"Self-conquest is the greats of victory" การชนะใจตนเอง คือ ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

9/29/2011

Germany approves changes to EFSF

FXstreet.com (Barcelona) - German Bundestag lower house approved more powers to the rescue fund today in a much anticipated voting. Already 11 Eurozone countries approved the extension of EFSF, but changes will be introduced only if all of them ratify it.
523 MPs backed the bill, 85 were against and 3 abstained from voting. It is a success for Angela Merkel, who proved this way that her manner of dealing with the European crisis is supported by a large majority of German lawmakers.

9/28/2011

กองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF)

กองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF)
(IMF) ได้ร่วมกันจัดตั้งขึ้น เพื่อให้เงินกู้แก่รัฐบาลของประเทศที่เกิดวิกฤติทางการเงิน ปัจจุบันกองทุนนี้มีความสามารถ ปล่อยเงินกู้ได้ 440,000 ล้านยูโร

9/22/2011

Fed launches Operation Twist and more support to the mortgage market

FXstreet.com (Córdoba) – The Federal Reserve left as expected interest rate unchanged, in the range between 0.00% - 0.25% and announced Operation Twist and reinvestments in agency mortgage-backed securities.
According to the FED the economic growth remains slows and to boost activity announced that it will extend the average maturity of its holding of securities. “The Committee intends to purchase, by the end of June 2012, $400 billion of Treasury securities with remaining maturities of 6 years to 30 years and to sell an equal amount of Treasury securities with remaining maturities of 3 years or less.”
To support the mortgage market the Fed will reinvest principal payments from its holdings of agency debt and agency mortgage-backed securities.
The decision was not unanimous as Richard W. Fisher, Narayana Kocherlakota and Charles I. Plosser voted against the action announced today, not supporting additional accommodation.

9/21/2011

'Operation Twist' ทางเลือกที่ต้องรอดของเศรษฐกิจมะกัน

นับเป็นเรื่องที่ทั่วโลกต่างจับตามองอย่างใกล้ชิดอีกครั้ง กับการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 20–21 ก.ย.นี้ เนื่องจากมีความเป็นไปได้ที่เฟดจะส่งสัญญาณกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐรอบใหม่อีกครั้ง หลังจากที่สภาพเศรษฐกิจที่ผ่านมาไม่ได้กระเตื้องขึ้นแม้แต่น้อย

ยืนยันได้ชัดจากตัวเลขการว่างงานของสหรัฐที่ยังคงอยู่ในระดับสูงกว่า 9% และตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่แทบไม่ขยับเขยื้อนใดๆ

สถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้บรรดาสมาชิกเฟดเริ่มตระหนักแล้วว่า ไม่อาจจะขอประวิงเวลารอดูเหตุการณ์เหมือนที่แล้วมาได้อีกต่อไป และจำเป็นต้องหาทางนำเงินใส่เข้าไปในระบบเพื่อให้เกิดการจ้างงานขึ้นอีกครั้ง อันจะส่งผลดีต่อสภาพเศรษฐกิจโดยรวม ภายใต้การผลักดันอย่างเต็มที่จากคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐ (เอฟโอเอ็มซี)

อย่างไรก็ตาม สมาชิกเฟดอีกส่วนหนึ่งกลับคัดค้านที่จะให้เฟดเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจ เพราะหวั่นใจกับปัญหาเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐได้เพิ่มจาก 3.6% ในเดือน ก.ค. มาอยู่ที่ 3.8% ในเดือน ส.ค. ซึ่งเกินเพดานที่เฟดตั้งไว้ที่ 2% อีกทั้งยังมีแนวโน้มจะขยับขึ้นเรื่อยๆ อันเป็นผลมาจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์และพลังงานที่ขยับพุ่งขึ้นทั่วโลก และเป็นช่วงที่เฟดใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (คิวอี) ด้วยการทุ่มซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐมากถึง 6 แสนล้านเหรียญสหรัฐ

เฟด จึงได้รับเสียงตำหนิมากมายจากเหล่าสมาชิกสภาคองเกรสที่เป็นตัวการกระตุ้นภาวะเงินเฟ้อภายในประเทศ จนทำให้บรรดาผู้กำหนดนโยบายของเฟดไม่ต้องการลงมือกระทำการใดๆ ที่จะไปกระตุ้นกระแสต่อต้านเฟดภายในสภาคองเกรสให้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น

ปัญหาเงินเฟ้อ และภาวะเศรษฐกิจที่เดินหน้าเข้าสู่ภาวะถดถอยจึงกลายเป็นความขัดแย้งภายในของบรรดาผู้กำหนดนโยบายของเฟด ที่นักเศรษฐศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญหลายสำนักต่างลุ้นระทึกว่า เฟดจะเลือกทางไหนระหว่างกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป หรือชะงักไว้ก่อนเพื่อชะลอเงินเฟ้อ

ทว่า เมื่อคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่าหน้าที่หลักของเฟดในตอนนี้ก็คือการแก้ปัญหาตัวเลขการว่างงาน ความเป็นไปได้ที่ว่าเฟดจะเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจต่อไปจึงมีมากกว่า

ทั้งนี้ หากเฟดเลือกที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป ท่ามกลางเงินเฟ้อขาขึ้น นักวิเคราะห์หลายฝ่ายเห็นตรงกันว่า นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่เฟดพอจะรอมชอมให้ประกาศใช้ออกมาได้ก็คือนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่เรียกกันว่า ปฏิบัติการ “Operation Twist” มากกว่าที่จะใช้มาตรการคิวอี เนื่องจากมาตรการพิมพ์ธนบัตรใหม่ออกมาซื้อพันธบัตรรัฐบาล ให้ผลไม่ตรงตามประโยชน์ที่วาดหวังกันไว้

การกระตุ้นเศรษฐกิจตามแนวทางของ Operation Twist ก็คือการปรับสัดส่วนการถือครองพันธบัตรของเฟดให้เป็นตราสารระยะยาวมากขึ้น และลดการถือครองตราสารระยะสั้น หรือก็คือการยืดอายุการชำระหนี้ออกไป โดยมีเป้าหมายเพื่อกดอัตราดอกเบี้ยระยะยาวต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น เลี่ยงการเก็งกำไร และกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น

พูดให้ง่ายว่า วิธีการดังกล่าวก็คือการที่เฟดจะออกพันธบัตรระยะสั้นมาเปลี่ยนกับพันธบัตรระยะยาว โดยไม่จำเป็นจะต้องใช้เงินเพิ่มเติม เพื่อกดอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งจะเป็นการหลีกเลี่ยงวิธีการแบบเดิมที่ต้องทุ่มเงินเข้าระบบการเงินแบบไม่สนใจหน้าอินทร์หน้าพรหม จนทำให้เกิดเงินเฟ้อเหมือนที่เป็นมา

ทั้งนี้ สหรัฐเคยนำแนวทาง Operation Twist มาใช้แล้วครั้งหนึ่งในช่วงทศวรรษที่ 1960 หรือระหว่างปี 2504-2508 ซึ่งเป็นช่วงที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ได้เข้าซื้อพันธบัตรระยะยาว และขายตั๋วเงินคลังระยะสั้น โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างเสถียรภาพทางการเงินผ่านจากจัดการปริมาณเงินในระบบ ก่อนที่จะประกาศใช้อีกครั้งในเดือน มี.ค. 2552 แต่มีเป้าหมายที่ต่างออกไปก็คือเพื่อทำให้ปัจจัยแวดล้อมในระบบการเงินที่ตึงตัวอยู่ผ่อนคลายลง

Operation Twist จึงเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้มากที่สุด และเหมาะสมที่สุดหลังจากที่เฟดเพิ่งจะผ่านพ้นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่อย่างคิวอีมาแล้วสองรอบ

เพราะคิวอีทำให้เฟดต้องเข้าถือพันธบัตรระยะสั้นในมือมากขึ้น ขณะที่ Operation Twist จะช่วยเปลี่ยนพันธบัตรระยะสั้นเหล่านั้นให้เป็นระยะยาวซึ่งจะลดดอกเบี้ยในระยะยาว จนทำให้ธนาคารยอมปล่อยกู้ให้กับบรรดาบริษัทห้างร้านต่างๆ เพิ่มมากขึ้น นอกเหนือไปจากการยืดระยะเวลาการคงอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับใกล้ศูนย์เพิ่มออกไปอีก 2 ปี ที่หลายฝ่ายในเฟดมองว่าอาจเป็นช่องทางให้บริษัทห้างร้านต่างๆ ฉวยโอกาสเก็บเงินสดไว้ แทนที่จะนำไปใช้ในการลงทุนและการจ้างงาน

สำหรับความเป็นไปได้อีกทางที่นักวิเคราะห์หลายฝ่ายคาดการณ์กันว่าเฟดอาจจะเลือกลงมือทำเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจก็คือ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่จ่ายให้แก่ธนาคารพาณิชย์สำหรับทุนสำรองส่วนเกินที่นำมาฝากไว้ที่เฟด ซึ่งเท่ากับเป็นการบีบบังคับให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยกู้มากยิ่งขึ้นเพื่อแลกกับอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว

ทว่า ปัญหาที่ตามมาก็คือ ธนาคารพาณิชย์ไม่อาจกำหนดดอกเบี้ยให้สูงได้ในช่วงที่เจ้าของกิจการหรือประชาชนคนธรรมดาต่างแสวงหาหนทางปรับลดต้นทุนกู้ยืมของตนเองลง

ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่า เครื่องมือทั้งหมดที่พอจะให้เฟดใช้กระตุ้นเศรษฐกิจได้ขณะนี้ ล้วนส่งผลเสียต่อเฟดแทบทั้งสิ้น

แต่เมื่อถึงเวลาจำเป็นต้องเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจให้ได้เพื่อให้เกิดการจ้างงาน บรรดานักเศรษฐศาสตร์จึงเห็นตรงกันว่า Operation Twist ดูจะเป็นทางเลือกที่อันตรายน้อยที่สุดสำหรับเฟดในเวลานี้แล้ว

Posttoday

20 กันยายน 2554

7/23/2011

คิวอี3รีเทิร์น?เฟดเล็งหว่านเงินรอบสาม เมื่อพญาอินทรียังลุกไม่ขึ้น

เป็นภาวะที่กลืนไม่เข้าและคายไม่ออก เมื่อบรรดาผู้กำหนดนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐ หรือเฟด กำลังเสียงแตกกันอย่างหนักหน่วงว่าจะเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจรอบต่อไปหรือไม่ เนื่องจากในขณะนี้สภาพเศรษฐกิจสหรัฐยังไม่อาจจะฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่และเชื่องช้าเต็มทน โดยเฉพาะการจ้างงานใหม่นั้นเพิ่มขึ้นในระดับที่ไม่น่าพึงพอใจนัก

จากข้อมูลล่าสุดในเดือน มิ.ย.นั้น ได้ส่งสัญญาณชัดเจนถึงความเชื่องช้าของเศรษฐกิจสหรัฐในรอบหลายเดือน การสร้างงานใหม่เกิดขึ้นเพียง 1.8 หมื่นตำแหน่ง น้อยที่สุดในรอบ 9 เดือน และอัตราการว่างงานเดือนล่าสุดของสหรัฐยังอยู่ในระดับชนเพดานที่ 9.2% สูงสุดในรอบปีนี้ ถือเป็นงานหนักของสหรัฐที่จะต้องพยายามขุดให้คนสหรัฐมีงานทำกันให้ได้ เพราะต้องไม่ลืมว่าแรงขับเคลื่อนของเศรษฐกิจพญาอินทรีนั้น 2 ใน 3 มาจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค

ถ้าคนตกงานไม่ใช้เงิน เศรษฐกิจสหรัฐย่อมเป็นอัมพาตไปในทันที นั่นคือความจริงที่ไม่น่าพิสมัยนักของปรัชญาเศรษฐกิจทุนนิยมแบบอเมริกัน ที่กำลังเจอเข้ากับภาวะจนตรอกในยุคสหัสวรรษใหม่..!

