส้นTrendlineขอบบนส่วนขาลงก็ทำในลักษณะเช่นเดียวกันแต่เปลี่ยนเป็นทางลงหรืออาจจะวัดจากความสูงของสามเหลี่ยมว่ามีความสูงเท่าไหร่ให้เอาความสูงนี้ไปบวกกับจุดที่ราคาเริ่มต้นขึ้นเมื่อหลุดสามเหลี่ยมขึ้นไปก็จะได้ราคาเป้าหมายหรือจะวัดจากTrendline ขอบล่างนับจากจุดที่ราคาเริ่มต้นขึ้นก็ได้เหมือนกัน

11/01/2009

การลากเส้นTrendline


การลากเส้นTrendline

ให้ลากจากจุดที่1ผ่านจุดที่2 แล้วตีเส้นให้ขนานกันเป็นแนวโน้มใช้ได้ทั้งขาขึ้นและขาลงเมื่อราคาหลุดออกจากแนวTrendline ก็จะทำให้ทิศทางและแนวโน้มของราคาเปลี่ยนแปลงได้

10/10/2009

Dow Theory ทฤษฎีที่ว่าด้วยแนวโน้มของตลาด

" Dow Theory "

Dow Theory เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยแนวโน้มของตลาด โดยทฤษฎีกล่าวไว้ว่า ตลาดที่กำลังอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น ถ้าจุดยอดและจุดก้นบึ้งที่เกิดขึ้นอยู่สูงกว่าจุดยอดและจุดก้นบึ้งที่เกิด ขึ้นก่อนหน้า ในทางตรงกันข้าม หากจุดยอดและจุดก้นบึ้งที่เกิดขึ้นอยู่ต่ำกว่าจุดยอดและจุดก้นบึ้งที่อยู่ ก่อนหน้า แสดงว่าตลาดกำลังอยู่ในแนวโน้มขาลง นอกจากนี้แล้ว ยังมีสาระสำคัญที่ปรากฏในทฤษฎีนี้อีกหลายประการ

ประการที่หนึ่ง
ตลาดจะดูดซับเหตุการณ์ทุกอย่างด้วยความรวดเร็ว และสะท้อนออกมาที่ราคาของตลาดโดยรวม

ประการที่สอง
แนวโน้มของตลาด สามารถแบ่งออกเป็น 3 ลำดับชั้น แยกตามระยะเวลา คือ
1 Primary trend จะกินระยะเวลามากกว่า 1 ปีขึ้นไป
2 Secondary trend จะกินระยะเวลา 3 สัปดาห์ถึง 3 เดือน โดย Secondary trend นี้ถือได้ว่าเป็นช่วงระยะเวลาในการปรับตัว (corrections) ในช่วงของ Primary trend

3 Minor trend จะกินระยะเวลาน้อยกว่า 3 สัปดาห์ จึงถือได้ว่าเป็นเพียงแค่การแกว่งตัวของราคาในระยะสั้นเท่านั้น

ประการที่สาม
แนวโน้มของตลาดยังสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะ แยกตามการซื้อขาย ได้แก่
ช่วงระยะแรก เป็นช่วงที่นักลงทุนที่เล็งเห็นการณ์ไกลเข้ามาช้อนซื้อหุ้น เพราะเห็นว่าข่าวคราวเชิงลบได้ถูกดูดซับไปหมดแล้วในตลาด ซึ่งช่วงระยะนี้เรียกว่า ช่วงเก็บของ (accumulation phase)
ช่วงระยะที่สอง เป็นช่วงที่ผู้ลงทุนที่เน้นการลงทุนตามแนวโน้มตลาดเข้ามามีส่วนร่วมในตลาด มากขึ้น โดยมีแรงหนุนจากข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจเชิงบวกที่ปรากฏชัดมากขึ้น ส่งผลให้ราคาโดยรวมมีการปรับตัวสูงขึ้น
ช่วงระยะที่สาม เป็นช่วงที่มีผู้เล่นอยู่ในตลาดมากยิ่งขึ้น ข่าวสารเชิงบวกจะหลั่งไหลกันออกมามากมาย มีการเก็งกำไรมากขึ้น ซึ่งในระหว่างช่วงระยะสุดท้ายนี้เองที่นักลงทุนที่เข้าเก็บของตั้งแต่ในช่วง ระยะแรก จะเริ่มทยอยขายทำกำไรออกไป ซึ่งช่วงระยะนี้เรียกว่า ช่วงระบายของ (distribution phase)

นอกจากนี้ Dow Theory ยังบอกอีกว่า ปริมาณการซื้อขายจะต้องยืนยันแนวโน้มที่เกิดขึ้นอีกด้วย ตัวอย่างเช่น หากแนวโน้มของราคาเป็นขาขึ้น ปริมาณการซื้อขายควรจะเพิ่มขึ้นตาม และปริมาณการซื้อขายควรจะน้อยลง หากราคามีการปรับตัวลง ในทางกลับกัน หากแนวโน้มของราคาเป็นขาลง ปริมาณการซื้อขายควรจะเพิ่มขึ้น และปริมาณการซื้อขายควรจะน้อยลงในขณะที่ราคามีการดีดตัวขึ้น

10/09/2009

4H MACD PRICE MOVEMENT RULES







4H MACD PRICE MOVEMENT RULES

1. ในการดูราคาในจุดที่จะ trade ควรดูสิ่งนี้ควบคู่กันด้วย (ทุกครั้ง )
1.1 Moving Average, Trend line, แนวรับ แนวต้าน และตัวเลขจิตวิทยา (พวกเลข 00, 200.00, 1.50, 100.00)
1.2 แล้วมาดู MACD signal เพื่อเป็นการ confirm ในการเทรด
2. ทำการบ้านเยอะๆ เกี่ยวกับ price movement หรือ Market rhythm เช่น print graph 4hr ย้อนหลัง 1 ปีมานั่งปิดแล้วดูแล้ววิเคราะห์แท่งเทียนถัดไป
3. ห้ามเทรด MACD ทุก Signal
4. อย่ากระโดดเล่นหลายคู่
4.1 ควรเล่นไม่เกิน 3 pair (ทุกวันนี้ผมยังคงเล่นแค่ 2 pair) และเล่น pair ที่ชอบและคุ้นเคยกับเรา ถ้าเราเล่นหลาย pair เราจะเสียโอกาสในการเปิด position เดิมที่ควรจะได้ คือถ้าเล่นเยอะ % ที่จะถูกมันก็น้อยลง การเล่นมันย่อมมีผิดพลาด ถ้าเราผิดตัวนี้แล้วเราไปเล่นตัวอื่น เราก็จะพลาดตัวอื่นต่อ ในขณะที่รอบหน้าของตัวแรกที่พลาดอาจจะถูก แต่เราไม่ได้เทรดมัน เทรด 10 ครั้งควรจะถูก 6-7 ครั้งแต่ถ้าเราโดดไปตัวอื่น ทีนี้เราก็จะไม่ได้ 10:6 หรือ 10:7 แล้ว
5. ดูที่อารมณ์ตลาด(Market emotion) – รูปแบบที่แน่นอนของแท่งเทียน
6. ดูจังหวะตลาด(Market Rhythm) และ trend line
7. R:R (Risk reward ratio) ควรเป็น 1:1 ขึ้นไป เช่น Reward 50 Stoploss ไม่เกิน 50
8. เมื่อราคาผ่านเส้น 20SMA มันจะกลับมาหาเส้น 55EMA
9. เมื่อราคาวิ่งทะลุผ่านเส้น 200SMA มันจะวิ่งกลับหาตัวมันเอง (200SMA) ก่อนที่จะวิ่งต่อไป


วิธีนี้ถือเป็นวิธีที่ง่ายๆ ไม่ยุ่งยากซับซ้อนครับ ถ้าจะใช้ต้องเรียนรู้ 3 เรื่องหลักๆ ครับ

1. Market Rhythm
2. Market Emotion
3. เครื่องมือต่างๆ MACD, MA, Trend Line


ส่วนเรื่องอื่นๆ หลักๆก็จะเป็นเรื่อง Self Management น่ะครับ คือการควบคุมอารมณ์ตัวเองทุกครั้งที่เทรด และตัดสินใจต้องมีการวางแผนครับ หรือเรียกว่า Risk Management ก็ได้ เช่นการเข้าเทรด การ Stoploss เป็นต้น

1. Market Rhythm หรือจังหวะตลาด เป็น pattern ที่จะเข้าไปเทรดครับ รูปแบบของกราฟจะต้องดูง่าย เช่นราคาจะต้องวิ่งหาเส้น SMA20 หรือ EMA55 แล้วก็วิ่งกลับไปคล้ายๆระรอกคลื่นน่ะครับ ถ้าเรามีการวาด Trend Line จะสามารถเห็นภาพได้ง่ายขึ้น สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวใช้ตัดสินใจในการคิดว่าจะเทรดหรือไม่ครับ (ยังไม่เทรดนะครับแค่สนในใจจะเทรดเฉยๆ)

2. Market Emotion คือลักษณะอารมณ์มหาชนช่วงนั้นว่าเค้าคิดอะไรกัน? ฟังดูเหมือนยากนะครับแต่จริงๆก็คือการดูแท่งเทียนน่ะครับ ซึ่งรูปแบบแท่งเทียนจะมีอยู่ประมาณ 10 กว่ารูปแบบที่ต้องศึกษาครับ จะบอกได้ว่ามหาชนคิดอะไร?ทำอะไร? ซึ่งเราจะสามารถตามน้ำไปกับพวกเขาได้ครับ ถ้ารูปแบบแท่งเทียนออกมาดี เช่นก้านของแท่งไปแตะที่เส้น EMA21 แล้ววิ่งกลับขึ้นไปเกิน 50% ของแท่ง ก็หมายความว่าราคามีความเป็นไปได้ว่าจะวิ่งกลับขึ้นไปตามจังหวะ Market Rhythm ครับ มาถึงจุดนี้เราสามารถมั่นใจว่าเรามาถูกทางแล้ว แต่... ยังไม่ใช่การ confirm ว่าจะเทรดนะครับ ทีนี้สิ่งที่เราควรทำลำดับต่อไปคือข้อต่อไปครับ

3. MACD ครับ MACD เราจะใช้ Period 4 hr. ครับ ซึ่งมีการพิสูจน์แล้วว่ามีการเกิด error ค่อนข้างจะน้อยที่สุดและน่าเทรดที่สุดครับ (ถ้าไม่นับ period daily ขึ้นไปนะครับ จริงที่ว่า daily จะเกิด error น้อยกว่า แต่เราก็กำหนดจุด Stop loss จนอ้วกน่ะครับ บางทีมากกว่า 100pips อีกครับ) ทีนี้มาเข้าเรื่องต่อคือ MACD4hr นะครับ หลังจากที่เราดูตลาด(จากข้อ 1 และ2 เรียบน้อยแล้ว) ทีนี้เราจะมาดู MACD ครับเพื่อใช้ Confirm การ Trade ถ้าเกิดสัญญานต่อไปนี้ก็สามารถที่จะทำการเปิด position ได้ครับคือ
1. Trend Continue
2. Round top
3. Round Bottom
4. Zero Breaking
5. Double Top
6. Double Bottom
7. Higher Low
8. Lower High

สัญญานตัวนี้เป็นสัญญานสากลที่หลายๆคนรู้จัก และนำไปดูที่กราฟครับ (แต่เราดูที่ MACD ครับ) ถ้าเกิดสัญญานนี้ก็สามารถเปิดการเทรดได้เลยครับ แต่...ต้องพิจารณาข้อที่ 1 และ 2 ก่อนนะครับอันนี้สำคัญมากๆ ครับ เราจะไม่ใช้เครื่องมือเทรด แต่เราจะใช้เครื่องมือในการ confirm การตัดสินใจเท่านั้นครับ เพราะถ้าใช้เครื่องมืออย่างเดียว สังเกตได้ว่าวันนึงจะมีให้เป็นเป็นร้อยครั้งครับ แต่ความไม่แน่นอนมันมากเกินไปครับ เราดู Market Rhythm กับ Emotion ก่อนดีกว่าครับ

สาเหตุที่ใช้ MACD เพราะว่า MACD เป็นเครื่องมือที่ถือว่าให้สัญญานได้ช้าที่สุด แต่แม่นยำที่สุดครับ เพราะฉะนั้นผมจึงใช้ indy แค่ตัวนี้ตัวเดียวเท่านั้นครับ ใช้หลายเครื่องมือมันดูดีดูเป็น pro จริงครับ แต่มันเข้าใจยากและก็ไม่ค่อยมีผลงานดีซักเท่าไหร่ครับ ผมว่าความเป็น Simple เป็นอะไรที่ดีที่สุดแล้วครับ วิธีนี้ค่อนข้างจะหวานเย็นนะครับ แต่ confirm ได้ว่าคุณได้กำไรแน่นอนครับ แต่ไม่ใช่ว่าจะได้ทุกเทรดนะครับ เพียงแต่เราสามารถที่จะหา high probability ที่ดีที่สุดได้ครับ เช่นเทรด 10 ครั้งคุณจะพลาดประมาณ 3 ครั้งครับ หรืออย่างมากก็ 4 ครับ... แต่แนะนำนะครับเล่นแค่ pair เดียวหรือ 2 pair ที่ชอบก็พอนะครับ ด้วยเหตุผลที่ว่าเราจะได้เข้าได้ทุกจังหวะครับ และก็ถ้าเสียเราจะไม่เสียเป็นดับเบิ้ลครับ

10/08/2009

4 Hour MACD Strategy

4 Hour MACD Strategy
MACDเป็นเครื่องมือที่มีความแม่นยำมากกว่าเครื่องมือตัวอื่นๆจุดตัดกันของสัญญาณจึงสามารถบอกถึงการกลับทิศทางของราคาได้บางครั้งสามารถเตือนล่วงหน้าได้หลายชั่วโมงหรืออาจจะเป็นวันได้ก่อนที่ราคาจะกลับตัวจริง

รูปAและDเป็นสัญญาณการกลับทิศทางของราคาวงกลมสีแดงเป็นจุดเข้าซื้อขาย
รูปBและCเป็นสัญญาณขึ้นต่อเนื่องหรือลงต่อเนื่องคือทิศทางยังคงต่อเนื่องไม่เปลี่ยนแปลง
และวงกลมสีแดงเป็นจุดเข้าซื้อขาย




10/07/2009

Leverage คืออะไร?

Leverage คือแรงงัด หมายความว่าเราสามารถซื้อหุ้นมูลค่า 100,000 ได้ด้วยเงินเพียง100
Leverage 1:100 แปลว่า เราใช้ทุนของเราเองเพียง 1 เพื่อสั่งซื้อ-ขาย 100
Leverage ที่มากขึ้น ทำให้ใช้ margin น้อยลงแต่ก็จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ่นเช่นกัน
หากใช้ Leverage 1:100 จะใช้ margin = $1,000

หากใช Leverage 1:200 จะใช้ margin = $500
หากใช Leverage 1:500 จะใช้ margin = $200
ข้อดีของ Leverage คือ การได้ใช้ margin ลดลง อาจจะทำให้ถือลบ ได้นานขึ้น

9/22/2009

Stop Loss คืออะไร

Stop Loss คือ จำนวนเงินที่สามารถยอมรับความสูญเสียได้
วิธีการ Stop Loss มักจะใช้เพื่อจุดประสงค์ใน 2 กรณี
1. ใช้เพื่อหยุดการขาดทุน เพื่อปกป้องเงินลงทุนเริ่มต้น
2. ใช้เพื่อปกป้องผลกำไรที่กำลังลดน้อยลง

Trailing Stops คืออะไร

โดยหลักการแล้ว Trailing Stops ใช้ปิดสถานะ เพื่อจำกัดความเสี่ยง หรือปกป้องกำไร หรือทั้งสองอย่าง

วิธีการ คือ เราตั้ง % หรือตัวเลขตัวนึงจากจุดสูงสุด ถ้าราคามันทรงๆ หรือขึ้นไปเรื่อยๆ ก็จะยังไม่ขาย โดยราคาที่กำหนดให้ขายจะขึ้นตามราคาสูงสุดของหุ้นไปเรื่อยๆ


เช่นเราอาจจะกำหนดว่า เราจะขายหุ้น ถ้าราคาตกลงมาจากจุดสูงสุด 20% ให้ขายทันที ใช้ได้ดีกับราคาที่วิ่งขึ้นแรงๆหรือลงแรงๆ ควรใช้กับการซื้อขายแบบ Long term ระบบนี้กำไรแน่นอน

9/21/2009

Hedgingคืออะไร

Hedging คือการป้องกันความเสี่ยง ที่อาจจะเกิดขึ้นจากภาวะความผันผวนของราคาสินค้า หรือเงินตราต่างประเทศในตลาด สามารถทำได้โดยการส่งคำสั่งซื้อหรือขายในทางตรงกันข้ามจากคำสั่งที่ซื้อขายไว้ก่อนหน้านี้หรือจะเป็นการซื้อและขายในเวลาเดียวกันก็ได้

เช่น เมื่อเราซื้อ Buy ไว้เพื่อรอให้ราคาขึ้นแต่เกิดความไม่แน่นอนเกิดขึ้นราคากลับตกลงมาต่ำกว่าราคาที่เราซื้อbuyไว้ เราสามารถทำ Hedging โดยการเปิดขาย Sell ในทางตรงกันข้ามเพื่อจำกัดการขาดทุนไว้ไม่ให้มากไปกว่านี้

Averageคืออะไร

Average คือ การลงทุนแบบถัวเฉลี่ย เป็นการซื้อเฉลี่ยเมื่อราคาถอยลงมาในจำนวนเงินที่เท่ากันและต้องซื้อขายตามทิศทางหลักของตลาดอย่าสวนทางตลาด

การซื้อขายแบบ Day Trade

การซื้อขายแบบ Day Tradeเป็นการลงทุนระยะสั้นภายในวันเดียว เช่น เข้าซื้อตอนเช้า แล้วขายตอนบ่าย หากำไรจากส่วนต่างของราคาที่ซื้อขาย มีสิ่งที่ต้องคำนึงดังนี้
1. มีหลักการวางแผนที่ดีเพราะต้องเข้าเร็วออกเร็ว
2. เทคนิคต้องแม่นในระดับนาที
3. ต้องดู chart ได้หลายมิติ 5, 15, 30, 60 นาที
4. จังหวะการเข้าต้องดี สภาพคล่องต้องสูง
5. ต้องมีวินัยสูง ถึงเวลากำไรต้องออกอย่าถือยาว
6. ต้องควบคุมอารมณ์ตัวเองให้ได้เพราะราคาจะแกว่งตลอด
7. ถ้าไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ จะต้องปิด position ทิ้งทันที(อย่ามัวแต่นั่งรอความหวัง)

9/20/2009

วินัยในการซื้อขาย

1.วางแผนก่อนเข้าตลาดเสมอ
1.1กำหนดเป้าหมายต้องการกำไรเท่าไหร่แล้วตั้งlimitไว้
1.2เมื่อรู้ว่าผิดทางต้องกล้าตัดสินใจปิดการซื้อขายทันทีหรือตั้งstopไว้
2.ดูแนวโน้มก่อนว่าขึ้นหรือลงแล้วเข้าซื้อขายตามแนวโน้มอย่า!สวนทางตลาด
3.ต้องรอให้มีสัญญาณทางเทคนิคยืนยันก่อนเข้าตลาด
4.ห้ามซื้อขายวันที่ตลาดusปิดหรือวันที่มีการประกาศข่าวสำคัญที่มีผลกระทบกับตลาดมากๆ

Economic Calendar (ความสำคัญของปฏิทินเศรษฐกิจ)

Business Inventories
เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการขายและสินค้าคงคลังจากภาคการผลิต การค้าส่ง และการค้าปลีก ตัวเลขที่สูงขึ้นของ Business Inventory หมายถึงสภาวะเศรษฐกิจที่ดี
Consumer Price Index หรือ CPI
CPI จะเป็นตัววัดเกี่ยวกับระดับราคาของสินค้าและบริการที่ซื้อโดยผู้บริโภค CPI ที่เห็นประกาศกันจะมี CPI กับ Core CPI ซึ่งต่างกันตรงที่ว่า Core CPI จะไม่รวม ภาคอาหารและ ภาคพลังงานโดยปกติ CPI จะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงอัตราเงินเฟ้อ โดยตัวเลข CPI ที่สูงจะเป็นตัววัดเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่สูง จะนำไปสู่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือลดอัตราดอกเบี้ยได้
Current Account Balance
จะบอกถึงความแตกต่างของเงินสำรอง และการลงทุน ตัวนี้เป็นตัวสำคัญในส่วนของการซื้อขายกับต่างประเทศ ถ้า Current Account Balance เป็น + จะหมายถึงเงินออมในประเทศมีสูง แต่ถ้าเป็น - จะหมายถึงการลงทุนภายในประเทศเป็นเงินจากต่างประเทศมาลงทุน ถ้า Current Account Balance เป็น + ส่งผลให้เศรษฐกิจดีขึ้น

Consumer Confidence
เป็นการสำรวจในแต่ละครัวเรือน โดยตัวเลขตัวนี้จะมีความสัมพันธ์กับเรื่องของ การว่างงาน อัตราเงินเฟ้อ และรายได้ที่แท้จริง การที่ตัวเลขมีค่าที่เพิ่มมากขึ้นหมายถึงเศรษฐกิจที่ดีขึ้น
Durable Goods Orders
โดยจะเป็นตัววัดปริมาณของการสั่งสินค้า การส่งสินค้า โดยจะเป็นตัววัดถึงภาคการผลิต ซึ่งหากว่าเศรษฐกิจมีปัญหาจะส่งผลให้ปริมาณการสั่งสินค้าลดลง ตัวนี้จะเป็นเหมือนตัวบอกถึง GDP และ PDE การที่ตัวเลข Durable Goods Orders มีค่าที่มากขึ้น จะบ่งบอกถึงเศรษฐกิจที่ดีขึ้น
Euro-Zone ZEW ,German ZEW Indicator of Economic Sentiment
ตัวชี้วัดความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ ประเมินความคาดหวังทางเศรษฐกิจในอนาคตทั้ง Euro-zone ผลสรุปเป็นตัวเลขของการตอบสนองเชิงบวก ลบ ตัวเลขเพิ่มขึ้นเศรษฐกิจก็ดีขึ้น