ในรายงานการประชุมครั้งล่าสุดของบรรดาเจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายของเฟดนั้น ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ส่วนหนึ่งมีความเห็นและสนับสนุนให้เฟดนำมาตรการการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาใช้อีกระลอกหนึ่ง หลังจากที่เคยประกาศใช้มาแล้วถึง 2 ครั้ง คือ นโยบายการเงินผ่อนปรนเชิงปริมาณ (Quantative Easing)

ในครั้งแรก ได้ประกาศใช้ไปเมื่อช่วงต้นปี 2009 ซึ่งเป็นช่วงที่สหรัฐกำลังอยู่ในห้วงเหวแห่งภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างหนักหน่วง และในครั้งที่ 2 ในช่วงปลายปี 2010 ที่เฟดหวังว่านโยบายดังกล่าวจะช่วยเป็นพลังขับเคลื่อนการสร้างให้กับชาวอเมริกัน

ภายใต้นโยบายดังกล่าว เฟดจะรับซื้อคืนพันธบัตรรัฐบาลจากธนาคารพาณิชย์ เป็นการปล่อยกระแสเงินเข้าสู่ระบบทางอ้อมและเป็นการช่วยกดให้อัตราดอกเบี้ยสหรัฐอยู่ในระดับต่ำต่อไป

เมื่อครั้งการประกาศใช้นโยบายนี้เป็นหนที่ 2 เมื่อเดือน พ.ย. 2010 ที่ผ่านมา เฟดได้ทุ่มงบประมาณมากถึง 6 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ทยอยรับซื้อคืนพันธบัตรของรัฐบาล เพื่อช่วยให้ธนาคารพาณิชย์เหล่านั้นมีกระแสเงินสดคล่องตัวเปิดทางให้ปล่อยกู้ให้มากขึ้น เป็นทั้งการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยตรง และกดอัตราดอกเบี้ยสหรัฐให้อยู่ในระดับต่ำที่ 00.25% ต่อไปด้วย

อย่างไรก็ตาม กำหนดอายุเวลาของโครงการดังกล่าวเพิ่งจะหมดอายุลงไปเมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา เป็นการหมดอายุที่มาพร้อมๆ กับเสียงด่าขมไปทั่วโลก

เพราะแท้จริงแล้ว นโยบายดังกล่าวแทบจะไม่ได้ช่วยอะไรเลย

เพราะแท้จริงแล้ว คิวอียังสร้างความลำบากให้กับหลายประเทศทั่วโลก

ตัวเลขอัตราการว่างงานของสหรัฐยังสูงทะลุเพดาน ปริมาณการใช้สอยของผู้บริโภคยังไม่ฟื้นตัว และที่สำคัญเศรษฐกิจมะกันยังคงเซื่องซึมเหมือนเดิม การเติบโตของจีดีพีสหรัฐในไตรมาสแรกของปีนี้เติบโตขึ้นเพียง 1.8% เท่านั้น

เท่านั้นยังไม่พอ เฟดยังต้องปรับอัตราการเติบโตของจีดีพีทั้งปีนี้จากเดิมที่ 3.1-3.3% ลงมาอยู่ที่ 2.7-2.9% อีกด้วย เป็นสิ่งยืนยันว่านโยบายนี้ไม่ได้ช่วยอะไรแม้แต่น้อย

แต่ที่เลวร้ายที่สุด ผลข้างเคียงของนโยบายดังกล่าวได้สร้างความเสียหายไปทั่ว และเริ่มกลายเป็นปัจจัยคุกคามเศรษฐกิจสหรัฐเองมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นมาอยู่ที่ 2.32% แล้ว

อีกทั้งการพิมพ์ธนบัตรและหว่านเงินเข้าสู่ระบบแบบตามใจฉัน ของนโยบายคิวอี 2 ยังทำให้ค่าเงินเหรียญสหรัฐอ่อนค่าลงเป็นประวัติการณ์ และต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน

หากจำกันได้เมื่อปีที่แล้ว หรือปี 2010 ถือเป็นปีที่เอเชียและกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ต้องเจอกับผลข้างเคียงอย่างสาหัสเกือบจะทุกประเทศจากนโยบายคิวอีของเฟดที่ว่าการหว่านเงินลงสู่ระบบในช่วงเวลาที่ดอกเบี้ยสหรัฐต่ำเรียดติดดิน ได้ส่งผลให้กระแสทุนจากสหรัฐต่างไหลออกเข้าสู่ตลาดเกิดใหม่ที่มีอัตราดอกเบี้ยผลตอบแทนสูงกว่า

ทุนเหล่านี้ได้เข้าเก็งกำไรกันอย่างบ้าคลั่งในตลาดทุนของเอเชีย และที่สำคัญได้ส่งผลให้เงินหลายสกุลในเอเชียต้องแข็งค่ากันอย่างรุนแรง รวมถึงเงินบาทของไทย ส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกอย่างแสนสาหัส

ไม่แปลกที่นโยบายคิวอีของเฟดจะเป็นสิ่งที่ไม่เฉพาะนักเศรษฐศาสตร์ในสหรัฐเท่านั้น แต่เกือบจะทุกประเทศทั่วโลกด้วยซ้ำที่ออกอาการ “แขยง” พฤติกรรมของเฟดดังกล่าวที่พิมพ์พันธบัตรหว่านเงินอย่างเปล่าประโยชน์ ซึ่งสร้างความเสียหายไปทั่วโลก

ดังนั้น จึงกล่าวได้อย่างชัดเจนว่า เฟดกำลังเดินมาถึงจุดที่ยากลำบากมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์สหรัฐ ที่จะเดินหน้าต่อด้วยการหว่านเงินกระตุ้นก็จะถูกต่อต้านจากทั้งภายในและภายนอกประเทศแต่ในขณะเดียวกันก็ไม่อาจจะวางเฉยต่อสภาพเศรษฐกิจที่แน่นิ่งต่อไปได้เช่นกัน

กระนั้นก็ตาม บางกระแสมองโลกในแง่ดีว่า ความแตกตื่นที่ว่าเฟดจะนำมาตรการคิวอีกลับมาใช้อีกครั้งนั้น เป็นเพียงการตีความรายงานการประชุมของเฟดกันไปเองของเหล่านักลงทุน

เพราะธนาคารกลางสหรัฐไม่น่าจะกล้านำมาตรการดังกล่าวกลับมาใช้อีกครั้ง เพราะเห็นกันชัดๆ อยู่แล้วว่าไม่ได้ผล และยังส่งผลข้างเคียง

หรือหากจะนำกลับมาใช้จริงอีกครั้ง ก็อาจจะมีขึ้นอย่างเร็วที่สุดในช่วงปีหน้า ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นเศรษฐกิจของสหรัฐก็น่าจะกระเตื้องดีกว่าในระดับปัจจุบันนี้แล้ว

แต่กระนั้น ถ้าหากพิจารณาสภาพเศรษฐกิจโลกในวันนี้ ก็ต้องยอมรับกันว่ามีเปอร์เซ็นต์ที่นโยบายนี้จะฟื้นคืนชีพอีกครั้งไม่น้อย

ไม่ว่าจะราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งเป็นปัจจัยทุบความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐดีๆ นี่เอง

ไม่ว่าจะเป็นวิกฤตหนี้ในยุโรป ที่พลอยทำให้สหรัฐซบเซาลงตามไปด้วย

ไม่ว่าจะผลกระทบจากการฟุบตัวลงของเศรษฐกิจญี่ปุ่นหลังเกิดแผ่นดินไหวและสึนามิถล่มครั้งรุนแรงที่สุดของแดนปลาดิบเมื่อวันที่ 11 มี.ค. ที่ทำเอาภาคการผลิตยานยนต์ของญี่ปุ่นที่มีฐานการผลิตกระจายอยู่ในสหรัฐเซื่องซึมลงไปด้วย

ปัจจัยลบเหล่านี้ ถือว่ามีน้ำหนักพอที่จะทำให้สหรัฐกลับมาปั๊มเงินหว่านกันอีกรอบหากเข้าตาจนจริงๆ และเมื่อนั้น คงได้แต่สวดมนต์รอรับชะตากรรมกับคิวอี 3 กันถ้วนหน้า..!

Post Today
Last update : 7/14/2011

Risk of Ruin : โอกาสของการหมดตัว

วันนี้เราจะย้อนกลับมาพูดถึงเรื่องของ Money Management กันบ้าง สิ่งที่ผมกำลังจะพูดถึงนั้น เกี่ยวพันถึงความเป็นและความตายในฐานะของนักเล่นหุ้นกันเลยทีเดียว Risk of Ruin หรือโอกาสที่คุณจะหมดตัวนั้นเป็นสิ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยมันเป็นองค์ประกอบที่เกิดจากความเสี่ยง (Risk Exposed) ซึ่งมาจากขนาดการลงทุน (Position Size) และประสิทธิภาพของระบบการลงทุนของคุณเอง ระบบใครก็ระบบมัน ดังนั้น เราจึงควรที่จะรู้ว่าความเสี่ยงของตัวเราเองนั้นมีอยู่มากน้อยแค่ไหนครับ

คุณจะอยู่รอดในตลาดหุ้นได้ก็ต่อเมื่อ.. คุณเคารพต่อกฏของมัน

Risk of Ruin นั้นถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ได้ถูกศึกษาอย่างจริงจรังจากทั้งนักคณิตศาสตร์, นักการพนันและนักลงทุนมาอย่างเนิ่นนานแล้ว ทฤษฏีเบื้องหลังของมันถูกอิงมาจากสูตรทางคณิตศาสตร์ซึ่งจะบอกให้คุณได้รู้ ว่า จากประสิทธิภาพของระบบการลงทุน และระบบ Money Management ของคุณนั้น คุณมีโอกาสมากแค่ไหนที่จะหมดตัวนั่นเอง

โดยปกติแล้ว เราทุกคนต้องการที่จะออกแบบระบบการลงทุนในส่วนของ Money Management ให้ดีพอจนแน่ใจได้ว่าโอกาสหมดตัวของเรานั้นเป็นศูยน์ (ถึงแม้ว่ามันจะไม่มีอะไรที่สามารถรับประกันได้อย่างแน่นอนก็ตาม) อย่างไรก็ดีในเบื้องต้นแล้ว สมการของการหา Risk of Ruin นั้นจะมีค่าอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1 (0 คือไม่มีความเป็นไปได้ ส่วน 1 คือ 100% ไม่ช้าไม่นานยังไงต้องเจ๊งแน่นอน!) โดยมันจะถูกอ้างอิงจากตัวแปรหลักๆสามตัวดังต่อไปนี้

1. Wining Ratio (อัตราความแม่นยำ) ซึ่งจะถูกคำนวนจากจำนวนครั้งที่คุณมีกำไรจากการซื้อขายหุ้นของคุณทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น หากระบบของคุณมีความแม่นยำอยู่ที่ 40 ใน 100 ครั้ง คุณจะมี Wining Ratio เท่ากับ 40% และมี Losing Ratio (อัตราความผิดพลาด) อยู่ที่ 60% นั่นเอง

2. Payoff Ratio (อัตราต่อรอง หรือผลตอบแทนต่อความเสี่ยงในการซื้อขายโดยเฉลี่ย) ซึ่งจะถูกคำนวนจาก Average Wining Trades (ผลกำไรโดยเฉลี่ยในแต่ละครั้ง) หารด้วย Average Losing Trades (ผลขาดทุนโดยเฉลี่ยในแต่ละครั้ง) หรือพูดง่ายๆก็คือ มันบอกให้คุณรู้ว่าโดยเฉลี่ยแล้วคุณได้กำไรเป็นกี่เท่าของการขาดทุนที่เกิด ขึ้น ยกตัวอย่างเช่น หากค่าของมันอยู่ที่ 3:1 นั่นหมายถึงคุณจะได้กำไรครั้งละสามเท่าของการขาดทุนนั่นเอง

3. Percent of Capital Exposed to Trading (ความเสี่ยง หรือสัดส่วนที่จะยอมขาดทุนคิดเป็นร้อยละของเงินทุน) พูดง่ายๆก็คือ นี่คือสิ่งที่คุณจะกำหนดเอาไว้ว่าคุณจะยอมเสียเงินครั้งละมากแค่ไหนในแต่ละ ครั้ง (คิดเป็น%) เมื่อเทียบจากเงินทุนที่คุณมีอยู่ ซึ่งโดยส่วนใหญ่สำหรับคนทั่วๆไปหรือมือใหม่นั้น มันไม่ควรที่จะเกินครั้งละ 2% ของเงินทุนที่คุณมีอยู่ หรือคุณอาจจะสามารถหามันออกมาจากสมการของ Kelly ที่ใช้หาค่า Optimal F ก็ได้