Federal Open Market Committee หรือ FOMC
จะประชุมเมื่อไร ไม่มีตายตัวแน่นอน แล้วแต่เค้าจะนัดกัน โดยการประชุมจะดูภาพรวมและผลของการประชุมที่สนใจกันคือเรื่องของอัตราดอกเบี้ย การปรับอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นหรือลดลงได้
Factory Orders
เป็นการวัดการสั่งสินค้าทั้งหมด การสั่งสินค้าที่สูงหมายถึง demand ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากเศรษฐกิจที่ดีขึ้น
Gross Domestic Product หรือ GDP
GDP คือตัววัดที่กว้างที่สุดเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจ การที่ตัวเลข GDP เปลี่ยนแปลงไปจะหมายถึงความเปลี่ยนแปลงของอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งจะบ่งบอกเกี่ยวพันถึงอัตราเงินเฟ้อ การที่ตัวเลข GDP เพิ่มขึ้นจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย
IFO Business Indexes
เป็นผลสำรวจความเชื่อมั่นทางธุรกิจซึ่งเป็นตัวที่ดูเกี่ยวกับภาคธุรกิจของประเทศเยอรมัน ตัวเลขที่สูงหมายถึงเศรษฐกิจที่ดีขึ้น
Initial Weekly Jobless Claims
ประกาศทุกวันพฤหัส จะเป็นข้อมูลของสัปดาห์ปัจจุบันรวมถึงวันศุกร์ที่แล้วด้วย ซึ่งจะบอกถึงการว่างงาน โดยปกติจะสังเกตความเปลี่ยนแปลงได้จากข้อมูลก่อนหน้าย้อนหลังไปราว ๆ 4 สัปดาห์ แล้วมาทำเป็นกราฟ ทั่วไปแล้วหากมีความเปลี่ยนแปลงเกิน 30,000 จะเป็นสัญญาณบอกถึงการจ้างงานที่เปลี่ยนแปลงไป (อาจจะดีขึ้นหรือแย่ลง) ตัวเลขที่เพิ่มมากขึ้นหมายถึงคนว่างงานที่มากขึ้น
Institute of Supply Management หรือ ISM
ตัวนี้จะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงภาคการผลิต ซึ่งรวบรวมข้อมูลอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับ การสั่งซื้อสินค้าใหม่, การผลิต, การจ้างงาน, สินค้าคงคลัง, เวลาในการขนส่ง, ราคา, การส่งออก และการนำเข้า การที่ตัวเลข ISM มีตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจะแสดงถึงเศรษฐกิจที่ดี
ISM Service Index หรือ Non-Manufacturing ISM
ซึ่งเป็นการสำรวจของกลุ่ม การเงิน, ประกันภัย, อสังหาริมทรัพย์, สื่อสาร และ ทั่วไป การที่ตัวเลข ISM เพิ่มขึ้นหมายถึง demand ที่เพิ่มขึ้น
Industrial Production
ซึ่งเป็นตัววัดว่าการผลิตของอุตสาหกรรมได้ผลออกมาจริง ๆ เท่าไร การที่ตัวเลขออกมาสูงขึ้นหมายถึง demand ที่เพิ่มขึ้น
Leading Indicators
เป็นดัชนีเพื่อการพยากรณ์แนวโน้มของเศรษฐกิจโดยรวมซึ่งจะเป็นบทสรุปของตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศไปก่อนหน้านี้ ประกอบไปด้วย New Order, Jobless Claim, Money Supply, Average Workweek, Building Permits และ Stock Prices
Non farm Payrolls
ตัวเลขนี้จะประกาศทุกวันศุกร์แรกของเดือน เป็นตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร เป็นตัวเลขที่ทุกคนจับตาดูมากที่สุดในสถานการณ์การจ้างงาน ถ้ามีการจ้างงานเพิ่มขึ้นเศรษฐกิจก็จะดีขึ้น

Non-Farm Productivity
เป็นตัววัดของผลงานของคนงานและต้นทุนในการผลิตของสินค้า ในสถาวะที่เงินเฟ้อมีความสำคัญตัวเลขนี้สามารถที่จะทำให้ตลาดเคลื่อนไหวได้ โดยถ้าตัวเลขที่ลดลงสามารถบอกถึงอนาคตที่เปลี่ยนไป เช่นตัวเลข GDP ที่ดี แต่ถ้าตัวเลขนี้ขัดกันก็สามารถทำให้ตลาดมีผลกระทบได้ การที่ตัวเลข Non-Farm Productivity เพิ่มขึ้น หมายถึงการยืนยันในเรื่องของพื้นฐานของเศรษฐกิจที่ดี
NY Empire State Index
โดยเป็นการสำรวจจากผู้ผลิต หากตัวเลขมีค่ามากขึ้น จะทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น
Producer Price Index หรือ PPI
PPI จะเป็นตัววัดราคาของสินค้าในมุมมองของการค้าส่ง PPI ที่ไม่รวมพวกอาหารและพลังงานจะเรียกว่า Core PPI ซึ่งจะถูกจับตามองมากกว่า เพราะจะมีผลกับอัตราเงินเฟ้อ เนื่องจาก PPI จะเป็นตัวที่ออกมาก่อน CPI หาก PPI มีค่าสูงมักจะทำให้ CPI มีค่าที่สูงตามไปด้วย และจะนำไปสู่การขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือลดอัตราดอกเบี้ยได้
Personal Income
เป็นตัววัดเกี่ยวกับรายได้ (ไม่สนว่าจะได้มาจากไหน เช่นพวก ค่าเช่า, ได้มาจากรัฐ, เงินเดือน, ดอกเบี้ย หรืออื่น ๆ) โดยตัวนี้จะเป็นตัวชี้ถึงความต้องการในการบริโภคในอนาคต (แต่ไม่เสมอไปนะ เพราะบางทีรายได้ที่มากขึ้น แต่คนอาจจะไม่จับจ่ายใช้สอยก็ได้) ตัวเลข Personal Income ที่สูงจะหมายถึงอำนาจในการซื้อและเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเศรษฐกิจน่าจะดี
Personal Spending
จะเป็นตัวเลขเกี่ยวกับรายจ่ายของบุคคล การจับจ่ายที่ลดลงจะหมายถึงรายได้ที่ลดลง ซึ่งจะทำให้กระแสเงินโดยรวมลดลง (แต่ก็เช่นเดียวกับ Personal Income บางทีการจ่ายลดลงไม่ได้หมายถึงรายได้ที่ลดลง แต่อาจจะไม่อยากจะจับจ่ายก็เป็นได้) ตัวเลขการจับจ่ายที่มากขึ้น จะเป็นสัญญาณที่บ่งว่าเศรษฐกิจดีขึ้น
Personal Consumption Expenditure หรือ (PCE)
PCE จะบอกถึงการอุปโภคบริโภคของภาคครัวเรือน โดย PCE จะบ่งบอกถึงความสามารถในการจับจ่ายของภาคครัวเรือน โดยตัวเลข PCE ที่สูงจะบ่งบอกถึงเศรษฐกิจที่เติบโต ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Philadelphia Fed Survey
โดยการสำรวจนี้จะมองมุมกว้างในทิศทางของภาคการผลิต ซึ่งจะมีความสัมพันธ์ร่วมกับ ISM ที่มองเป็นลักษณะของการผลิตเป็นตัว ๆ ไป โดย Philadelphia Fed Survey จะบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของยุทธวิธีของผู้ผลิต ประกอบด้วย ชั่วโมงการทำงาน, พนักงาน และอื่น ๆ ซึ่งตัววัดตัวนี้มีความสำคัญมากในระบบเศรษฐกิจ
Pending Home Sales
บ้านรอการขาย บอกถึงแนวโน้มในตลาดที่อยู่อาศัยสหรัฐ และการตอบสนองในตลาดที่อยู่อาศัยมักจะแสดงสถานะของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นได้

Retail Sales
โดยจะวัดจากใบเสร็จของการค้าปลีก ซึ่งโดยปกติจะมองในภาพของสินค้า ซึ่งจะไม่สนใจเรื่องของบริการ และอื่น ๆ (เช่นพวกค่าเบี้ยประกัน หรือค่าทนาย) Retail Sales ที่ไม่รวมการซื้อรถ จะเรียกว่า Core Retail Sales โดยการเปลี่ยนแปลงของตัวเลขการขายจะหมายถึงราคาที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ได้หมายถึงความต้องการซื้อที่ลดลง การที่ตัวเลข Retail Sales มีตัวเลขที่สูงหมายถึงเศรษฐกิจที่ดีและแข็งแกร่ง ซึ่งมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น
Trade Balance
โดยการประกาศจะบอกให้รู้ถึงทิศทางของการส่งออกและการนำเข้า ซึ่งตัวเลข Trade Balance จะสามารถคาดคะเนตัวเลข GDP ในอนาคตได้ ตัวเลข Trade Balance จะนำค่าตัวเลข Export ลบกับ ตัวเลข Import หากผลที่ออกมามีค่าเป็น + จะหมายถึงเศรษฐกิจที่ดี และมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย
Treasury International Capital System หรือ TICS
TICS จะรวบรวมข้อมูลของ US เพื่อดูว่าการลงทุนของคน US และ คนต่างชาติเป็นอย่างไรบ้าง โดยหากข้อมูล TICS เป็นตัวเลขที่สูงจะหมายถึงเศรษฐกิจของ US ที่แข็งแกร่ง

University of Michigan Consumer Sentiment Index
โดย Michigan Index จะเปรียบเทียบระหว่างดัชนีสองตัวคือ สิ่งที่คาดหวัง และ สิ่งที่เป็นไปจริง ๆ ถ้าสิ่งที่คาดหวังไว้และสิ่งที่เป็นจริงมีค่าใกล้เคียงกัน หมายถึงเศรษฐกิจเป็นไปในแนวทางเดียวกับที่หวังไว้ ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

Economic Calendar (ปฏิทินเศรษฐกิจ)

BOJ (Bank Of Japan)
BOE Rate Decision ( Bank Of England )

Business Inventories
CPI ( Consumer Price index )
Current Account Balance
Consumer Confidence ( Consumer Sentiment )
Construction Spending
Durable Goods orders
ECB Rate Decision ( Europe Central Bank )
Existing Home sales
Employee Cost Index - Labor Cost Index
FOMC ( Federal open Market committee meeting )
Factory Orders

GDP ( Gross Domestic Production )
Euro-Zone ,German ZEW Indicator of Economic Sentiment

Housing Starts
ISM Manufacturing Index ( Institute of Supply Manager )
ISM Non-Manufacturing Index
Industrial Production & Capacity Utilization
IFO Business Index ( Institute of IFO in Germany )

Leading Indicators
M2 Money Supply - Money Cost
Non farm Payrolls
Non-Farm Productivity

NY Empire State Index - ( New York Empire Index )
New Home Sales
NAPM ( National Association of Purchasing Management)
PPI ( Producer Price Index )
Personal Income

Personal spending
Philadelphia Fed. Survey
Pending Home Sales

PCE Price Deflator ( Personal Consumption Expenditure)
Retail Sales

Trade Balance

Carry Trade คืออะไร?

carry trade คืออะไร
ทำไมต้องมี carry trade และเหตุใดถึงได้เป็นที่นิยมในบรรดานักลงทุน นักเก็งกำไร เฮดจ์ฟันด์ต่างๆ หลายคนคงจะเคยได้ยินคำนี้ แต่บางคนยังไม่ทราบความหมาย และกลไกการทำหน้าที่ของมัน ไปจนถึงความสัมพันธ์ของ carry trade กับอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราดอกเบี้ย มีหลายคนเคยบอกไว้ว่า เจ้า carry trade คือตัวป่วนจอมฉกาจในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนเลยทีเดียว

carry trade คือ การทำธุรกรรมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็งกำไรจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยและผลตอบแทนจากสินทรัพย์ที่ลงทุน โดยการกู้ยืมเงินจากประเทศที่มีดอกเบี้ยต่ำเพื่อไปลงทุนในประเทศที่ให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่า และมีสินทรัพย์ที่น่าลงทุน โดย carry Trade เป็นที่นิยมมากในตลาดเงินโลกในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากมีประเทศหนึ่ง ซึ่งก็คือญี่ปุ่นที่มีดอกเบี้ยต่ำ โดยมีอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพียง 0.50% เป็นสิ่งดึงดูดใจนักลงทุน จึงทำให้เกิด yen carry trade ขึ้นในประวัติศาสตร์การเงินโลก ตัวอย่างเช่นการทำ yen carry trade ก็คือ กองทุน A ไปกู้เงินจากญี่ปุ่นซึ่งมีดอกเบี้ย 0.5% เพื่อนำไปลงทุนในสินทรัพย์ใดๆ ในอีกประเทศหนึ่งซึ่งมีดอกเบี้ยสูงกว่าที่สมมุติเป็น 8.25% แล้วผลที่ได้คือ กำไรจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย และผลตอบแทนจากการลงทุน และถ้าโชคดีค่าเงินสกุลที่ดอกเบี้ยสูงกว่าเกิดแข็งค่าขึ้น ก็จะได้กำไรจากส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยนด้วย

9/10/2009

Bullish Convergence & Bearish Convergence


Convergence Pattern

Convergence หมายถึงการที่ Indicator(ดัชนีชี้วัด) กับ Price(ราคา) เคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งเป็นการสนับสนุนว่า Price(ราคา) จะเคลื่อนไหวไปในทิศทางนั้นต่อไป แบ่งออกเป็น

Bullish Convergence
ถ้า Price(ราคา) มีจุดสูงสุดใหม่ที่สูงกว่าจุดสูงสุดเดิม และ Indicator(ดัชนีชี้วัด) ก็มีจุดสูงสุดใหม่ที่สูงกว่าจุดสูงสุดเดิมเช่นกัน เป็นการบอกแนวโน้ม ว่าPrice(ราคา) จะขึ้นต่อไป


Bearish Convergence
ถ้า Price(ราคา) มีจุดต่ำสุดใหม่ที่ต่ำกว่าจุดต่ำสุดเดิม และ Indicator(ดัชนีชี้วัด) ก็มีจุดต่ำสุดใหม่ที่ต่ำกว่าจุดต่ำสุดเดิมเช่นกัน เป็นการบอกแนวโน้มว่า Price(ราคา) จะลดลงต่อไป

Bullish Divergence & Bearish Divergence



Divergence Pattern
divergence คือการที่สัญญาณเกิดการขัดแย้งกันในระหว่างแนวโน้มของราคากับสัญญาณ indicator แบ่งออกเป็น bullish divergence และ bearish divergence


Bullish Divergence
เป็นสัญญาณการขัดแย้งของแนวโน้มราคาขาลงซึ่งเป็นสัญญาณเตือนว่าราคาใกล้จะขึ้นแล้ว คือ เมื่อราคาสามารถลงทำ new low ใหม่ได้ แต่สัญญาณ indicator เช่น rsi, macd, stochastic ไม่สามารถลงทำ new low ใหม่ได้
เงื่อนไขการเกิด bullish divergence ทีดีคือ สัญญาณขัดแย้งของ indicator จะต้องอยู่ในเขต Oversold มีการขายมากเกินไป จะมีโอกาสเป็นไปตามเงื่อนไขสูงกว่า bullish divergence ที่ไม่ได้เกิดในเขต Oversold


Bearish Divergence
เป็นสัญญาณการขัดแย้งของแนวโน้มราคาขาขึ้นซึ่งเป็นสัญญาณเตือนว่าราคาใกล้จะลงแล้ว คือเมื่อราคาสามารถขึ้นทำ new high ใหม่ได้ แต่สัญญาณ indicator เช่น rsi, macd, stochastic ไม่สามารถขึ้นทำ new high ใหม่ได้
เงื่อนไขการเกิด bearish divergence ที่ดีคือ สัญญาณขัดแย้งของ indicator จะต้องอยู่ในเขต Overbought มีการซื้อมากเกินไป จะมีโอกาสเป็นไปตามเงื่อนไขสูงกว่า bearish divergence ที่ไม่ได้เกิดในเขต Overbought

สัญญาณลวง Divergence
ในบางครั้ง divergence อาจเกิดได้มากกว่า 1 ครั้ง ดังนั้น จึงต้องใช้ value volume ช่วยสังเกต กล่าวคือ บางครั้งเกิดสัญญาณ divergence ที่เด่นชัดแต่ อยู่ดีๆ มี volume หรือ value มาดันราคาจนราคาเพิ่มหรือทุบลงมาจนราคาลดลง จนทำให้ สัญญาณที่เกิด divergence นั้นเสียไป หรือบางกรณี มีแรงซื้อหรือแรงขายหนาแน่น จนทำให้ indicator อยู่สูงอยู่ตลอดเวลา ราคาก็ขึ้นหรือลงไปไม่หยุด

8/24/2009

Moving Average, Stochastic, RSI, MACD


Moving Average

คือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ เป็นเครื่องมือในการติดตามแนวโน้มราคาว่าใกล้จะสิ้นสุดหรือกำลังจะเปลี่ยนแนวโน้มใหม่หรือยัง


สัญญาณซื้อและสัญญาณขาย
สัญญาณซื้อ เกิดขึ้นเมื่อราคาตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของตัวมันเองจากข้างล่างขึ้นข้างบน หรือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่มีระยะเวลาสั้นกว่าได้ตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่มีระยะเวลายาวนานกว่า จากข้างล่างขึ้นข้างบน
สัญญาณขาย เกิดขึ้นเมื่อราคาตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของตัวมันเองจากข้างบนลงข้างล่าง หรือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่มีระยะเวลาสั้นกว่าได้ตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่มีระยะเวลายาวนานกว่า จากข้างบนลงข้างล่าง


การอ่านสัญญาณจากเส้นค่าเฉลี่ยสองเส้น ถ้าเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นตัดลงผ่านเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาวให้ขาย และถ้าเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นตัดขึ้นผ่านเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาวให้ซื้อ
นอกจากนี้ ตัวของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เองยังสามารถเป็นได้ทั้งแนวรับและแนวต้าน คือ ในตอนที่ราคากำลังขึ้นเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่จะทำหน้าที่เป็นแนวรับ ถ้าราคาเปลี่ยนทิศทางและตกต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่เป็นแนวรับแสดงว่าแนวโน้มได้เปลี่ยนแล้วเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่จะกลับมาอยู่เหนือราคาและกลายเป็นแนวต้านไป


รูปแบบของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่
1.Simple Moving Average (SMA)เป็นชนิดที่ง่ายที่สุด อาศัยวิธีหาค่าเฉลี่ยแบบเลขคณิตเข้ามาคำนวณและข้อมูลแต่ละตัวถูกให้น้ำหนักที่เท่าๆกัน
2.Linear Weighted Moving Average (WMA) เป็นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบถ่วงน้ำหนักแบบหนึ่ง ที่นำเอาวิธีทางสถิติมาปรับให้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาเร็วขึ้น โดยการจัดสรรน้ำหนักให้แก่ข้อมูลแตกต่างกัน ข้อมูลที่เพิ่งเกิดขึ้นล่าสุด จะได้รับการถ่วงน้ำหนักมากกว่าข้อมูลในอดีตนานมาแล้ว
3.Exponential Moving Average (EMA) เป็นการคำนวณค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบถ่วงน้ำหนักที่ซับซ้อนมากขึ้นกว่าแบบ Weighted Moving Average แบบธรรมดา โดยมีการนำเอาค่าความผิดพลาดจากการพยากรณ์มาปรับค่าเฉลี่ยตัวต่อไปให้ถูกต้องมากขึ้น
ระยะเวลาหรือจำนวนวันที่ใช้ในการคำนวณ Moving Average
จำนวนวันที่ใช้กันบ่อยๆสำหรับค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ มักจะใกล้เคียงกับรอบระยะเวลาทางปฏิทิน ซึ่งที่นิยมใช้กันก็คือ 20, 25, 50, 75, 100, 200 นอกจากนี้ก็อาจมีการใช้จำนวนวันให้เร็วขึ้นอีกเพื่อผลในการซื้อขายวันต่อวันเช่น 5, 10 เป็นต้น ทั้งนี้การใช้จำนวนวันที่สั้นลงจะทำให้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เคลื่อนไหวได้เร็วขึ้น ซึ่งจะทำให้สามารถส่งสัญญาณซื้อขายได้รวดเร็ว แต่ก็มีข้อเสียคือสัญญาณที่เกิดขึ้น อาจจะเป็นสัญญาณปลอมอันเป็นผลมาจากการที่มันเคลื่อนที่เร็วเกินไปนั่นเอง จำนวนวันที่จะเลือกใช้กับระบบค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่นี้ขึ้นอยู่กับว่า คุณกำลังเล่นกับตลาดในระยะสั้นหรือระยะยาว

Stochastic Oscillator

เป็นเครื่องมือที่นิยมใช้กันมากสำหรับตลาดที่แกว่งตัวแบบ Sideway และสำหรับคนที่ชอบเข้าออกเร็ว

จังหวะในการซื้อขาย
เส้นเกณฑ์ที่จะกำหนดเขตซื้อมากเกินไปหรือขายมากเกินไป จะอยู่ที่เส้น 80 และเส้น 20
ให้ซื้อเมื่อ Oscillator ปรับตัวลงต่ำกว่าระดับ 20 และกำลังกลับขึ้นมาอยู่เหนือระดับ 20
ให้ขายเมื่อ Oscillator ปรับตัวขึ้นมาเหนือระดับ 80 และกำลังจะวกตัวกลับลงมาตัดระดับ 80


RSI (Relative Strength Index)