สิ่งที่น่าสนใจจากสมการ Risk of Ruin ก็คือ มันจะค่อยลดลงเมื่อ Payoff Ratio ของคุณสูงขึ้น หรือเมื่อ Winning Ratio ของคุณเพิ่มมากขึ้น ในทางกลับกันแล้ว Risk of Ruin จะมีค่าที่สูงขึ้นเมื่อคุณยอมเสี่ยงหรือขาดทุนมากขึ้นในการซื้อขายหุ้นแต่ละ ครั้งนั่นเอง

สูตรการคำนวนหา Risk of Ruin

สำหรับสูตรการคำนวน Risk of Ruin นั้นมีอยู่หลายเจ้าเหมือนกัน วันหลังหากมีโอกาสผมจะมาเขียนอธิบายให้ฟังต่อนะครับเพราะค่อนข้างจะซับซ้อน อยู่ (ผมกับวิชาเลขนี่ก็แบบว่าถูกกันมากเลย 55) โดยข้างล่างจะเป็นสูตรของเจ้าพ่อเรื่อง Trading System นั่นก็คือ Perry Kaufman ครับ ถ้าใครไม่มึนก็คำนวนไปได้เลย แต่ถ้ามึนๆหน่อย ลองอาศัยตารางของ Nauzer J. Balsara ดูก็ได้ครับว่า Impact ของตัวแปรต่างๆเป็นอย่างไรกันบ้าง

สูตรการหา Risk of Ruin โดย Perry Kaufman จากหนังสือ New Trading Systems and methods 4th Edition

p1

ตาราง Risk of Ruin ของ Nauzer J. Balsara : ผล Risk of Ruin โดยมีอัตราเสี่ยงครั้งละ 10% ของเงินทุน (*สมมุติว่าขาดทุนครั้งละ 10% ของเงินทุน ไม่ใช่การขนาดของการลงทุนในแต่ละครั้งที่ 10% นะครับ)

Risk of Ruin Probabilities

Payoff Ratio 1 to 1

Payoff Ratio 2 to 1

Payoff Ratio 3 to 1

Payoff Ratio 4 to 1

Payoff Ratio 5 to 1

Win Ratio 25%

100 %

100 %

99 %

30.3 %

16.2 %

Win Ratio 30%

100 %

100 %

27.7 %

10.2 %

6.0 %

Win Ratio 35%

100 %

60.8 %

8.2 %

3.6 %

2.3 %

Win Ratio 40%

100 %

14.3 %

2.5 %

1.3 %

0.8 %

Win Ratio 45%

100 %

3.3 %

0.8 %

0.4 %

0.3 %

Win Ratio 50%

99 %

0.8 %

0.2 %

0.1 %

0.1 %

Win Ratio 55%

13.2 %

0.2 %

0.1 %

0.1 %

0.0 %

Win Ratio 60%

1.7 %

0.0 %

0.0 %

0.0 %

0.0 %



ตาราง Risk of Ruin ของ Nauzer J. Balsara : ผล Risk of Ruin โดยมีอัตราเสี่ยงครั้งละ 20% ของเงินทุน

Risk of Ruin Probabilities

Payoff Ratio 1 to 1

Payoff Ratio 2 to 1

Payoff Ratio 3 to 1

Payoff Ratio 4 to 1

Payoff Ratio 5 to 1

Win Ratio 25%

100 %

100 %

98 %

55 %

40 %

Win Ratio 30%

100 %

100 %

52.2 %

31.7 %

24.7 %

Win Ratio 35%

100 %

77.9 %

28 %

18.7 %

15.3 %

Win Ratio 40%

100 %

37.6 %

15.9 %

11.3 %

9.4 %

Win Ratio 45%

100 %

18.3 %

8.7 %

6.5 %

5.8 %

Win Ratio 50%

99 %

0.9 %

4.7 %

3.8 %

3.4 %

Win Ratio 55%

36.8 %

4.4 %

2.5 %

2.1 %

2.0 %

Win Ratio 60%

13.0 %

2.0 %

1.3 %

1.1 %

1.1 %



คำแนะนำสำหรับมือใหม่ : จะเห็นได้ว่าสำหรับมือใหม่แล้ว การพยายามจำกัดความเสี่ยงไว้ไม่ให้บานปลายตามสูตรมาตรฐานโดยทั่วไปนั้น (2% ในการเทรดละครั้ง หรือการจำกัดความเสี่ยงโดยรวมของพอร์ทไว้ที่ 6%) เป็นสิ่งที่สำคัญและไม่ควรละเมิดอย่างยิ่ง (อย่างน้อยก็จนกว่าจะแก่กล้าวิชาพอ) เพื่อเป็นการยืดอายุและเก็บเกี่ยวประสบการณ์ของเราออกไปให้นานที่สุด เนื่องจากคุณจะเห็นได้ว่า ยิ่งเราเสี่ยงหนักมากเท่าไหร่ Risk of Ruin ก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเท่านั้น

Note : มองแล้วจะเห็นว่าไม่แปลกเลยที่คนเล่นหุ้นส่วนใหญ่จะเจ๊งหุ้น เพราะพวกเขามักปล่อยให้ตัวแปรตัวที่ 3 (Risk – Capital Exposure) บานปลายเกินไปกว่า 10-20% ของเงินทุนแทบทุกครั้ง เรื่อง Payoff ไม่ต้องพูดถึงเพราะหุ้นขึ้นนิดหน่อยก็รีบชิงขายทำกำไรกันแล้ว ส่วนอัตราความแม่นยำก็อย่างที่รู้ๆกันอยู่ หวังว่าจะเป็นอุทาหรณ์สำหรับคนติดหุ้นแล้วไม่เปลี่ยนนิสัยได้เป็นอย่างดีนะ ครับ

มาที่ http://www.mangmaoclub.com

7/10/2011

คนแพ้ชอบถัวเฉลี่ยขาดทุน คนชนะชอบซื้อเพิ่มเมื่อมีกำไร

Paul Tudor Jones ประวัติโดยย่อของ Paul Tudor Jones

เขาเกิดในวันที่ 28 พฤษจิกายน ค.ศ. 1954 ที่มลรัฐ Memphis,Tennessee เขาคือผู้ก่อตั้งกองทุน Tudor Investment Corporation และเขาคือผู้จัดการกองทุนเฮดจ์ฟันที่ยิ่งใหญ่ซึ่งบริหารเงินทุนกว่าหลายพัน ล้านดอลลาร์ เขามีทรัพย์สินส่วนตัวโดยประมาณอยู่ที่ 3.3 พันล้านดอลลาร์ และได้ถูกจัดอันดับให้เป็นเศรษฐีที่รวยที่สุดในโลกอันดับที่ 369 ในปี 2007 โดยนิตยสาร Forbes โดยจากรายงานล่าสุดนั้น ในปี 2006 เขาทำเงินได้ถึง 750 ล้านดอลลาร์ทีเดียว


สไตล์การเก็งกำไรและความเชื่อของเขา

จากหนังสือ Market Wizards แนวคิดและความเชื่อของ Paul Tudor Jones ได้ถูกวิเคราะห์เอาไว้ดังนี้

-เขากล้าที่จะสวนกระแสซื้อหรือขายที่จุดวกกลับของตลาด เขาจะพยายามเทรดตามความเชื่อที่เขาคิดจนกว่าเขาจะเริ่มเปลี่ยนใจ โดยเมื่อขาดทุนเขาจะเริ่มลดขนาดการลงทุนของเขาลงเรื่อยๆ และจะน้อยที่สุดเมื่อการเก็งกำไรของเขาประสบผลแย่ที่สุด

-เขาเชื่อว่าเขาเป็นผู้ที่มักจะเห็นโอกาสในตลาดได้อย่างดีเยี่ยม เมื่อเขาเริ่มมีไอเดียเกี่ยวกับการลงทุน เขาจะค่อยๆเริ่มลงทุนด้วยความเสี่ยงทีละน้อย จนกว่าที่เขาจะผิดพลาดติดๆกันหรือจนกว่าเขาจะเปลี่ยนแผนหรือความคิดของเขา

-เขาเป็นนักเก็งกำไรสไตล์ Swing Trader หรือเล่นรอบ เขาเชื่อว่ากำไรสูงสุดมาจากการซื้อได้ที่จุดวกกลับของแนวโน้ม และเขามักจะขายหมูบ่อยมาก แต่เขาก็สามารถซื้อหรือขายแถวๆจุดต่ำสุดและสูงสุดได้เช่นกัน

-เขาใช้เวลาในแต่ละวันส่วนใหญ่ในการทำให้เขามีความสุขและผ่อนคลาย เขาจะขาย Position ที่เขาถืออยู่ทิ้งหากว่าเขารู้สึกไม่สบายใจ และไม่มีอะไรจะดีไปกว่าการเริ่มต้นใหม่ กุญแจสำคัญของการเก็งกำไรคือการเล่นเกมรับ ไม่ใช่เล่นเกมรุก

-ห้ามถัวเฉลี่ยขาดทุน และต้องลดขนาดการลงทุนลงเมื่อผลออกมาแย่ และเพิ่มขนาดการลงทุนขึ้นเรื่อยๆเมื่อมีกำไร

-เขามักตัดขาดทุนตามสัญชาติญาณของเขา โดยหากว่าราคาวิ่งมาถึงระดับนั้น เขาจะขายทิ้งไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม เขาไม่เพียงแต่ตัดขาดทุนจากระดับราคาที่กำหนดไว้ แต่จากระยะเวลาที่ถือไว้หากไม่ได้กำไรอีกด้วย

-เขาจะตรวจสอบถึงความเสี่ยงโดยรวมในพอร์ทของเขาอยู่ตลอดเวลา

-เขาเชื่อว่าราคาเคลื่อนไหวนำหน้าปัจจัยพื้นฐาน

-เขาไม่เคยสนใจกับความผิดพลาดที่ได้เกิดขึ้น ถึงแม้ว่ามันจะพึ่งผ่านมาไม่ถึง 3 วินาที แต่เขาจะสนใจว่าเขาจะทำอะไรต่อไปนับจากวินาทีนี้เป็นต้นไป

-อย่าพยายามเป็นฮีโร่ อย่ามีอีโก้หรือทระนงตนเอง ต้องพยายามหมั่นตั้งคำถามกับตัวเอง และความสามารถของตนเองอยู่เสมอ อย่าได้เหลิงคิดไปว่าเราคือสุดยอด และเมื่อไหร่ที่เผลอคิดไป นั่นจะเป็นหนทางสู่ความตายของเรา

มาที่ http://www.mangmaoclub.com

7/09/2011

อิตาลีนับถอยหลังวิกฤตหนี้จ่อคอหอย

และแล้วสิ่งที่ทุกฝ่ายกังวลก็เกิดขึ้นจนได้เมื่อ Moody’s บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงินชั้นนำของโลก

ประกาศพิจารณาความน่าเชื่อถือของธนาคารสัญชาติอิตาลีถึง 13 แห่ง ขู่ว่าอาจถึงขั้นลดระดับเครดิตลงมาอยู่ในระดับติดลบ หรือ Negative อีกทั้งยังขู่ที่จะเปิดกระบวนการพิจารณาเครดิตระยะยาวของธนาคารสัญชาติอิตาลีอีก 16 แห่ง เนื่องจากเสถียรภาพทางการเงินเริ่มสั่นคลอน

ความเคลื่อนไหวล่าสุดนี้ตอกย้ำให้ชาวโลกได้ประจักษ์ว่า โอกาสที่วิกฤตหนี้สาธารณะจะลุกลามไปทั่วภูมิภาคยังมีอยู่สูงมาก แม้ว่ากรีซจะได้ผ่านความเห็นชอบของสหภาพยุโรป (EU) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) จนสามารถเดินหน้าแก้ไขวิกฤตหนี้สาธารณะในระดับต่อไปได้แล้วก็ตาม

นับตั้งแต่ต้นปีแล้วที่อิตาลีอยู่ในรายชื่อประเทศที่สุ่มเสี่ยงจะจมดิ่งในวิกฤตหนี้สาธารณะ ถึงกับได้รับสมญานามเป็นหนึ่งในประเทศ PIGS หรือประเทศที่มีหนี้กองสุมพร้อมทั้งปัญหาเศรษฐกิจจนยากจะเยียวยา อันประกอบไปด้วย โปรตุเกส (P) อิตาลี (I) กรีซ (G) และสเปน (S)

อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมาอิตาลีเจ้าของอักษร I ถูกแทนที่ด้วยไอร์แลนด์ ซึ่งมีอักษรนำหน้าด้วยตัว I เหมือนกัน ขณะที่สเปน ยังไม่เลวร้ายถึงขั้นขอความช่วยเหลือจาก EU และ IMF แต่อาการร่อแร่เต็มที

นอกจากนี้ คำเรียกขานกลุ่มประเทศ PIGS ยังกลายเป็นคำต้องห้ามในหลายกรณี เพราะพ้องกับคำแปลถึงสัตว์ 4 เท้า ซึ่งมีนัยเหยียดหยามเจ้าของประเทศ กระแสการเฝ้าจับตาระวังกลุ่มประเทศที่เหลือจึงค่อยๆ เบาบางลง โดยเฉพาะการจับตาสถานการณ์ทางการเงินในอิตาลี

แม้จะรอดมาได้ แต่ที่ผ่านมาวงการเศรษฐกิจยังคาดหมายว่าอิตาลีอาจประสบปัญหาเกี่ยวกับหนี้สาธารณะไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เนื่องจากมีระดับหนี้ที่สูงถึง 119% ของสัดส่วน และครองเป็นอันดับที่ 8 ของโลก ในยุโรปเป็นรองก็แต่เพียงกรีซในลำดับที่ 5 ของโลก และไอซ์แลนด์ในอันดับที่ 6 ซึ่งแม้ไอซ์แลนด์จะอยู่นอกกลุ่ม EU และไม่ได้ขอรับความช่วยเหลือทางการเงิน แต่ประเทศนี้อยู่ในภาวะใกล้ล้มละลายมาตั้งแต่ปี 2550 เพราะความเกี่ยวพันอย่างเหนียวแน่นกับวิกฤตซับไพรม์ของสหรัฐ

นักวิเคราะห์บางรายถึงกับเคยกล่าวอย่างเชื่อมั่นไว้เมื่อช่วงต้นปีว่า หากสเปนต้องขอรับความช่วยเหลือจากวิกฤตการเงินเป็นรายที่ 4 ต่อจากโปรตุเกสแล้ว ในเวลาอีกไม่นานอิตาลีจะกลายเป็นรายต่อไป

วันนี้สเปนยังไม่ขอรับความช่วยเหลือ แต่ก็เฉียดเต็มที พิจารณาจากปัญหาเศรษฐกิจที่รุมเร้าอย่างหนัก โดยเฉพาะอัตราว่างงานที่สูงกว่า 20% หรือสูงที่สุดแห่งหนึ่งในโลก และเหนือกว่าทุกประเทศในกลุ่มอุตสาหกรรม

หากสเปนไม่สามารถฟื้นความแข็งแกร่งให้กับระบบเศรษฐกิจ ต่อให้สเปนสามารถอัดฉีดทุนช่วยกู้สถานะของธนาคารที่ประสบปัญหาสภาพคล่องได้ ในที่สุดก็คงไม่อาจฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่งแน่นอน

กรณีของอิตาลีก็เช่นเดียวกัน เสียแต่ว่าอิตาลียังไม่มีความพยายามใดๆ จากภาครัฐที่จะสกัดกั้นมิให้ธนาคารประสบกับปัญหาร้ายแรง หรืออย่างน้อยก็ตอบโต้บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงิน ที่บ่อนทำลายความน่าเชื่อถือของสถาบันการเงินยุโรปครั้งแล้วครั้งเล่า

เป็นไปได้ว่า ภาครัฐยังไม่เห็นว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับธนาคารในประเทศเป็นปัญหา เพราะธนาคารที่อยู่ในบัญชีพิจารณาของ Moody’s ล้วนแต่เป็นธนาคารขนาดเล็กและขนาดกลาง

ต่างจากวิกฤตที่รุมเร้าไอร์แลนด์ ซึ่งแม้จะไม่ใช่ผลมาจากหนี้สาธารณะแต่มาจากความสั่นคลอนที่เกิดขึ้นกับธนาคาร ซึ่งล้วนแต่เป็นธนาคารระดับ Top 5 โดยรายหนึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ

นอกจากนี้ อิตาลียังเชื่อมั่นว่าระบบธนาคารของตนมีความแข็งแกร่ง ซึ่งมีส่วนจริงอยู่ไม่น้อย เนื่องจากอิตาลีขึ้นชื่อลือชาในเรื่องธุรกิจการเงินและนายแบงก์ที่มีชื่อเสียงมาตั้งสมัยศตวรรษที่ 15 จากประสบการณ์นับร้อยปี ทำให้สถาบันการเงินของอิตาลีเรียนรู้จากประสบการณ์ความสำเร็จและล้มเหลวมานับครั้งไม่ถ้วน

ที่สำคัญก็คือ ธรรมเนียมอย่างหนึ่งที่ช่วยรักษาเสถียรภาพทางการเงินให้ธนาคารสัญชาติอิตาลี คือธรรมเนียมการปล่อยเงินกู้ที่เคร่งครัด ทั้งยังมีทุนสำรองสูงมากเมื่อเทียบกับธนาคารของประเทศอื่นๆ ในยุโรป

ด้วยปัจจัยเหล่านี้ ระบบการเงินการธนาคารจึงสามารถต้านทานกับวิกฤตการเงินโลกได้มากกว่าธนาคารในยุโรป

ด้วยเหตุนี้ระดับความน่าเชื่อถือของธนาคารอิตาลีจึงไล่เลี่ยอยู่ที่ AA หรือระดับ A ซึ่งถือว่าดีไม่น้อย และเหมาะกับการลงทุนอย่างยิ่ง

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีความแข็งแกร่งเพียงใด เมื่อกระทบเข้ากับความกังวลเกี่ยวกับการลุกลามของวิกฤตหนี้สาธารณะ บวกกับภาวะเศรษฐกิจซบเซา ทำให้ธุรกิจธนาคารของอิตาลีถูกจับตามองอย่างหวาดระแวงมากขึ้น ว่าอาจมีจุดจบเหมือนกับธนาคารสัญชาติไอร์แลนด์ ที่ถึงกับทำให้ทั้งประเทศหมิ่นเหม่กับการล้มละลาย

สถานการณ์ของอิตาลีอาจคล้ายคลึงกับไอร์แลนด์ แต่หากเจาะให้ลึกยิ่งขึ้น จะพบว่ากรณีนี้เหมือนกับสเปนไม่มีผิดเพี้ยน

ธนาคารของสเปนที่มีปัญหาสภาพคล่องส่วนใหญ่เป็นธนาคารในระดับกลางและขนาดย่อม อีกทั้งยังมีปัญหาเศรษฐกิจซบเซา ธนาคารกลางสเปนคาดว่า ในปีนี้จะมีอัตราการขยายตัวเพียง 0.8% เช่นเดียวกับอิตาลี ที่คาดว่าจะขยายตัวเพียง 1.1% นับได้ว่าแทบปราศจากแรงหนุนโดยสิ้นเชิง

ต้องจับตากันว่า หากสเปนมีอันเป็นไปอีกราย อิตาลีมีโอกาสสูงที่จะเดินตามรอยไปสู่หายนะทางการเงิน ด้วยเหตุและปัจจัยที่คล้ายคลึงกัน

อีกทั้งยังมีระดับหนี้สาธารณะที่สูงกว่าสเปนถึงกว่าเท่าตัว

28 มิถุนายน 2554 เวลา 08:08 น.

โดย...ทีมข่าวต่างประเทศ Posttoday

5/23/2011

ปัจจัยสำคัญ 4 อย่างที่จะทำให้คุณอยู่รอดในตลาดได้ในระยะยาว

market-analysis •ระบบ(System)
•ระเบียบ(วินัย) (Discipline)
•การบริหารเงิน (Money management)
•การควบคุมอารมณ์ (Emotional management)



ซึ่ง ทั้งสี่ปัจจัยนี้ สัมพันธ์กันอยู่เหมือนก้อนหินที่เราเอามาตั้งเป็นก้อนเส้าทำเตาไฟ ถ้าดึงก้อนใดก้อนหนึ่งออก เตาก็จะอยู่ไม่ได้ต้องล้มลง



1.ระบบ


ระบบที่ว่านี้จะเป็นอะไรก็ได้ ที่ถนัด หรือเคยใช้ ไม่ว่าจะเป็นอินดิเคเตอร์ตัวใดตัวหนึ่ง , price pattern, ซื้อขายตามแนวต้านแนวรับ ฯลฯ แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ ก่อนนำมาใช้ควรได้มีการทดสอบมาก่อนว่าระบบนี้ มีความคาดหวังเป็นบวก (positive expectancy)


Expectancy คือ จำนวนเงินเท่าไรที่เราคาดหวังว่าจะได้รับจากเงินแต่ละหน่วย(บาท/ดอลลาร์ etc.)ที่เราเสี่ยงลงไปเทรด ซึ่งค่า expectancy ก็จะต้องเป็นบวก หมายถึงว่าระบบนี้ทำกำไรได้ ถ้า expectancy เป็นลบก็หมายถึงระบบนี้ขาดทุน เล่นแล้วเจ๊ง

ค่า Expectancy จะได้มาอย่างไร? : ค่านี้ก็ต้องได้จากการคำนวณ โดยเก็บข้อมูลจากการเทรดจริงหรือเทรดสมมุติก็แล้วแต่ ด้วยจำนวนครั้งการเทรดที่มากพอ (แนะนำจำนวน 30 ครั้งขึ้นไปตามหลักสถิติสำหรับการวิจัย และ แนะนำว่าสำหรับมือใหม่ ควรทำการเทรดสมมุติเพื่อทดสอบระบบก่อน เพราะถ้าเทรดจริง เงินที่ลงไปมันก็เงินจริงและเป็นเงินของคุณ ถ้าระบบมันเจ๊ง ก็เจ๊งเป็นเงินจริงนะ)

การเก็บข้อมูลก็ง่ายๆไม่ซับซ้อน คือบันทึกสถิติเหล่านี้
•จำนวนครั้งที่เทรดถูก (Win trade)
•จำนวนครั้งที่เทรดผิด(Loss Trade)
•จำนวนเงินที่ได้กำไรแต่ละครั้ง
•จำนวนเงินที่ขาดทุนแต่ละครั้ง

คำนวณตามสูตรนี้
Expectancy = Win rate(%)x Average Win – Loss rate(%)xAverage Loss




Win rate = อัตราการเทรดถูก (%) = จำนวนครั้งที่เทรดถูก/จำนวนการเทรดทั้งหมดX100
Average Win = จำนวนเงินที่ได้กำไรเฉลี่ย = จำนวนเงินที่กำไรทั้งหมด/จำนวนครั้งที่เทรดถูก
Loss rate = อัตราการเทรดผิด (%) = จำนวนครั้งที่เทรดผิด/จำนวนการเทรดทั้งหมดX100
(หรือเอา 100-Win rate ก็ได้เหมือนกันใช่ป่าวล่ะ)
Average Loss = จำนวนเงินที่ได้ขาดทุนเฉลี่ย = จำนวนเงินที่ขาดทุนทั้งหมด/จำนวนครั้งที่เทรดผิด


ตัวอย่าง


ระบบ A
มี Win rate = 50%, Average win = 7000 บาท Loss rate = 50% Average Loss = 4000 บาท
ระบบ A จะมี Expectancy = 0.5x7000-0.5x4000 = 1500 บาท
ดัง นั้นระบบ A มีความคาดหวังเป็นบวก (positive expectancy) หากเราเทรดด้วยระบบ A ไปเรื่อยๆในระยะยาว ผลที่ได้คือกำไรที่จะทยอยสะสมเพิ่มขึ้นมา

ระบบ B
มี Win rate = 70%, Average win = 3000 บาท Loss rate = 30% Average Loss = 8000 บาท
ระบบ B จะมี Expectancy = 0.7x3000-0.3x8000 = -300 บาท
ดัง นั้น ระบบ B มีความคาดหวังเป็นลบ (Negative expectancy) หากเราเทรดด้วยระบบ B ไป ในที่สุดแล้วเราจะลงเอยด้วยการขาดทุน ต้นทุนจะหายไปเรื่อยๆ