เป็น Indicator ที่ได้รับการพัฒนาโดยนาย J. Welles Wilder โดยมีพื้นฐานมาจาก Momentum ค่าที่นิยมใช้มี 4, 9, 14 วัน นอกจากนี้ RSI ยังเป็นเครื่องมืออันหนึ่งที่ใช้วัดความแข็งแกร่งของราคาว่าขึ้นลงในลักษณะที่มีแรงหนุนหรือมีความเฉื่อยมากน้อยเพียงใด ค่า RSI จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0 – 100
กฎเกณฑ์ที่ใช้กับ RSI
1.Overbought , Oversold
เขตที่จัดว่า Overbought นั้นปกติจะกำหนดไว้ที่ระดับสูงกว่า 70 ขึ้นไปซึ่งหมายความว่าราคาได้ขยับตัวขึ้นไปสูงมากและมีการซื้อมากเกินไปแล้ว สามารถใช้เป็นสัญญาณขายได้ เมื่อตลาดแกว่งตัวแบบ Sideway
เขตที่จัดว่า Oversold นั้นปกติจะกำหนดไว้ที่ระดับต่ำกว่า 30 ลงมาซึ่งหมายความว่าราคาได้ขยับตัวลงมาต่ำมากและมีการขายมากเกินไปแล้ว สามารถใช้เป็นสัญญาณซื้อได้ เมื่อตลาดแกว่งตัวแบบ Sideway

2.การเกิดกรณีที่เรียกว่า Divergence ตัวอย่างเช่นราคาได้วิ่งขึ้นผ่านยอดสูงสุดเดิมก่อนหน้านี้ได้(สามารถทำ highใหม่ได้) ขณะที่ RSI เองนั้นไม่สามารถวิ่งขึ้นผ่านยอดสูงสุดเดิมก่อนหน้านี้ได้ (ไม่สามารถทำ high ใหม่ได้) ซึ่งจะเป็นสัญญาณเตือนล่วงหน้าว่ามีโอกาสที่ราคาจะมีการปรับตัวลงมาได้ในอนาคต ทั้งนี้เป็นเพราะRSI เป็นตัววัดแรงส่ง ซึ่งแม้ว่าราคาจะยังคงสูงขึ้นแต่ RSI อาจจะลดลงตามความเฉื่อยของราคาได้ ในทางกลับกันราคาสามารถทำ low ใหม่ได้ แต่ RSI ไม่สามารถทำ low ใหม่ได้ก็จะเป็นสัญญาณเตือนล่วงหน้าว่ามีโอกาสที่ราคาจะมีการปรับตัวขึ้นได้ในอนาคต
3.RSI ยังใช้บอกยอดของคลื่น3และคลื่น b (คือคลื่นที่RSI พุ่งขึ้นสูงสุดอย่างแรง) ในทฤษฎีของ Elliot Wave

MACD (Moving Average Convergence Divergence)

MACD เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการตัดสินใจเรื่องการเปลี่ยนแนวโน้มของคลื่นได้ดีและ ถูกยกย่องให้เป็นราชาของเครื่องมือวัด เพราะมีความน่าเชื่อถือค่อนข้างสูง
MACD ปกติจะใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ระหว่าง EMA12 กับ EMA26 แล้วรวมกันกลายเป็น MACD-line (เส้นสีขาวทึบ) และจะมีเส้น trigger-line (เส้นสีแดง) เพื่อทำการเปรียบเทียบขึ้นมาอีก 1 เส้น นั่นก็คือ EMA9 วัน
ซึ่งจะบอกได้ว่า ณ ตอนนั้นราคาอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นหรือขาลง รวมถึงการเคลื่อนที่ตัดกันระหว่าง MACD-line กับเส้น trigger-line

การใช้ MACD ดูการเปลี่ยนแนวโน้ม
1.หากเส้น MACD เคลื่อนที่ตัดเส้น 0 ขึ้นไปหมายถึงตลาดเริ่มเข้าสู่ขาขึ้น ซึ่งใช้เป็นสัญญาณ(ซื้อ)ได้
หากเส้น MACD เคลื่อนที่ตัดเส้น 0 ลงมาหมายถึงตลาดเข้าสู่ภาวะขาลง เป็นสัญญาณ(ขาย)ได้
2.เมื่อเส้น MACD-line (เส้นสีขาวทึบ) ตัด เส้น trigger-line (เส้นสีแดง) ขึ้นไปแสดงว่าทิศทางตลาดกำลังจะกลับเป็นขาขึ้นใช้เป็นสัญญาณซื้อได้ (ควรจะเกิดที่จุดต่ำสุด)
เมื่อเส้น MACD-line (เส้นสีขาวทึบ) ตัด เส้น trigger-line (เส้นสีแดง) ลงมาแสดงว่าทิศทางตลาดกำลังจะกลับเป็นขาลงใช้เป็นสัญญาณขายได้ (ควรจะเกิดที่จุดสูงสุด)

3. การเกิด divergence คือความสัมพันธ์ระหว่างราคากับสัญญาณเครื่องมือทางเทคนิคไม่สัมพันธ์กัน
กรณีที่ราคาสามารถทำ high ใหม่ได้ แต่ MACD ไม่สามารถทำ high ใหม่ได้ก็จะเป็นสัญญาณเตือนล่วงหน้าว่ามีโอกาสที่ราคาจะมีการปรับตัวลงได้ในอนาคต
กรณีที่ราคาสามารถทำ low ใหม่ได้ แต่ MACD ไม่สามารถทำ low ใหม่ได้ก็จะเป็นสัญญาณเตือนล่วงหน้าว่ามีโอกาสที่ราคาจะมีการปรับตัวขึ้นได้ในอนาคต

เราสามารถใช้เครื่องมือหลายชนิดมารวมกันเพื่อหาสัญญาณซื้อและสัญญาณขายได้

8/20/2009

ความสัมพันธ์ของ Elliott Wave


"ความสัมพันธ์ของ Elliott Wave "
Elliott Wave ประกอบด้วยลูกคลื่นในขาขึ้น 5 ลูก ( 1-2-3-4-5) และลูกคลื่นในขาลง 3 ลูก (a-b-c) ในช่วงขาขึ้นเราเรียกว่า Impulse ส่วนขาลงเราเรียกว่า Correction โดยหากเป็นช่วงตลาดหมี ขาลงก็จะกลับกัน คือลง 5 ลูก ขึ้น 3 ลูกแทน และในคลื่นนึง ก็จะประกอบด้วยคลื่นเล็กๆ เสมอ

จะดูยังไงว่าคลื่นไหนเป็นคลื่นไหน
คลื่นที่ 1
ไม่มีใครกะได้ว่า จะจบตรงไหน เพราะเพิ่งเริ่มคลื่นใหม่ เราทำได้ คือรอให้มันจบคลื่น 1 ก่อน แต่อย่างน้อยที่สุด คลื่นย่อยในคลื่น 1 ควรจะประกอบด้วย 5 คลื่น ไม่ใช่ 3 คลื่น หากนับได้ 3 คลื่นเมื่อไหร่ ตีความได้ว่าการ correction ของคลื่นรอบที่ผ่านมา ยังไม่จบจริง เป็นเหตุให้ไม่ค่อยมีใครกล้าเข้าในคลื่น 1 นั่นเอง
คลื่นที่ 2
จบเมื่อไหร่ จึงจะรู้ว่า คลื่นลูกเมื่อกี๊น่ะ คลื่นที่ 1
คลื่น 2 จะไม่ต่ำกว่าคลื่น 1 ปกติ เมื่อจบคลื่น 2 เราก็จะใช้ก้นคลื่น 2 ในการหาเป้าหมายคลื่น 3 ได้ตามหลัก คลื่น 2 มักจบแถว 61.8% หรือ 78.6% โดยหากเด้งขึ้นจากแถวนี้ได้แรงๆ ผ่านยอดคลื่น 1 มาได้ เราก็คาดได้ว่า นั่นน่าจะเป็นขา 2 และกำลังขึ้นคลื่นลูกที่ 3 ต่อ
คลื่น 3 สุด hot
ใครๆก็รอขา 3 เพราะขา 3 มักจะยาวและทำกำไรได้มาก และความเสี่ยงต่ำที่สุด แต่กว่าจะรู้ว่าเป็นขา 3 บางทีมันก็เดินทางมาครึ่งทางแล้วครับ ตัวคลื่น 3 เอง ก็ประกอบด้วยคลื่นย่อยในตัว 5 คลื่น กว่าเราจะเห็นชัดๆว่า นี่คือคลื่น 3 ก็ต่อเมื่อเราจบคลื่น 2 ของ 3 และกำลังเข้าคลื่นย่อยขา 3 ของคลื่นหลักขา 3 แล้ว ทฤษฎีมีว่า ขา 3 มีโอกาสขึ้นมาได้อย่างน้อย 161.8% เมื่อวัดจากยอดขา 1 ถึง ขา 2 และหากแรงๆ ก็จะไป 261.8% หรือกระทั่ง 423.6% ก็ได้
คลื่น 4 คืนกำไร
คลื่นลูกนี้ไม่ค่อยแนะนำให้เล่น เพราะคาดการณ์ยากครับ ตามทฤษฎีบอกว่า ขา 4 จะลงไม่ถึงขา 1แต่บางครั้ง มันก็อาจจะลงมาต่ำกว่าขา 1 นิดหน่อยเหมือนกัน
คลื่น 5 คนกล้า
เพราะเป็นคลื่นที่ไม่มีความแน่นอน พร้อมที่จะล้มเหลวเมื่อไหร่ก็ได้ จึงเป็นคลื่นที่ไม่มีแรง คลื่นสำหรับคนตกขบวนที่เข้าไม่ทันในคลื่น 3 ลองเข้ามาเสี่ยงทำกำไรเล็กน้อย ก่อนการปรับฐาน
คลื่น a ปรับฐาน
เป็นคลื่นแรกของการปรับฐาน ที่อาจรุนแรงรวดเดียว หรือเพียงเบาะๆก็ได้ คลื่น a กับ คลื่น c เป็นคลื่นขาลงเหมือนกัน แต่ปกติหากมีคลื่นอันใดอันหนึ่งที่ยาว อีกอันก็จะสั้นๆครับ
คลื่น b ถอนตัว
จบคลื่น a ราคามักจะดีดกลับขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะบางคนก็เชื่อว่า การปรับฐานจบแล้ว บางคนก็เชื่อว่า ที่ผ่านมา คงเป็นแค่คลื่น 3 ขอเล่นคลื่น 5 ต่อ คุณสมบัติของคลื่น b ต้องดูสัญญาณประกอบครับ โดยเฉพาะ Stoch กับ Rsi มักขึ้นมาเร็วมาก ราคาอาจสูงกว่าหรือต่ำกว่าคลื่น 5 ก็ได้ ให้ดูสัญญาณเป็นสำคัญ และรีบถอนตัวเมื่อยอดสัญญาณเลยยอดสัญญาณของคลื่น 5
คลื่น c ปรับฐาน
การ correction หรือการปรับฐาน จะจบด้วยขา c โดยขา c มักจบที่ 78.6% เมื่อวัดจากยอดคลื่น 5 ถึงฐานของคลื่น 1 หากลึกกว่านั้น แปลว่าตลาดอาจกลับสภาวะจากกระทิงเป็นหมีไปแล้วก็ได้
RSI นับคลื่น
ให้ดูยอดคลื่นที่สูงที่สุดของ RSI เทียบกับยอดคลื่นราคาครับ ยอดคลื่น RSI ที่สูง จะตรงกับคลื่น 3 และคลื่น b เสมอ
ต้องใช้หลายๆ อย่างประกอบรวมเข้าด้วยกัน
- การดูความสัมพันธ์กันของ Elliott Wave ในแต่ละ Timeframe
- ความสัมพันธ์ของ Oscillator Indicators ที่บอก Overbought , Oversold ในแต่ละ Timeframe
- การใช้ Fibonacci ในการหา TP และความน่าจะเป็น ในการกลับตัวของ Trend
- Support - Resistance หลักๆ ของวัน และในแต่ละ Wave
- และก็ดูแนวโน้มของตลาด , อารมณ์ของตลาด และสำคัญอารมณ์ของตัวเราเองครับ

บทสรุป ELW

1 Elliott wave เป็นเครื่องมือ ชนิดหนึ่ง เพื่อใช้คาดหมายพฤติกรรมของตลาด หรือความน่าจะเป็น ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แม้ บางครั้ง Elliott wave สามารถคาดการณ์สิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นได้ล่วงหน้าได้แม่นยำอย่างน่าอัศจรรย์ แต่ก็ไม่ได้เป็นจริง หรือถูกหมดทุกครั้ง ต้องอาศัยการแก้ไขเมื่อความจริงปรากฏ

2. Elliott wave จะมีประโยชน์อย่างเต็มที่เมื่อนำมาใช้ อย่างง่ายๆ เช่นการดูว่าขณะนี้เป็น Impulse หรือ Corrective wave เพื่อตัดสินใจดำเนินการไปตามแนวทางนั้น

3. ใช้ความน่าจะเป็นให้เป็นประโยชน์ แทนการตัดสินใจด้วยอารมณ์ การต่อสู้ในตลาด นอกจากจะต้องต่อสู้กับนักลงทุนอื่นๆแล้ว สิ่งที่ยากยิ่งคือการต่อสู้กับอารมณ์ของตัวเอง

4. เมื่อจะเข้าถือ position ต้องให้รู้ว่าเพราะอะไร ทำไมจึงควรทำเช่นนั้น การ Enter/Exit จากสถานะเดิม มีอะไรเป็นตัว Trigger อะไรเป็นตัวก่อให้เกิดสัญญาณนั้น

8/19/2009

Scalping คืออะไร?

คือการเทรดสั้นๆ (มากๆ) เข้าเร็ว ออกเร็ว เน้นช่วงกราฟแรงๆ ครับ

Market Time

8/15/2009

การตั้ง order Stop กับ Limit

Buy Stop คือราคาที่เราต้องการซื้อ Buy นั้นอยู่เหนือราคาปัจจุบัน ใช้ในกรณีที่เรามองว่า ต้องผ่านแนวต้านนี้ไปก่อน เราจึงจะเข้า ซื้อ Buy เราก็ set order Buy Stop ไว้ตรงราคานั้น

Buy Limit คือราคาที่เราต้องการซื้อ Buy นั้นอยู่ต่ำกว่าราคาปัจจุบัน ใช้ในกรณีที่เรามองว่าจุดที่เราจะซื้อ Buy นั้น เป็นจุดต่ำสุด แล้วเราก็ set order Buy Limit ไว้ตรงราคานั้น

Sell Stop คือราคาที่เราต้องการ ขาย Sell นั้น อยู่ต่ำกว่าราคาปัจจุบัน ใช้ในกรณีที่เรามองว่า ต้องผ่านแนวรับนี้ไปก่อน เราจึงจะเข้าขายย Sell เราก็ set order Sell Stop ไว้ตรงราคานั้น

Sell Limit คือราคาที่เราต้องการขาย Sell นั้นอยู่เหนือราคาปัจจุบัน ใช้ในกรณีที่เรามองว่าจุดที่เราจะขาย Sell นั้นเป็นจุดสูงสุดแล้วเราก็ set order Sell Limit ไว้ตรงราคานั้น

8/14/2009

วิธีการซื้อ-ขาย

เมื่อคุณวิเคราะห์ออกมาแล้วว่าค่าเงินจะขึ้น ควรซื้อเก็บไว้ทำกำไร เมื่อค่าเงินขึ้นหมายถึงมีราคาสูงขึ้น ค่าเงินที่คุณถือไว้ก็จะมีราคาสูงขึ้นและจะมีกำไรเมื่อขายออก ลักษณะนี้เรียกว่าการเล่นแบบ Long แต่หากคุณวิเคราะห์ว่าค่าเงินจะตก คุณควรขายค่าเงินที่ถืออยู่ออกไป เพื่อป้องกันการขาดทุน หรืออาจจะทำการขายโดยที่คุณไม่ต้องมีค่าเงินถืออยู่ ซึ่งเป็นการเล่นแบบ Short เมื่อค่าเงินตกหรือลดราคาลง คุณก็จะได้กำไร เนื่องจากคุณขายทำกำไรที่ราคาสูง แต่คุณปิดการขายหรือจ่ายคืนที่ราคาต่ำ ทำให้คุณได้กำไรจากส่วนต่างนี้ทันที ดังนั้นในการเล่นจะต้องนำผลการวิเคราะห์มากำหนดพฤติกรรมการซื้อ-ขายของเราให้ทำกำไรได้ และป้องกันการเสียหายจากการขาดทุน หากคุณมีความรู้และมีความสามารถในการวิเคราะห์ที่ดีแล้ว คุณก็มีโอกาสในการทำเงินในตลาด นี้ได้แน่นอนครับ

การเล่น Buy (ซื้อ) หรือการเล่น Longการเล่นในลักษณะนี้นั้นคือวิธีเดียวกับการเล่นหุ้นทั่วไป คือเมื่อเราซื้อที่ราคาหนึ่ง แล้วต่อมาราคาได้ขยับขึ้นไปสูงกว่าราคาที่ซื้อมา เมื่อเราขายออกย่อมทำกำไรจากราคาที่สูงขึ้น

การเล่น Sell (ขาย) หรือการเล่น Shortการเล่นในลักษณะนี้คือการเล่นโดยที่เมื่อเราเข้าทำการขายที่ราคาหนึ่ง แล้วราคาลดลงเราจะได้กำไร เนื่องจากการเล่นในลักษณะนี้นั้นคือการยืมตัวค่าเงินที่เราต้องการมาจากโบรกเกอร์ แล้วทำการขายออกที่ระดับราคาหนึ่ง จากนั้นเมื่อราคาได้ลดลงไป เราจึงสามารถซื้อตัวค่าเงินนั้นๆกลับคืนให้โบรกเกอร์ในราคาที่ต่ำลง เราจึงได้กำไรจากส่วนต่างจากที่เราทำการขายไป

สำหรับการเล่นทั้งสองแบบนั้น ในปัจจุบันสามารถทำได้ง่าย เพียงแค่เลือกลักษณะการเล่นจากในโปรแกรมที่เราใช้เล่นอยู่ว่าจะเลือก Buy หรือ Sell เท่านั้นก็เป็นอันเสร็จ ซึ่งสะดวกและรวดเร็วมาก

8/13/2009

เราจะเริ่มต้นอย่างไร?

ในตลาด ซื้อขายเงินตราต่างประเทศ จะต่างจากหุ้น ตรงที่ เราจะดูกันเป็น “คู่” ครับ ยกตัวอย่างเช่น EUR/USD คือการเปรียบเทียบระหว่างเงินยูโร กับเงินดอลลาร์ ค่าเงินด้านซ้ายเราเรียกว่า base currency โดยเรามักจะเห็นราคา ซื้อ-ขาย มี 2 ราคา อย่างนี้ครับ EUR/USD ราคาBid= 1.4000 ราคาAsk= 1.4004 เมื่อเราต้องการซื้อจะได้ราคา Ask=1.4004 เมื่อเราต้องการขายเราจะได้ราคา Bid= 1.4000 มันก็คือราคาซื้อกับราคาขายนั่นเอง

ข้อดีของตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศ คือ เราสามารถซื้อขายได้ทั้งขาขึ้นและขาลง

ถ้าเราสั่ง ซื้อ (เรียกว่า Buy หรือ Long) เราจะได้ราคาที่ Ask=1.4004 และเมื่อเราสั่งปิด order นี้ เราจะได้ราคาที่ Bid=1.4000
การ Buy คือการที่เราซื้อมาถือไว้ เพื่อรอราคาให้สูงขึ้น และเราจะปิด order นี้ โดยการ Sell คืน


เมื่อเราสั่ง ขาย (เรียกว่า Sell หรือ Short) เราจะได้ราคาที่ Bid=1.4000 และเมื่อเราสั่งปิด order นี้ เราจะได้ราคาที่ Ask=1.4004
การ Sell คือการที่เราขายออกไปก่อน เพื่อรอราคาตกลงมา และเราจะปิด order นี้ โดยการ Buy คืน


สมมุติว่า เราพิจารณาแล้ว เราเห็นว่า EUR น่าจะแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับ USD (คือ EUR จะแลก USD ได้มากขึ้น เมื่อเวลาผ่านไป) เราจะทำการเข้า ซื้อ Buy โดยที่เราจะได้ราคา Ask=1.4004 เมื่อเวลาผ่านไป ราคาวิ่งขึ้นไป ที่ 1.4054 หรือขึ้นมา 50 จุด แล้วเราต้องการขายเราจะได้ราคา Bid=1.4054 เท่ากับเราจะได้กำไรทั้งหมด 50จุดครับ

สรุป
เมื่อเราซื้อ Buy เราจะได้ราคาที่ Ask เมื่อเราต้องการปิดorder โดยการ Sell คืน เราจะได้ราคาตรงข้ามคือราคาที่Bid
เมื่อเราขาย Sell เราจะได้ราคาที่ Bid เมื่อเราต้องการปิดorder โดยการ Buy คืน เราจะได้ราคาตรงข้ามคือราคาที่ Ask

8/12/2009

จุดเด่นและความน่าสนใจของตลาด

1. ใช้เงินลงทุนต่ำหรือแค่บางส่วนของเงินจำนวนเต็มเช่นใช้แค่ 1ส่วนจากจำนวนจริง100ส่วน
2. เป็นตลาดที่ทำการซื้อขาย online และดำเนินการทุกอย่างผ่าน Internet ตลอด 24 ชั่วโมงตั้งแต่วันจันทร์-วันศุกร์หยุดเสาร์อาทิตย์
3. การส่งคำสั่งซื้อ-ขาย เป็นระบบอัตโนมัติ ไม่มีคนกลาง ไม่่พลาดทุกคำสั่งซื้อ-ขายที่ต้องการ
4. สามารถทำกำไรได้ทั้งตลาดช่วงขาขึ้น และตลาดช่วงขาลง
5. ค่าดำเนินการต่ำ โบรกเกอร์เก็บค่า spread ตั้งแต่ 1 – 10 pips ต่อเทรด ขึ้นอยู่กับคู่ของค่าเงินที่เทรด
6. มีเงินปลอมให้ทดลองเทรดได้เสมือนจริง บนระบบจริง โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดใดทั้งสิ้น