ระบบ C
มี Win rate = 30%, Average win = 12000 บาท Loss rate = 70% Average Loss = 2500 บาท
ระบบ C จะมี Expectancy = 0.3x12000-0.7x2500 = 1500 บาท
ดังนั้นระบบ C มีความคาดหวังเป็นบวก (positive expectancy) หากเราเทรดด้วยระบบ C ไปเรื่อยๆในระยะยาว ผลที่ได้คือกำไรเช่นกัน

ยกตัวอย่างระบบ C ขึ้นมานี้ เพื่อชี้ให้เห็นสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่หรือมือเก่ามักจะลืมคิดไป ....นั่นคือ
สิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำผลกำไรให้ในระยะยาว ไม่ใช่จำนวนครั้งที่เทรดถูกหรืออัตราการเทรดถูก (%win) แต่เป็น จำนวนเงินกำไรเฉลี่ยที่ทำได้ในการเทรดแต่ละครั้ง (Average Win) ต่างหาก
ลองสังเกตจากระบบ C มีอัตราการเทรดถูกต่ำมากคือ 30% เรียกว่าเข้าเทรด 10 ครั้ง ผิดซะ 7 ครั้งว่างั้นเถอะ แต่ระบบ C กลับสามารถทำกำไรได้ในระยะยาว เพราะครั้งที่เทรดถูก กินคำใหญ่ได้กำไรก้อนโต ส่วนครั้งที่เทรดผิดนั้น ผิดบ่อยก็จริงแต่ขาดทุนน้อยเป็นก้อนเล็กๆ ผลรวมที่ได้จึงออกมาเป็นกำไร
(ระบบลักษณะนี้เป็นประเภท trend –following อย่างเช่นการใช้ MACD )

ข้อสรุปในเรื่องเกี่ยวกับระบบ สิ่งสำคัญที่เป็น Take –home message สำหรับมือใหม่
คือ
1.หาระบบที่ชอบและที่ใช่ โดยการทดสอบมันก่อนว่ามี positive expectancy
2.เมื่อได้ระบบนั้นแล้วก็ต้องใช้มันอย่างยึดมั่นและอดทน เพราะการที่ระบบจะทำกำไรได้ ต้องใช้เวลาคือผ่านจำนวนครั้งในการเทรดที่มากพอ ผ่านช่วงเวลาที่เป็น false signals / String of losing trades จนกระทั่งผลลัพธ์ของ positive expectancy แสดงผลออกมา การที่คุณนำระบบมาใช้แค่ประเดี๋ยวประด๋าว เทรดสี่ห้าครั้งแล้วไม่กำไร ก็ใจร้อนเกิดความไม่พอใจ เลิกใช้เปลี่ยนไปหาระบบอื่น อย่างนี้เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง ลองคิดดูตามดูระบบ C ก็ได้ ในเมื่ออัตราการเทรดถูกมันแค่ 30% หากคุณเลือกระบบ C คุณอาจจะต้องพบกับการขาดทุนต่อเนื่องถึง 7 ครั้ง (string of losses)จนกระทั่งครั้งที่ 8 ของการเทรดจึงจะเริ่มได้กำไรอาจก็เป็นได้ เรื่องนี้ถูกหรือไม่ลองใช้สมองตรึกตรองดู หากคุณไม่ยึดมั่นกับระบบที่เลือกมาใช้และใช้มันให้นานพอ หาก คุณใจร้อนเปลี่ยนระบบใหม่อยู่ตลอดเวลา ก็เท่ากับเริ่มนับหนึ่งใหม่ตลอด เหมือนพายเรือในอ่างน้ำวน อยู่ในวงจรอุบาทว์ ชาตินี้จะไม่มีวันประสบผลสำเร็จในการเทรดได้เลย


2.ระเบียบ(วินัย)


ในการเป็นเทรดเดอร์ การมีวินัยเป็นสิ่งสำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งที่จะทำให้ประสบผลสำเร็จ เพราะหากเราไม่มีวินัยเสียแล้ว สิ่งอื่นๆที่เป็นผลเสียก็จะไม่ตามมา เช่น
•ไม่สามารถใช้ระบบอย่างต่อเนื่องได้เพราะขาดวินัย
•ไม่ปรับปรุงพัฒนาตัวเองเพราะขาดวินัยในเรื่องความขยันหมั่นเพียร
•ปล่อยให้ความโลภเข้าครอบงำจิตใจเพราะขาดวินัยในการควบคุมตนเอง
เหล่านี้ทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนถึงความหายนะที่รอคอยอยู่เบื้องหน้า ในเรื่องของความมีวินัย บางคนมีอยู่แล้วจึงไม่ใช่เรื่องยาก แต่บางคนไม่มี จำเป็นต้องฝึกฝนให้เกิดขึ้น ซึ่งต้องใช้เวลาและความเพียรในการฝึกฝน
โดย ส่วนตัวแล้วมีความเห็นว่า การเทรดตามระบบ (systematic trading) โดยการทำตัวเหมือนหุ่นยนต์ ทำตามคำสั่งของระบบ โดยไม่มีข้อแม้ เป็นวิธีหนึ่งที่จะฝึกฝนให้เกิดวินัยในตนเองได้เป็นอย่างดี แต่ต้องใช้เวลาและความเพียรในการฝึกฝน (จะเห็นว่า ผู้เขียนเน้นเรื่อง”ความเพียร”บ่อยมาก เพราะเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งยวดที่จะต้องมีหากอยากประสบผลสำเร็จ)



3.Money management


เป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่คนทั่วไปมักไม่ค่อยกล่าวถึงกันนัก หากเรามีระบบดีและมีวินัยแล้วจะประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง แต่หากมี Money management ที่ดีด้วย จะได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นอีกหลายเท่า
เรื่อง ของ Money management เป็นเรื่องยาว เขียนเป็นตำราได้เล่มโตๆ ซึ่งรายละเอียดปลีกย่อย คงต้องไปศึกษาหาอ่านกันเอาเอง ขอสรุปไว้แค่สองข้อใหญ่ดังนี้


•ควรเริ่มต้นเทรดด้วยต้นทุนที่เพียงพอ (Sufficient capital)
ก็เพราะว่าหากเราเทรดตามระบบแต่เริ่มต้นด้วยทุนน้อยเกินไป สายป่านยาวไม่พออาจะขาดเสียก่อนที่ระบบจะแสดงผลลัพธ์ที่เป็นบวกให้เห็น โดยส่วนตัวคิดว่าการเทรดฟิวเจอร์ 1 สัญญาควรมีเงินต้นทุนรองรังอย่างน้อยที่สุด 150,000 บาท จึงจะอยู่รอดในระยะยาว นี่ พูดถึงในกรณีมีระบบที่มี expectancy เป็นบวกค่อนข้างสูงด้วยนะ หากว่า expectancy ต่ำ ก็อาจจะต้องมีเงินมากกว่านี้ไว้เป็นภูมิคุ้มกันจึงจะปลอดภัย การเข้าเทรดฟิวเจอร์ด้วยจำนวนเงินน้อยนิด เช่นมีเงินอยู่ 60,000 ก็เข้าไปเทรดนั้น ไม่ต่างจากการเล่นการพนันเลยแม้แต่น้อย เทรดผิดครั้งหนึ่งหรือสองครั้งเท่านั้นก็หมดโอกาสแล้วเพราะเหลือเงินไม่พอวางประกัน ดังนั้นถ้าไม่อยากเสียเงินฟรีก็อย่าทำ อย่าหวังรวยเร็วจากเงินน้อยๆเพราะไม่มีใครทำได้ หากจะมีก็เป็นเรื่องของความบังเอิญ


•การเพิ่มจำนวนสัญญาในการเทรด
ควร เป็นไปตามหลักการ ตามแต่จะเลือกมาใช้ ส่วนใหญ่ที่รู้จักกันดีก็มีอยู่สองวิธีหลักๆ ได้แก่ Fixed-Fractional method กับ Fixed-ratio method ลองไปหาอ่านกันดู เป็นเรื่องไม่ยาก



4.การควบคุมอารมณ์


คำพระท่านว่า “ชนะใจตน ชนะคนทั้งโลก”
การควบคุมอารมณ์และจิตใจของตนเป็นเรื่องสำคัญที่สุดของที่สุดของการประสบผลสำเร็จในการเป็นเทรดเดอร์ เพราะหากคุณควบคุมอารมณ์และจิตใจของตนเองไม่ได้ คุณก็ไม่สามารถมีวินัย ไม่สามารถปฏิบัติตามระบบ ไม่สามารถใช้ money management ได้ เพราะอารมณ์ที่ครอบงำจิตใจของคุณจะทำให้คุณหลงทางอยู่ในความเกียจคร้าน ความโลภและความกลัว ไม่สามารถลดละเลิกอัตตาตัวกูของกู ไม่สามารถยอมรับความผิดพลาดในการเทรดได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่นำมาซึ่งหายนะในการเป็นเทรดเดอร์ มือใหม่ที่เข้าสู่ตลาด ไม่มีใครหรอกที่ใจนิ่งได้ตั้งแต่แรก ทุกคนย่อมต้องผ่านเวลาและประสบการณ์ทั้งนั้น โดยประสบการณ์ส่วนตัวคิดว่าใช้เวลาประมาณ 3 ปีเศษขึ้นไป กว่าที่ใจจะเริ่มนิ่งและเริ่มคุ้นเคยกับวงจรหรือพฤติกรรมบางอย่างของตลาด โดยเฉพาะการสร้างภูมิคุ้มกันต่อคำพูดเหล่านี้คือ
“เค้าเล่าว่า.... เซียนบอกว่า.... นักวิเคราะห์เขาว่า....” และก็เช่นเคย ทางลัดของการฝึกควบคุมอารณ์นั้นก็คือการใช้ระบบเข้ามาจับตั้งแต่แรก การ มีระบบรองรับนั้นเหมือนการมีทุ่นหรือหลักให้พักพิง ทำให้ไม่หวั่นไหวเคว้งคว้างไปตาม volatility ของตลาดซึ่งไม่ต่างจากคลื่นที่คอยกระแทกกระทั้นให้เรือน้อยต้องอัปปางลง

4/30/2011

เฟด กับการรอโอกาสเปิด QE3

money เป็นไปตามคาดการณ์ของหลายฝ่าย เมื่อธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะยุติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2 ผ่านการผ่อนปรนเชิงปริมาณ หรือ QE2 ตามกำหนดการเดิมในเดือนมิ.ย. นี้ โดยไม่มีการยุติมาตรการลงกลางคัน ดังที่เคยมีกระแสถกเถียงกัน หลังจากที่เศรษฐกิจสหรัฐเริ่มแสดงอาการที่ดีขึ้น

“เรากำลังจะยุติมาตรการการซื้อพันธบัตร” คือคำกล่าวยืนยันจาก เบน เบอร์แนนคี ผู้ว่าการ เฟด และถือเป็นคำกล่าวที่ค่อนข้างมีน้ำหนัก หากพิจารณาจากการที่ผู้ว่าการ เฟด ได้กล่าวประโยคนี้ต่อหน้าสื่อมวลชนเป็นครั้งแรก และเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ 97 ปีที่ เฟด จัดแถลงข่าวต่อหน้าสื่อ

ก่อนหน้านี้ เฟด มักเปิดเผยรายละเอียดมติและความเห็นของที่ประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบาย (FOMC) ในช่วงเดือนหลังการประชุม และเป็นการเปิดเผยเฉพาะตัวรายงานสรุปการประชุมเท่านั้น

คำยืนยันและการสร้างปรากฏการณ์ใหม่ของ เบอร์แนนคี เป็นการตอกย้ำถึงความน่าเชื่อถือของ เฟด ให้ประชาชนสหรัฐและชาวโลกได้มั่นใจว่า การยุติมาตรการ QE2 เป็นไปตามครรลองที่เหมาะสมแล้ว

อย่างไรก็ตาม เบอร์แนนคี ไม่ได้ยืนยันว่าการยุติมาตรการ QE2 หมายถึงสภาพเศรษฐกิจที่ดีขึ้น หลังจากที่ รัฐบาลสหรัฐทุ่มงบประมาณไปกับการกระตุ้นเศรษฐกิจไปแล้วถึง 1.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ นับตั้งแต่ปี 2551 ตรงกันข้าม การยุติมาตรการ QE2 ตามกำหนด สะท้อนถึงเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นก่อนหน้านี้