8/11/2009

พื้นฐานตลาดการเงินระดับโลก

การซื้อขายในตลาดเงินตราต่างประเทศ ในที่นี้นั้นคือการเก็งกำไร เมื่อซื้อเก็บไว้ แล้ว ถ้าราคาขึ้นคือมีราคาสูงขึ้น เมื่อเราขายออกก็มีกำไร ถ้าราคาตกหรือมีราคาลดลง เมื่อขายออกก็ขาดทุน แต่ยังมีวิธีการเล่นอีกอย่าง คือ การขายออก เป็นการขายค่าเงินออกโดยที่เราไม่ได้ถือค่าเงินนั้นๆไว้ คล้ายๆกับการที่เรายืมค่าเงินมาขายออกก่อนในช่วงที่ค่าเงินมีราคาสูง คือได้ราคาดี จากนั้นเมื่อค่าเงินตกหรือมีราคาต่ำลง เราค่อยซื้อกลับคืนมา ซึ่งเท่ากับว่าได้จ่ายค่าเงินนั้นกลับไปในราคาที่ต่ำลง ทำให้เราได้กำไรจากส่วนต่าง ดังนั้น นักลงทุนที่ดีจึงสามารถทำเงินได้ในตลาด เงินตราต่างประเทศ ทั้งขาขึ้นและขาลง โดยไม่ต้องรอหวังว่าตลาดจะขึ้นอย่างเดียว

ความรู้พื้นฐานในการวิเคราะห์จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้เราปลอดภัยในการซื้อขายในตลาดเงินตราต่างประเทศ ซึ่งการวิเคราะห์นั้นมีอยู่ 2 ชนิดใหญ่ๆ ดังนี้

1. การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis)
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเป็นการวิเคราะห์ภาวะทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ซึ่งมีผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ และค่าเงินของประเทศนั้นๆ ซึ่งประเทศไหนเศรษฐกิจดี ค่าเงินก็ดีขึ้นตาม อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ทำให้มีอัตราแลกเปลี่ยนที่สูงขึ้น ซึ่งเราสามารถติดตามสภาพพื้นฐานนี้ได้จากข่าวต่างๆ แต่วิธีการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานไม่สามารถบอกถึงจังหวะการเข้าซื้อขายได้

2. การวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis)
การวิเคราะห์ทางเทคนิคคือการหาแนวโน้มการเคลื่อนไหวของราคาจากทางเดินของกราฟ ซึ่งมีวิธีการที่หลากหลายมาก อาศัยหลักวิชาการทางสถิติ ความน่าจะเป็น และหลักจิตวิทยามาวิเคราะห์ เนื่องจากความเชื่อว่าราคาหลักทรัพย์มักจะเคลื่อนที่ไปตามแนวโน้มอย่างเป็นแบบแผน ในช่วงเวลาหนึ่งๆ จนกว่าจะเปลี่ยนแปลงเข้าสู่แนวโน้มใหม่ สามารถวิเคราะห์ได้เร็วกว่าการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน เพราะต้องใช้ข้อมูลน้อย ใช้เพียงราคาและปริมาณการซื้อขายในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น


ในการวิเคราะห์ที่ดีนั้น ควรใช้การวิเคราะห์ทั้งสองอย่างประกอบกันในการตัดสินใจ

8/10/2009

ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ คืออะไร ???

ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราสากล “Foreign Exchange Market” เป็นสถาบันตลาดการเงินที่ใหญ่สุดในโลก ด้วยปริมาณการซื้อขายเกิน 4 ล้านล้านเหรียญต่อวัน ถ้าเราเปรียบกับ 25 ล้านเหรียญ ต่อวัน ของปริมาณการซื้อขายของตลาดหุ้นนิวยอร์ค คุณจะเห็นความมหึมาของตลาดเงินตราสากล ความจริงแล้วมันก็ประมาณ 3 เท่าของตลาดหุ้นทุกชนิดในโลกรวมกัน นี่คือความยิ่งใหญ่ของตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศ

ใช้อะไรในการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ

คำตอบที่ง่ายที่สุดก็คือ เงิน ตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศ เป็นตลาดที่ทำการซื้อเงินหนึ่งสกุลและขายเงินอีกหนึ่งสกุลได้ในทันที สกุลเงินสามารถค้าขายโดยผ่ายตัวแทน โบรกเกอร์ (Broker) หรือ ตัวแทน (Dealer) และซื้อขายกันเป็นคู่ต่างสกุลเงิน ยกตัวอย่างเช่น เงินดอลลาร์(us)กับเงินยูโร , เงินดอลลาร์(us)กับเงินปอนด์ อังกฤษ หรือเงินดอลลาร์(us)กับ เงิน เยน ญี่ปุ่น

โดยทั่วไปแล้วอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินต่ออีกสกุลเงินหนึ่ง สะท้อนถึงสถานภาพของเศรษฐกิจของประเทศนั้น เปรียบเทียบ กับอีกประเทศหนึ่ง ไม่เหมือนตลาดหุ้น (Stock Market) ของนิวยอร์ค ตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ไม่มีสถานที่ตั้งหรือศูนย์กลาง หรือสำนักงานใหญ่ เหมือนตลาดหุ้นอื่น ตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ถูกจัดอยู่ในประเภท Over the Counter (OTC) หรือ ธนาคาร “Interbank” ด้วยความจริงที่ว่าตลาดทั้งหมดเดินด้วยการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ ภายในเครือข่ายของธนาคาร ตลอด 24 ชั่วโมงก่อน ปี ค.ศ. 1990 เฉพาะเศรษฐี และ องค์กรใหญ่ ๆ เท่านั้น ที่สามารคเข้าเทรดในตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศ นี้ได้ คุณสมบัติขั้นต่ำคือคุณต้องมี 50,000,000.– (ห้าสิบล้าน)เหรียญสหรัฐ เพื่อเริ่มต้นที่จะเข้าทำการเทรด แรกทีเดียว ตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ถูกจัดให้เป็นตลาดที่ใช้โดยธนาคาร และ องค์กรใหญ่ ๆ เท่านั้น ไม่ได้มีไว้ให้พวกเราเข้าเทรดเล่นๆหรอกนะ อย่างไรก็ตามความก้าวหน้าทางอินเตอร์เน็ต การเทรดในตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ได้ถูกจัดโดยเอเยนซี่ต่างๆ ให้เข้าทำการเทรดได้ ด้วยบัญชีรายย่อย สำหรับพวกเรา ๆ ท่าน ๆ

7/15/2009

เติมพลังให้ชีวิต2

มีวินัยในการฟังหัวใจของคุณ แล้วกล้าทำตาม
รอน โปแลค นักบำบัดเชิงพลังงาน วัย 72 ปี


จงเบิกบานและสุขสำราญมากเท่าที่คุณทำได้โดยไม่ไปทำร้ายผู้อื่น
ลี ปูลอส นักจิตวิทยา วัย 78 ปี


เป็นตัวของตัวเองโดยพร้อมมูล และจงฟังราวกับว่าคุณรักคนๆ นั้น
จงวาดวิสัยทัศน์เกี่ยวกับอนาคตของคุณ ให้ภาพนั้นสอดคล้องกับ

ตัวตนของคุณ ทั้งยังเป็นภาพที่สามารถสร้างความต่างแก่โลกใบนี้
และจงให้ค่าแก่ทุกห้วงขณะที่คุณมีชีวิตอยู่
โจแอล บาร์เกอร์ นักประพันธ์และนักอนาคตวิทยา วัย 62 ปี


สนใจใคร่รู้และเคารพผู้อื่นให้มากเท่าที่คุณทำได้
พยายามหาวิธีแปลกๆ ใหม่ๆ ที่จะสร้างความตื่นเต้นแก่ความสัมพันธ์
จงสร้างสรรค์เข้าไว้
ซูซาน แซมมวลส์-เดรค วัย 68 ปี


หาเส้นทางของคุณให้พบและอย่าหันเหไปไหน
วิลเลี่ยม บริดเจส นักประพันธ์ วัย 73 ปี


ชำระเงินตามใบแจ้งหนี้! อย่าให้เงินเป็นเป้าหมายของชีวิตคุณ
จงบริหารเงินของคุณ เลือกงานที่คุณทำแล้วมีความสุข
เพราะคุณจะต้องใช้เวลามากมายในการทำงานนั้น
เมย์ วัย 72 ปี


อย่าอยู่เฉย อย่าเบื่อ หาอะไรมาทำอีกห้าอย่างเสมอ
ลูซี นางพยาบาล วัย 101 ปี


หาความสุขจากทุกวัน ผูกมิตร อย่าต่อล้อต่อเถียง
อลิซ เรด วัย 97 ปี


เรียนรู้ให้สุดกำลัง ฟังผู้ให้คำแนะนำที่เก่งที่สุดเท่าที่จะทำได้
และสวดขอให้พระเจ้านำทางคุณ
คุณพ่อจอห์น เอ็ดเวิร์ด บราวน์ บาทหลวงนิกายคาทอลิก วัย 89 ปี


ครั้งที่ผมยังอยู่ในโรงเรียน
ผมพูดกับครูสอนวิชาช่างไม้ว่างานที่ผมทำอยู่นั้น “ดีพอ” แล้ว
ท่านพูดกับผมเพียงว่า มีแต่สิ่งสมบูรณ์แบบเท่านั้นที่จะดีพอ
และสิ่งที่ดีพอนั้นยังไม่ถือว่าสมบูรณ์แบบ
แฟรงค์ วัย 82 ปี


จริงใจกับตนเอง ทำสิ่งที่เหมาะกับคุณ
เป็นคนในแบบที่คุณเป็น ทำสิ่งที่เร้าหัวใจตนเองให้ตื่นตัว
คาโรลีน แมนน์ วัย 67 ปี


กระโดดลงไปทั้งตัว พร้อมทำงานหนักและพร้อมยุ่งเหยิง
กล้าใช้ชีวิต กล้ารัก กล้าเชื่อมโยงกับโลกภายนอก
แอนน์ บริทท์ วัย 67 ปี


รักสิ่งที่คุณทำและทำสิ่งที่คุณรัก
ดาร์ลีน เบอร์ชัม วัย 62 ปี


ดำเนินชีวิตตามกฎทอง
นั่นคือ ปฏิบัติต่อผู้อื่นแบบเดียวกับที่คุณอยากได้รับการปฏิบัติ
เวยน์ ฮัฟแมน วัย 68 ปี


จงเชื่อในตนเอง เราทุกคนล้วนมีพรสวรรค์ที่น่าประหลาดใจ
แจ๊คเกอลีน กูลด์ วัย 60 ปี


พยายามเรียนรู้จากอดีต
เก็บเกี่ยวความสุขจากปัจจุบัน และกรุยทางเพื่ออนาคตที่ดีกว่า
มารี รูธ ชไนเดอร์ วัย 79 ปี


รักตนเอง แล้วสิ่งอื่นจะตามมาเอง
เจนนี รันนอลลส์ วัย 57 ปี


อย่าให้ความกลัวครอบงำชีวิต
เฟลิซา เช็ง วัย 65 ปี


ทำงานหนักที่สุดเท่าที่ทำได้
ทุ่มสุดตัวให้แก่สิ่งที่คุณกำลังทำ พยายามทำให้ดีที่สุด
ตั้งเป้าไว้ให้สูง ถ้าคุณตั้งเป้าต่ำเกินไป คุณจะยิงต่ำกว่าเป้า
มูเรียล ดักลาส วัย 72 ปี


ถ้าทำได้ก็พยายามทำดีกับทุกคนที่คุณพบ
แต่ตลอดเวลานั้นจงอย่าทำร้ายใครเลย
บันซี คานธี วัย 63 ปี


นับถือตนเองและผู้อื่นให้มาก
อย่าทำร้ายผู้อื่นและจงยอมรับผู้อื่นตามที่พวกเขาเป็น
จูเลียนา คราทซ์ วัย 76 ปี


จงรักษาภาพจินตนาการไว้และจดจ่อความสนใจให้ตลอด
ไว้ใจตนเองและมุ่งไปยังเป้าหมายเสมอ
แล้วคุณจะไปถึงเป้าหมาย คุณอาจไม่รู้ว่าไปถึงได้อย่างไร
แต่คุณจะไปถึงแน่นอน
ไดแอน ลินช์ วัย 63 ปี


อย่าไปให้ความสำคัญกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง
จอห์น สมิธ วัย 82 ปี


ความลับของชีวิตในหนึ่งประโยค
การนำชีวิตทั้งชีวิตมาใส่ไว้ในประโยคเดียวนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย


จากความลับ 5 ข้อ ที่คุณต้องค้นให้พบก่อนตาย

7/14/2009

เติมพลังให้ชีวิต1

คนเข้าแถวในงานศพมีทั้งที่นานสิบนาทีและสิบชั่วโมง
จงใช้ชีวิตในแบบที่เมื่อคุณตาย ผู้คนจะอยากอยู่เล่าเรื่องราวของชีวิตคุณ
และวิธีที่คุณส่งผลต่อชีวิตพวกเขา
เคน แครมเบียร์ กัลบกประจำเมือง วัย 64 ปี

จงเข้าใจว่าคุณเกิดมาพร้อมความสามารถที่จะอยู่กับโลกใบนี้
โดยไม่ต้องฝากชีวิตไว้กับสถานการณ์ภายนอกที่ประสบ
อย่าจริงจังกับตนเองเกินไปนัก อย่าไปยึดติดอยู่กับความคิดในสมอง
ความคิดเหล่านั้นไม่ได้เหมือนกับโลกความเป็นจริง
โดนัลด์ ไคลน์ นักจิตวิทยา วัย 84 ปี

รักใครสักคนอย่างลึกซึ้งและเป็นที่รักของใครบางคนอย่างลึกล้ำ
จงมีไฟกับตนเอง กับสิ่งที่ตนอยากรู้อยากเห็น รวมทั้งกับการสำรวจสืบค้น
แล้วลงมือทำเลย
วิลเลี่ยม ฮอว์ฟีลด์ วัย 64 ปี

การจะมีชีวิตที่มีเจตนารมณ์มากขึ้น คุณต้องปล่อยวางสิ่งที่สังคม
และผู้คนคิดเกี่ยวกับคุณ และมองเข้าไปในตนเองด้วยวิธีการบางอย่าง
เช่น สวดภาวนาหรือทำสมาธิ เพื่อสำรวจว่าอะไรสำคัญที่สุดสำหรับชีวิตคุณ
จากนั้นก็มุ่งไปตามทางนั้น
เจมส์ ออทรี กวีและนักประพันธ์ วัย 73 ปี

ถ้าคุณไม่มีความสุข จงทำอะไรสักอย่างเพื่อใครสักคน
ถ้ามัวสนใจแต่ตัวเอง คุณจะไม่มีความสุข แต่ถ้าคุณตั้งใจช่วยผู้อื่น
คุณก็จะมีความสุข ความสุขมาจากการได้ทำประโยชน์และความรัก
ฮวนนา บอร์ดาส นักประพันธ์ วัย 64 ปี

ลบคำว่า “เบื่อ” ออกจากประมวลคำศัพท์ของคุณ
ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน จงใช้ช่วงเวลานั้นให้เป็นประโยชน์ที่สุด
เพราะคุณจะไม่ได้มันกลับคืน
แม็กซ์ ไวแมน วัย 65 ปี

คุกเข่าลงจูบพื้นดิน ขอบคุณที่คุณมีชีวิตอยู่
จงรักตนเอง รักคนรอบข้าง และเก็บเกี่ยวความสุขจากการมีชีวิตอยู่ให้เต็มที่
เกร็ก นีล วัย 60 ปี

จำไว้ว่าคุณเป็นส่วนหนึ่งของอะไรบางอย่างที่ใหญ่กว่าคุณ
แอนโทนี ฮอลแลนด์ นักแสดง วัย 86 ปี

ค้นหาสิ่งที่คุณฝันใฝ่ปรารถนาและตามมันไป
ลีอา วิลเลี่ยมส์ นักประพันธ์และนักการศึกษา วัย 58 ปี

หาอะไรบางอย่างที่คุณชอบทำ และทำให้สิ่งนั้นกลายเป็นอาชีพของคุณ
ปอล เฮอร์ซี นักประพันธ์ วัย 76 ปี

คุณแม่บอกฉันว่าให้ “จริงใจกับตนเอง” นี่เป็นคำแนะนำที่สำคัญ
และจะให้ผลดีแก่คุณอย่างมหาศาล ถ้าคุณรู้ว่าอะไรที่จริงแท้สำหรับคุณ
จงจริงใจกับสิ่งที่สำคัญต่อคุณ ซึ่งคุณจะจริงใจได้ก็ต้องใคร่ครวญตนเองก่อน
แต่คุณไม่มีทางคิดออกขณะดู เดอะ ซิมป์สัน หรอกนะ
จิม สก็อตต์ นายหน้าอสังหาริมทรัพย์ วัย 60 ปี

มรดกที่คุณทิ้งไว้คือชีวิตที่คุณใช้ เราใช้ชีวิตในแต่ละวันและทิ้งมรดกไว้หนึ่งชิ้นทุกวัน
ซึ่งมรดกนี้ไม่ใช่แผนการยิ่งใหญ่อะไร แต่เป็นสิ่งที่เราทำในแต่ละวัน
และการตัดสินใจเล็กๆ น้อยๆ ทั้งหลาย เพราะเราไม่มีทางรู้ว่าสิ่งต่างๆ
จะสร้างผลกระทบอะไรบ้าง หรือตัวเราจะส่งผลกระทบเมื่อใด
จิม คูเซส นักประพันธ์ วัย 61 ปี

เรียนรู้ที่จะรักผู้อื่น เพราะถ้าคุณรู้จักรัก
ความรักจะพาคุณไปได้ทุกที่ทุกทาง
มองหาสิ่งดีๆ ในตัวผู้อื่นเสมอ
จอห์น บอยด์ จิตรกร วัยเฉียด 94 ปี

ทานอาหารสุขภาพ ออกแรงแข็งขัน
ใช้พลังงานไปกับการทำให้ที่ที่คุณอยู่
กลายเป็นชุมชนที่มีความยุติธรรมและความสุข
วิลเลี่ยม กอร์ดอน ศาสตราจารย์คณะนิเทศศาสตร์

มองหาความดีในตัวคนเสมอแล้วคุณจะไม่เสียใจ
เพราะทุกคนมีความดีงามมากมายในตัว
อย่าอิจฉาผู้อื่น เพราะคุณได้รับของขวัญและพรที่แตกต่างไป
ไอลีน ลินด์เซย์ วัย 78 ปี

ก้าวออกจากความเคยชินให้มากขึ้น
ดอน วัย 78 ปี

ใช้ชีวิตทุกวันตามที่มันเป็น ไม่ต้องห่วงว่าอะไรจะเกิดขึ้น
วันพรุ่งนี้จะดูแลตัวมันเอง อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด
รู้จักยอมรับและรอให้วันพรุ่งนี้มาถึง
เอสเธอร์ วัย 89 ปี

อย่าจมอยู่กับด้านลบของชีวิต เรื่องร้ายๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา
จงมองหาสิ่งดีแม้ในสถานการณ์ร้ายๆ แล้วคุณจะได้เห็นเอง
รูฟัส ริกกส์ วัย 63 ปี

ปรารถนาสิ่งใดจงใช้ชีวิตตามนั้นและทำสิ่งดีแก่ผู้อื่น
ลอรา โลว์ วัย 61 ปี

ศึกษาเล่าเรียน หาคำตอบว่าคุณเป็นใคร
มาจากไหน อยากไปที่ใด แล้วอย่าลืมคนที่คุณเป็น
ราล์ฟ ดิค หัวหน้าเผ่าชนพื้นเมือง วัย 66 ปี

คุณต้องรู้เนื้อแท้ของสิ่งที่คุณเป็นอยู่ข้างใน
จงหาว่าความรู้สึกข้างในคุณคืออะไรแล้วทำความเข้าใจมัน
นี่คือกุญแจสู่การรู้จักตนเอง หากคุณรู้ว่าคุณเป็นใคร คุณจะมีที่ยึดไปตลอดชีวิต
หากคุณไม่เข้าใจว่าข้างในคุณเป็นอะไร คุณจะมีปัญหาแน่นอน
มาร์ค เชอร์โคว์ วัย 60 ปี

เลือกอาชีพที่คุณทำแล้วมีความสุข และทำให้คุณรู้สึกว่าประสบความสำเร็จ
ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่า คุณหาเงินใส่กระเป๋ากางเกงยีนส์ได้มากมายกี่ดอลลาร์
เงินติดปีกบินหายไปได้รวดเร็ว แต่ความรู้สึกว่าตนบรรลุผลสำเร็จจะคงอยู่ยาวนาน
ในยามราตรีคุณจะเข้านอนพร้อมกับความรู้สึกนั้น และหลับราวกับทารก
กอร์ดอน ฟูเออร์สท วัย 71 ปี

ฟังเสียงในใจคุณ มันจะบอกคุณว่าอะไรถูกอะไรผิด
มันจะนำความสุขและสันติมาให้ชีวิตคุณ
แต่ถ้าคุณไม่ฟัง มันจะสร้างความกระสับกระส่าย ความรู้สึกขาดและไร้สุข
เบิร์ต วิลสัน วัย 63 ปี

เมตตาต่อตนเองและผู้อื่น
ไม่มีทางที่คุณจะผิดพลาดพลัดหลงหากเดินบนทางเส้นนี้
มารี วัย 87 ปี

เลือกที่จะมีชีวิตให้มีความสุข
หากคุณอยากเพ่งความสนใจไปที่เรื่องแย่ๆ ก็จงทำไปเถิด
หรือจะเพ่งมองดอกลิลลี่คลี่บานในสนามหญ้าหน้าบ้านวันนี้
ซึ่งคุณก็ได้เห็นมันในวันนี้พอดี สิ่งที่คุณจดจ่อความสนใจนั่นเองที่สำคัญ
โทนี วัย 66 ปี

เวลาผมฝึกลูกๆ ของผม ซึ่งผมฝึกพร้อมกันทุกคน
ผมจะพูดดังต่อไปนี้กับพวกเขาบ่อยๆ
จนทั้งหมดพูดซ้ำให้ผมฟังได้ว่า – เล่นเต็มที่ นักกีฬาดี และสนุก
กล่าวคือจงทุ่มสุดตัว จงซื่อสัตย์ เป็นนักกีฬาที่ยุติธรรม
และอย่าเครียดกับชีวิตหรือตนเองนัก
ผมอยากจะชนะมากกว่าแพ้ แต่การได้เล่นเกมต่างหากที่สำคัญ
แจ๊ค โลว์ เจ้าของธุรกิจ วัย 67 ปี