เมื่อเดือน พ.ย. 2553 เฟด พยายามยุติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ QE2 ลงกลางคัน หลังจากที่ปรากฏสัญญาณบ่งชี้ถึงแนวโน้มการฟื้นตัว แต่แล้วสัญญาณบ่งชี้กลับเป็นสัญญาณลวงจน เฟด ต้องเริ่มมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแทบไม่ทันตั้งตัว เพราะด้วยสัญญาณลวง ยังผลให้สหรัฐถึงกับแทบเผชิญภาวะเศรษฐกิจถดถอยซ้ำซ้อน แม้แต่ในคราวนี้ตลาดทุนยังรับสัญญาณที่ผิดๆ จาก เฟด ยังผลให้ดัชนีแนสแด็ก ซื้อขายกันอย่างคึกคักที่สุดในรอบ 10 ปี

การยุติมาตรการ QE2 ตามกำหนดบ่งชี้ว่า เฟด จะไม่ยอมปล่อยให้สัญญาณลวงมาเดิมพันกับอนาคตของเศรษฐกิจอีกครั้ง และหากถึงกำหนดการถอนตัวจาก QE2 ในเดือน มิ.ย. นี้แล้ว หากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น โอกาสที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไป มีอยู่สูงพอสมควร

หมายความว่า เฟด จะคลอดมาตรการ QE3 ในอีกไม่นาน หลังจากยุติ QE2 เพื่อสำรวจปฏิกิริยาของเศรษฐกิจในชั่วระยะเวลาหนึ่ง

ปฏิกิริยาที่ว่านี้ คือ ความสามารถที่เศรษฐกิจจะเคลื่อนไปข้างหน้าได้โดยลำพัง ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาแรงกระตุ้นพิเศษอีกต่อไป เพราะหากยิ่งกระตุ้นมากขึ้น สหรัฐจะเผชิญกับภาวะ 2 สูง นั่นคือ อัตราว่างงานสูงและอัตราเงินเฟ้อสูงซึ่งเป็น 2 ปรากฏการณ์ที่ไม่เกิดขึ้นพร้อมๆ กัน แต่หากเกิดขึ้นพร้อมกันเมื่อใด หมายความว่าสหรัฐกำลังตกที่นั่งลำบากอย่างร้ายแรง

คณะกรรมการ FOMC ของเฟด แถลงว่า “อัตราการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐอยู่ในระดับพอประมาณและสภาพการณ์ในตลาดแรงงานฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง”

อย่างไรก็ตาม แถลงการณ์ของ FOMC ดูเหมือนจะขัดแย้งกับท่าทีและแถลงการณ์ก่อนหน้านี้อย่างสิ้นเชิง  แถลงการณ์ของ FOMC ระบุตัวเลขคาดการณ์ไว้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะขยายตัวที่3.1-3.3% ในปีนี้ ซึ่งแม้จะต่ำกว่าที่เคยประเมินไว้ แต่ยังนับว่าสูงกว่า ตัวเลขคาดการณ์ของ เบอร์แนนคี ที่เชื่อว่า จะขยายตัวที่ราว 2% ถือเป็นอัตราที่แสดงถึงอาการค่อนข้างอ่อนแรง

ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่า อัตราการขยายตัวช่วงไตรมาสแรกจะเหลือเพียง 2% จากไตรมาส 4 ปีที่แล้วที่ 3.1% มีอย่างหนึ่งที่ FOMC เบอร์แนนคี นักวิเคราะห์ และอาจรวมถึงรัฐบาลสหรัฐ เห็นตรงกันก็คือ บัดนี้ ภัยคุกคามจากภาวะเงินเฟ้อได้ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างมาก ซึ่งความกังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้ ไม่นับว่าผิดความคาดหมายนัก เพราะเฟด มักมีปฏิกิริยาต่อภาวะเงินเฟ้อที่รวดเร็วและบางครั้งถึงกับตื่นตูม

เฟด มักยกให้เงินเฟ้อเป็นปัญหาใหญ่ไม่น้อยกว่าปัญหาว่างงาน แต่ที่ผ่านมา เฟด มีความเปราะบางกับปัญหาเงินเฟ้อมากกว่า เนื่องจากคงจะเห็นว่า เงินเฟ้อจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการใช้จ่ายผู้บริโภค ซึ่งเป็นพลวัตหลักของเศรษฐกิจสหรัฐ เนื่องจากภาคการบริโภคมีสัดส่วนสูงถึง 3 ใน 4 ของระบบเศรษฐกิจ

ขณะที่ รัฐบาลสหรัฐ มักมีปฏิกิริยาที่เปราะบางกับปัญหาว่างงาน เพราะการว่างงานไม่เพียงกระทบต่อรายได้ของประชาชน ที่จะนำมาใช้จ่ายเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังเป็นดัชนีที่บ่งชี้ถึงความสามารถของรัฐบาลที่จะยกระดับการกินดีอยู่ดีของประชาชน หากตัวเลขเงินเฟ้อสูง เสถียรภาพของรัฐบาลย่อมจะสั่นคลอน

อาจกล่าวได้ว่า รัฐบาลมักให้น้ำหนักกับการว่างงานเท่าใด เฟด จะให้น้ำหนักกับเงินเฟ้อมากเท่านั้น วันนี้ อัตราเงินเฟ้อ แม้จะต่ำกว่า 4% แต่เริ่มสูงขึ้นจนถึง 3% แล้ว ส่วนอัตราว่างงานแม้จะลดลง แต่ยังอยู่ในโซนอันตรายที่ 89% ด้วยปัจจัยเหล่านี้ จึงไม่น่าประหลาดใจที่นักลงทุนและนักวิเคราะห์เชื่อว่า การยุติมาตรการ QE2มิได้หมายถึงการสิ้นสุดของภาวะเศรษฐกิจซบเซาแต่หมายถึงการหยุดพัก หากมาตรการ QE2 ไม่ได้ผลเต็มเม็ดเต็มหน่วยในช่วงไตรมาส 2 หรือเป็นเพียงสัญญาณบวกแบบลวงๆ ดังที่เคยเกิดขึ้นช่วงปลายปีที่แล้ว มีโอกาสที่ เฟด จะต้องหันกลับไตร่ตรองมาตรการที่เหมาะสมในขั้นตอนต่อไป

จนกว่าสหรัฐจะเข้าที่เข้าทางอย่างแท้จริงเราอาจได้เห็น QE อีกหลายเวอร์ชัน

Post Today
Last update : 4/29/2011

2/10/2011

โลกอาหรับสะเทือนเมื่อประชาชนลุกฮือ...จากตูนิเซียถึงอียิปต์

เมื่อกลางเดือนธันวาคมปีที่แล้ว นายมูฮัมหมัด บูอาซีซี บัณฑิตตกงานชาวตูนิเซีย ได้เผาตัวเองตายเพื่อประท้วงที่ถูกตำรวจจับข้อหาเปิดแผงลอยขายผักผลไม้โดย ไม่มีใบอนุญาต การตายของบูอาซีซีเป็นฟางเส้นสุดท้ายที่ทำให้ประชาชนที่ต้องหาอยู่หากิน อย่างยากลำบากเพราะปัญหาว่างงานและราคาอาหารที่พุ่งสูง ลุกฮือขึ้นมาต่อกรกับอำนาจรัฐที่กดขี่พวกเขามานาน

เมื่อประชาชนลุกขึ้นสู้เพื่อปากท้องของตนเอง ประธานาธิบดี ไซเน เอล อาบิดีน เบน อาลี แห่งตูนิเซีย ก็พยายามขายผ้าเอาหน้ารอดด้วยการให้คำมั่นว่าจะสร้างงานหลายแสนตำแหน่ง ลดราคาอาหาร จัดตั้งคณะกรรมการต่อต้านการคอร์รัปชั่น และปล่อยตัวผู้ประท้วงที่ถูกจับกุม แต่เหตุจลาจลก็ยังลุกลามไปอย่างรวดเร็ว จนนายเบนอาลีต้องรับปากว่าจะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกสมัยในอีก 3 ปีข้างหน้า แต่ผู้ประท้วงก็ยังเดินหน้าจัดการชุมนุมครั้งใหญ่เพื่อกดดันให้ผู้นำลงจาก ตำแหน่ง นายเบนอาลีตัดสินใจยุบสภาและประกาศจัดการเลือกตั้งก่อนกำหนด แต่สถานการณ์ก็ไม่ดีขึ้น

ในที่สุดการประท้วงที่ยืดเยื้อนานเกือบ 1 เดือน และมีผู้สังเวยชีวิตอย่างน้อย 200 คนก็ประสบผล เมื่อประธานาธิบดี ไซเน เอล อบิดีน เบน อาลี แห่งตูนิเซีย หลบหนีออกนอกประเทศไปเมื่อวันที่ 14 มกราคมที่ผ่านมา หลังครองอำนาจมาอย่างยาวนานกว่า 20 ปี ซึ่งการลงจากตำแหน่งของเขาถือเป็นครั้งแรกที่ผู้นำชาติอาหรับถูกบีบให้ลงจาก ตำแหน่งจากการประท้วงของภาคประชาชน

ปัจจุบันรัฐบาลแห่งชาติชุดใหม่ของตูนิเซียได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่งเป็น ที่เรียบร้อยแล้ว แต่ประชาชนบางส่วนยังออกมาชุมนุมประท้วงต่อไป เพื่อเรียกร้องให้บุคคลผู้มีความสัมพันธ์กับระบอบอำนาจเก่าลาออกจากคณะ รัฐมนตรีชุดปัจจุบัน ขณะเดียวกันนายกรัฐมนตรีมูฮัมหมัด กานนูชี ได้ให้คำมั่นว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่ภายในเวลา 6 เดือน

แม้ว่าสถานการณ์ทางการเมืองในตูนิเซียยังคงสันสบและมีความไม่แน่นอน แต่ความสำเร็จในการขับไล่ผู้นำเผด็จการได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับประชาชนใน อีกหลายประเทศทั่วโลกอาหรับ ซึ่งตกอยู่ในสถานการณ์คล้ายคลึงกัน นั่นคือการต้องหาเลี้ยงชีพอย่างอยากลำบาก ต้องทนถูกกดขี่ข่มเหง ทนกับการคอร์รัปชั่นของรัฐบาล รวมถึงต้องยอมให้อำนาจทางการเมืองและการเงินอยู่ในมือของคนเพียงกลุ่มเดียว โดยที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้ประโยชน์อย่างแท้จริง การต่อสู้ของประชาชนชาวอียิปต์จึงเปิดฉากขึ้น...

เริ่มต้นจากการที่ชายชาวอียิปต์อายุประมาณ 50 ปี ก่อเหตุจุดไฟเผาตัวเองใกล้กับรัฐสภาในกรุงไคโร เมืองหลวงของอียิปต์ เพื่อประท้วงรัฐบาลภายใต้การนำของประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค วัย 82 ปี ที่ปกครองประเทศมานานถึง 30 ปี แต่โชคดีที่ได้รับบาดเจ็บเพียงเล็กน้อย วันต่อมาชายวัย 25 ปีซึ่งกำลังตกงานได้จุดไฟเผาตัวเองจนเสียชีวิตในเมืองอเล็กซานเดรีย เมืองใหญ่อันดับสองของประเทศ และได้มีการประท้วงในลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นอีกหลายครั้งจนรัฐบาลอียิปต์ ต้องเร่งปราบปราม

วันอังคารที่ 25 มกราคม ชาวอียิปต์ได้เผยแพร่ข้อความเชิญชวนผ่านทางเว็บไซต์ทวิตเตอร์และเฟซบุ๊ก ให้ประชาชนหยุดงานประท้วงรัฐบาล โดยระบุว่าเป็นการปฏิวัติเพื่อต่อต้านความยากจน การทุจริต และการว่างงาน ผู้ชุมนุมหลายหมื่นคนได้มารวมตัวกันตามนัดหมายที่กรุงไคโร และอีกหลายเมืองทั่วประเทศ อาทิ เมืองอเล็กซานเดรีย เมืองสุเอซ เมืองแมนซูรา เมืองทันต้า เมืองอัสวาน และเมืองอัสสิอัต เป็นต้น โดยผู้ชุมนุมได้เรียกร้องเงื่อนไข 4 ข้อต่อรัฐบาล ได้แก่ ขอให้ประธานาธิบดีมูบารัคลาออก,ให้รัฐบาลนำโดยนายกรัฐมนตรีอาห์หมัด มาห์มุด มูฮัมหมัด นาเซฟ ลาออก,ยุบสมัชชาประชาชนและกำหนดวันเลือกตั้ง รวมทั้งจัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่มาจากการสนับสนุนของประชาชน

เหตุการณ์เริ่มทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงกลางคืนเมื่อผู้ชุมนุมเคลื่อนตัว จากบริเวณจัตุรัสตอห์รีร์ไปยังรัฐสภา โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ยิงแก๊สน้ำตาเพื่อสลายการชุมนุม ขณะที่ผู้ชุมนุมก็ตอบโต้ด้วยการขว้างปาก้อนหิน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน นอกจากนั้นยังมีการระงับการใช้งานเว็บไซต์ทวิตเตอร์ในอียิปต์ เพื่อป้องกันมิให้ผู้ชุมนุมใช้ทวิตเตอร์ปลุกระดมมวลชน

วันพุธที่ 26 มกราคม ทางการอียิปต์ที่กำลังเข้าตาจนประกาศสั่งห้ามชุมนุมประท้วงหรือจัดการเดิน ขบวน หากฝ่าฝืนจะถูกดำเนินคดี แต่ประชาชนหลายพันคนยังออกมาชุมนุมประท้วงในหลายเมืองทั่วประเทศเป็นวันที่ สอง ขณะที่การชุมนุมมีความรุนแรงมากขึ้น โดยผู้ชุมนุมบางส่วนได้ขว้างระเบิดขวดใส่ที่ทำการของรัฐจนเกิดเพลิงไหม้ มีการขว้างปาก้อนหิน เผายางรถยนต์ ทุบทำลายกระจกของร้านค้าในบริเวณใกล้เคียง ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ใช้แก๊สน้ำตา กระบอง และกระสุนยางสลายการชุมนุม ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มเติมรวมเป็น 6 คน และมีผู้ถูกจับกุมอย้างน้อย 1,000 คน

วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม การประท้วงยังคงดำเนินต่อไป ขณะที่นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ ออกมาวิงวอนให้ทุกฝ่ายอยู่ในความสงบ พร้อมเสนอแนะว่านี่คือโอกาสสำคัญที่รัฐบาลอียิปต์จะปฏิรูปการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนชาวอียิปต์ ซึ่งเกือบครึ่งหนึ่งจากทั้งหมด 80 ล้านคนมีรายได้วันละไม่ถึง 60 บาท ขณะเดียวกันสื่อยักษ์ใหญ่อย่างหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ก็แสดงความเห็นใจ ประชาชนชาวอียิปต์ และแนะนำให้ประธานาธิบดีมูบารัคตั้งโต๊ะเจรจากับแกนนำผู้ชุมนุม

ด้าน มูฮัมหมัด เอลบาราเด เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ และอดีตผู้อำนวยการสำนักงานปรมาณูระหว่างประเทศ (ไอเออีเอ) ออกมาระบุว่าประเทศอียิปต์ถึงคราวต้องเปลี่ยนแปลง และพร้อมที่จะเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงหากได้รับการร้องขอจากประชาชน และเขาจะบินจากกรุงเวียนนาเพื่อมาร่วมการชุมนุมในอียิปต์ ขณะเดียวกันขบวนการภราดรภาพมุสลิม (Muslim Brotherhood) กลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ประกาศว่าจะเข้าร่วมเดินขบวนประท้วงในวันพรุ่งนี้

นอกจากนั้น กระแสชุมนุมเรียกร้องในลักษณะเช่นนี้ยังเกิดขึ้นที่เมืองหลวงของเยเมน โดยชาวเยเมนหลายพันคนได้ออกมาเดินขบวนเพื่อขับไล่ประธานาธิบดีอาลี อับดุลเลาะห์ ซาเละห์ ให้พ้นจากตำแหน่งหลังปกครองประเทศมายาวนานกว่า 30 ปี

วันศุกร์ที่ 28 มกราคม ผู้ชุมนุมชาวอียิปต์ประกาศชุมนุมใหญ่หลังการประกอบพิธีทางศาสนาประจำวัน ศุกร์ โดยประชาชนนับหมื่นได้มารวมตัวแสดงจุดยืนอย่างต่อเนื่อง แม้ว่ากระทรวงมหาดไทยของอียิปต์ขู่ว่าจะดำเนินมาตรการเด็ดขาดกับกลุ่มผู้ ประท้วงก็ตาม ขณะที่ทางการอียิปต์ได้ระงับบริการโทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการปลุกระดมมวลชน นอกจากนั้นยังมีการใช้แก๊สน้ำตาและกระสุนยางสลายการชุมนุมในหลายพื้นที่ เหตุการณ์บานปลายเข้าสู่การจลาจล โดยฝูงชนที่โกรธแค้นแห่ศพผู้ที่ถูกกระสุนปืนเสียชีวิต ขณะที่บางส่วนเผารถยนต์ อาคารราชการ และทุบทำลายสถานีตำรวจ จนประธานาธิบดีมูบารัคต้องประกาศเคอร์ฟิวในเมืองไคโร สุเอซ และ อเล็กซานเดรีย ก่อนที่จะขยายประกาศเคอร์ฟิวไปทั่วประเทศ

ด้านนายโรเบิร์ต เกตส์ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐ ออกมาแสดงจุดยืนว่า สหรัฐสนับสนุนการปฏิรูปในตูนิเซียและอียิปต์ ทั้งในเรื่องการเมืองและสิทธิมนุษยชน เนื่องจากเล็งเห็นว่าเป็นหลักการขั้นพื้นฐานของการปกครอง

ขณะเดียวกันกระแสการชุมนุมได้ลุกลามสู่จอร์แดน โดยประชาชนหลายพันคนอาศัยช่วงพิธีสวดในตอนเย็น ชุมนุมอย่างสงบในกรุงอัมมานและเมืองอื่นๆ เพื่อกดดันให้รัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีซามีร์ ริฟาอิ ลาออก รวมทั้งให้มีการปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจ

วันเสาร์ที่ 29 มกราคม ประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค สั่งให้กองทัพนำรถถังออกมาจอดตามสถานที่สำคัญในกรุงไคโรเพื่อขู่ประชาชนที่ มาร่วมชุมนุม และประกาศว่าจะไม่ยอมลาออกจากตำแหน่งตามคำเรียกร้องของผู้ประท้วง ขณะที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ผู้นำสหรัฐ ต่อสายตรงถึงประธานาธิบดีมูบารัค โดยเตือนว่าอย่าใช้ความรุนแรงกับประชาชน

ในช่วงเที่ยงวันเดียวกัน คณะรัฐมนตรีอียิปต์ตัดสินใจลาออกในการประชุมนัดฉุกเฉิน แต่การชุมนุมยังดำเนินต่อไป เนื่องจากประธานาธิบดีมูบารัคยังคงไม่ยอมลงจากตำแหน่ง

ขณะเดียวกันก็เกิดความสับสนวุ่นวายทั่วประเทศ โดยนักโทษหลายพันคนก่อการจลาจลและพากันหลบหนีออกจากเรือนจำหลายแห่งทั่ว ประเทศ นอกจากนั้นยังมีกลุ่มโจรบุกปล้นพิพิธภัณฑ์กรุงไคโร ซึ่งเป็นสถานที่เก็บรักษาทรัพย์สมบัติของฟาโรห์ตุตันคามุน ทำให้รูปปั้นและมัมมี่อายุกว่า 2,000 ปีบางส่วนได้รับความเสียหาย แต่ทั้งหมดถูกตำรวจและประชาชนช่วยกันจับไว้ได้ขณะพยายามหลบหนี

วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม การชุมนุมขับไล่ประธานาธิบดีมูบารัคยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ยอดผู้เสียชีวิตมีอย่างน้อย 100 คนในหลายเมืองทั่วประเทศ ขณะที่รัฐบาลหลายประเทศ อาทิ ออสเตรเลีย อินเดีย และจีน เตือนพลเมืองไม่ให้เดินทางไปอียิปต์ในเวลานี้ ส่วนอีกหลายประเทศ อาทิ สหรัฐ แคนาดา ตุรกี อินเดีย และญี่ปุ่น ต่างส่งเครื่องบินไปรับพลเมืองของตนออกจากประเทศอียิปต์เป็นการด่วน

ขณะเดียวกัน มูฮัมหมัด เอลบาราเด อดีตผู้อำนวยการไอเออีเอ ได้เจรจาทำความตกกลงกับกลุ่มภราดรภาพมุสลิม และประกาศว่าเขาได้รับมอบอำนาจจากฝ่ายค้าน ให้เป็นผู้ทำการติดต่อกับฝ่ายทหาร และดำเนินการเจรจาเพื่อจัดตั้งรัฐบาลสามัคคีแห่งชาติขึ้นมา

กระแสการชุมนุมในทำนองเดียวกันยังลุกลามไปยังซูดาน โดยนักศึกษาซูดานนัดหมายกันทางอินเทอร์เน็ตให้ออกมาชุมนุมเดินขบวนเพื่อต่อ ต้านรัฐบาลเผด็จการของประธานาธิบดีโอมาร์ อัล-บาชีร์ โดยที่มหาวิทยาลัยอิสลามแห่งเมืองออมดุรมาน มีผู้ออกมาชุมนุมราว 1,000 คน และเกิดปะทะกับตำรวจปราบจลาจล ส่วนที่มหาวิทยาลัยอาห์ลิอาในเมืองเดียวกัน ก็มีนักศึกษาอีกราว 500 คน ออกมาชุมนุม

วันจันทร์ที่ 31 มกราคม กลุ่มผู้ชุนนุมในอียิปต์ปลุกระดมให้ประชาชนออกมาร่วมเดินขบวนประท้วงให้ถึง 1 ล้านคนในวันอังคาร เนื่องในโอกาสครบรอบ 1 สัปดาห์ของการประท้วงขับไล่ประธานาธิบดีมูบารัค พร้อมกับยืนยันว่าจะเดินหน้าประท้วงต่อไปโดยไม่มีกำหนด

ด้านประธานาธิบดีมูบารัคได้จัดตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ในช่วงบ่าย แต่ให้นายมาร์แชล ฮุสเซน รั้งตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหม และนายอาห์เหม็ด อาบูล เกห์ท รั้งตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศตามเดิม ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับผู้ชุมนุมที่ไม่ต้องการเห็นนักการเมืองหน้าเก่า ในคณะรัฐมนตรีชุดใหม่

ขณะเดียวกัน มูฮัมหมัด เอลบาราเด เสนอตัวเป็นผู้นำในการเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่การเลือกตั้งระบอบประชาธิปไตย อย่างไรก็ตาม พรรคฝ่ายค้านบางพรรคและผู้ชุมนุมบางส่วนไม่สนับสนุน โดยให้เหตุผลว่านายเอลบาราเดขาดประสบการณ์และใกล้ชิดสหรัฐมากเกินไป นอกจากนั้นยังมีตัวเลือกอีกจำนวนมากที่สามารถเป็นผู้นำได้ดีกว่าเอลบาราเด

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นวันนัดชุมนุมใหญ่ หรือ “วันรวมพลังมวลชน 1 ล้านคน" ทางการอียิปต์พยายามสกัดมวลชนด้วยการสั่งระงับการบริการรถไฟทั่วประเทศ แต่ไร้ผล เมื่อคลื่นมหาชนชาวอียิปต์ยังคงมารวมตัวกันที่จัตุรัสตอห์รีร์ในกรุงไคโร รวมถึงที่เมืองอเล็กซานเดรีย และตามเมืองอื่นๆทั่วประเทศ นอกจากนั้นแกนนำยังกำหนดเส้นตายให้ประธานาธิบดีมูบารัคลงจากอำนาจภายในวัน ศุกร์นี้

พลังของมวลชนที่ไม่มีที่ท่าว่าจะหมดลงทำให้ประธานาธิบดีมูบารัคมีท่าที โอนอ่อน โดยเขาแถลงผ่านสถานีโทรทัศน์แห่งชาติว่าจะไม่ลงชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีสมัย หน้าหลังหมดวาระในช่วงปลายปีนี้ ถึงกระนั้นผู้ชุมนุมก็ยังไม่พอใจ เนื่องจากต้องการให้ผู้นำอียิปต์ลงจากตำแหน่งในตอนนี้ และยืนยันว่าจะไม่มีการเจรจาใดๆ ทั้งสิ้นจนกว่านายมูบารัคจะลาออก

ล่าสุดมีรายงานว่าจำนวนผู้ประท้วงที่จัตุรัสตอห์รีร์ใจกลางกรุงไคโรมีนับ ล้านคนแล้ว โดยฝูงชนมีทั้งหญิง ชาย เด็ก และคนชรา ขณะที่เมืองอเล็กซานเดรียมีผู้ชุมนุมหลายหมื่นคน ส่วนเมืองไซไนมีผู้ชุมนุมหลายแสนคน

สำหรับตัวเลขผู้เสียชีวิตจากการชุมนุมประท้วงในอียิปต์อย่างเป็นทางการ ยังคงอยู่ที่ 97 คน แต่คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนแห่งองค์การสหประชาชาติประเมินว่า ยอดผู้เสียชีวิตระหว่างการชุมนุมน่าจะมีมากถึง 300 คน

สถานการณ์ทางการเมืองในอียิปต์กำลังขมวดปมเข้าไปทุกขณะ ประชาชนชาวอียิปต์จะได้มีความหวังกับชีวิตมากขึ้นเหมือนชาวตูนิเซียหรือไม่ เราคงต้องจับตาดูกันต่อไปแบบไม่กะพริบตา

อินโฟเควสท์ โดย ปรียพรรณ มีสุข/รัตนา

1/25/2011

ดิน-น้ำ-ลม-ไฟธาตุทั้งสี่ช่วยชี้ช่องลงทุน

คนแต่ละคนไม่ได้มีแค่ธาตุใดธาตุหนึ่งในตัวเอง แต่จะผสมผสานธาตุทั้งสี่เข้าด้วยกัน เพียงแต่จะมีธาตุใดที่โดดเด่นออกมาเป็นพิเศษเท่านั้น ซึ่งการจัดแบ่งธาตุโดยอาศัยราศีเกิดเป็นเพียงการบอกข้อมูลในเบื้องต้นเท่านั้น

ในเวลาแบบนี้เราคงต้องร่วมแรงร่วมใจกันอธิษฐานขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยปกปักรักษาให้เมืองไทยผ่านพ้นวิกฤตไปได้ และกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว เพราะวิถีชีวิตแบบไทยๆ ก็คงหนีไม่พ้นที่จะหวังพึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์และดวงดาวให้ช่วยชี้ทางสว่างให้กับชีวิต

แต่ใครจะไปรู้ว่าการลงทุนในตลาดหุ้นก็ใช้โชคชะตาราศีมาช่วยชี้ช่องการลงทุนได้เช่นเดียวกัน

“หมอช้าง” ทศพร ศรีตุลา หมอดูชื่อดังอีกคนหนึ่งของประเทศไทย กล่าวว่า ดวงคือการวางแผนชีวิต ซึ่งไม่ใช่เรื่องความรัก การงาน และครอบครัว แต่ยังรวมถึงการวางแผนการเงินและการลงทุนอีกด้วย

“ดวงจะบอกนิสัยของคนแต่ละคนว่าอยู่ในประเภทไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการเงิน ที่แต่ละคนจะมีวิธีคิด วิธีการใช้จ่ายต่างกัน ซึ่งคนเรามักจะไม่ค่อยรู้ตัวเอง ก็อาจจะทำให้ลงทุนอะไรไปโดยไม่รู้ตัว แต่ถ้ารู้เรื่องดวงก็สามารถช่วยได้” หมอช้างกล่าว

หมอช้าง บอกอีกว่า สามารถแบ่งคนออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ตามหลักธาตุทั้ง 4 ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม และธาตุไฟ โดยคนแต่ละธาตุจะมีคนที่อยู่ในราศีเกิด 3 ราศี

เช่นเดียวกับคุณที่ใช้ชื่อว่า “Pallas” (www.horauranian.com) ที่แม้จะไม่ได้เรียกตัวเองว่าหมอดูมืออาชีพ แต่เป็นเพียงพนักงานบริษัทเอกชนที่สนใจศึกษาด้านโหราศาสตร์ ซึ่งเขาพบว่าการแบ่งประเภทของนักลงทุนออกเป็น 4 กลุ่มตามบุคลิกและนิสัยด้านการลงทุนนั้นเป็นไปในทิศทางเดียวกับการแบ่งธาตุทั้ง 4

“การลงทุนที่เหมาะกับธาตุ หรือเหมาะกับจริตของตัวเองจะทำให้ลงทุนได้อย่างสบายใจ ซึ่ง เจ.พี. มอร์แกน นักธุรกิจชาวอเมริกันผู้ยิ่งใหญ่ยังเคยกล่าวไว้ว่า Millionaires don’t hire astrologers, Billionaires do” Pallas กล่าว

ธาตุไฟ : กล้าได้กล้าเสีย

คนที่อยู่ในธาตุไฟจะเป็นคนที่เกิดในราศีเมษ ราศีสิงห์ ราศีธนู (แต่วิธีการแบ่งวันเกิดของคนในแต่ละราศีของหมอช้างและ Pallas นั้นจะแตกต่างกัน)

หมอช้าง บอกว่า จุดเด่นของคนในกลุ่มธาตุไฟ คือ กล้าเสี่ยง กล้าได้กล้าเสีย จึงจะพบว่าคนในกลุ่มธาตุไฟชอบลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงทั้งหลาย เพราะเป็นคนที่ยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุนได้มากที่สุด ทำให้สามารถลงทุนที่มีความเสี่ยงได้ จึงเหมาะกับการลงทุนระยะสั้น

“แต่จุดเด่นของคนในธาตุไฟก็กลายเป็นจุดอ่อนของคนกลุ่มนี้ได้เช่นเดียวกัน เพราะเวลาตัดสินใจเรื่องการลงทุนอาจจะมาจากการเปิดรับข้อมูลข่าวสารที่น้อยไปหน่อย เพราะถ้าชอบ ถ้าถูกใจก็จะไม่ค่อยคิดอะไรมากนัก เพราะฉะนั้นเวลาที่จะซื้อหุ้นหรือลงทุนอะไรก็จะไม่ค่อยปรึกษาใคร ซื้อเอง ขายเอง เวลากำไรก็จะกำไรมาก แต่เวลาขาดทุนก็จะขาดทุนมากเช่นกัน”

“แต่ที่น่าเป็นห่วงที่สุด คือ คนราศีธนู เพราะคนราศีธนูจะมีความเป็นนักพนันอยู่ในตัวค่อนข้างสูง เพราะฉะนั้นในตลาดฟิวเจอร์สจะเจอคนราศีธนูได้ไม่ยาก และยังเป็นกลุ่มนักลงทุนที่ชอบเล่นหุ้นแบบหักลบกลบหนี้ แต่ไม่ใช่ว่าคนราศีธนูจะเป็นคนไม่มีเหตุผล แต่จะเป็นเหตุผลที่คิดเข้าข้างตัวเอง”

เพราะฉะนั้นคำแนะนำการลงทุนสำหรับคนธาตุไฟ หมอช้าง บอกว่า เวลาจะลงทุนอะไรก็ขอให้คิดถึงผลตอบแทนระยะกลางดูบ้าง อย่ามองแต่ผลตอบแทนระยะสั้น สำหรับกลุ่มธุรกิจที่เหมาะสำหรับ คนกลุ่มนี้ คือ ธุรกิจที่เกี่ยวกับไฟฟ้า พลังงาน โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับพลังงานความร้อน

ขณะที่ Pallas บอกว่า ธาตุไฟเป็นพวก “นักผจญภัย” ที่กล้าลงทุน มีความมั่นใจ ซึ่งจะเหมาะอย่างยิ่งที่จะทำธุรกิจส่วนตัว หรือ เลือกลงทุนในหุ้นที่เป็น “หุ้นเติบโต” หรือหุ้นของบริษัทที่อยู่ในช่วงขยายกิจการ ทำให้การเติบโตสูง

ตัวอย่างนักลงทุนธาตุไฟ คือ เซอร์ จอห์น เทมเพิลตัน ผู้ก่อตั้งกองทุนเทมเพิลตัน (ปัจจุบัน มาร์ก โมเบียส เป็นผู้จัดการกองทุน) ที่ประสบความสำเร็จจากการลงทุนในต่างประเทศ ทั้งๆ ที่ในเวลานั้นมีน้อยคนนักที่จะกล้า

ธาตุดิน : มุ่งมั่นตั้งใจ

คนที่อยู่ในธาตุดินจะเป็นคนที่เกิดในราศีพฤษภ ราศีกันย์ ราศีมังกร หรือราศีมังกร ซึ่งหมอช้าง บอกว่า เป็นราศีที่มีวิธีการลงทุนแบบ Conservative ที่สุดในบรรดาธาตุทั้ง 4

“ตามปกติของคนธาตุดินจะมีนิสัยการใช้เงินที่ประหยัด ออกจะตระหนี่ถี่เหนียว และไม่ชอบลงทุน เพราะฉะนั้นวิธีการลงทุนจะเป็นการซุกไว้ใต้หมอน หรือเก็บไว้ในตุ่ม เพราะไม่กล้าลงทุน และการลงทุนจะต้องการความคุ้มค่า ไม่ต้องการความเสี่ยง หรือแทบจะรับความเสี่ยงไม่ได้เลย จึงไม่ชอบการลงทุนแบบแปลกๆ ใหม่ๆ”

หมอช้าง ยังบอกอีกว่า ถ้าคิดจะลงทุนอะไรสักอย่าง คนธาตุดินจะคิดแล้วคิดอีก คิดอย่างละเอียดรอบคอบ แต่ข้อดีคือ ถ้าเข้าไปลงทุนแล้วผิดพลาด ติดดอย ก็จะมีความอดทนสูง ทำใจได้

“เพราะฉะนั้นคนกลุ่มธาตุดินเหมาะที่จะลงทุนระยะยาวๆ เน้นเก็บเงินปันผล หรือจะเป็นการลงทุนในพันธบัตรและตราสารหนี้ โดยธุรกิจที่เหมาะจะเข้าไปลงทุนควรจะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับทรัพย์ในดิน เช่น อสังหาริมทรัพย์ สินค้าโภคภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นทองคำ น้ำมัน สินค้าเกษตร ถ่านหิน รวมถึงพลังงาน

ขณะที่ Pallas อาจจะมองคนธาตุดินในมุมที่แตกต่างออกไปเล็กน้อย โดยเขาบอกว่า คนธาตุดินเป็นคนที่ทำอะไรด้วยความระมัดระวัง ใจเย็น และไม่เชื่อฟังใคร แต่จะศึกษาหาข้อมูลด้วยตัวเอง ทำให้เขาเรียกคนกลุ่มนี้ว่าเป็นพวก “ปัจเจกชน” และแนวการลงทุนที่เหมาะสม คือ การลงทุนหุ้นคุณค่า (Value Investor) หรือแนว VI แบบเดียวกับ วอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนแนว VI ผู้ยิ่งใหญ่ในยุคนี้

ธาตุน้ำ : อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล

หมอช้าง บอกว่า คนธาตุน้ำเป็นขั้วตรงข้ามของคนธาตุไฟ ซึ่งได้แก่คนที่เกิดในราศีกรกฎ ราศีพิจิก ราศีมีน เป็นธาตุที่ขึ้นชื่อเรื่องความอ่อนไหว

ปัญหาของคนธาตุน้ำ คือ เป็นคนที่ปรับตัวเข้าหาคนอื่นได้ง่าย ทำให้สามารถรับข้อมูลข่าวสารได้ดี แต่นั่นทำให้มีข้อมูลมากมายจนตัดสินใจไม่ถูกว่าจะเชื่อข้อมูลไหนดี

“สังเกตได้ง่ายๆ สำหรับคนธาตุน้ำ เวลาไปเดินซื้อของที่ตั้งแผงเรียงกันเป็นแถว คนธาตุน้ำจะไปซื้อแผงสุดท้าย เพราะจะรอโน่นรอนี่ ไม่ได้ซื้อสักที แต่พอมีข่าวร้ายอะไรก็เผ่นก่อน จึงกลายเป็นว่าเกือบๆ จะตกขบวน และยังไปไม่ทันถึงป้ายก็ลงมาเสียก่อน”

หมอช้าง จึงฝากเตือนคนธาตุน้ำว่า การเปิดรับข้อมูลข่าวสารให้รอบด้านเป็นเรื่องที่ดี แต่สิ่งที่สำคัญสำหรับคนธาตุน้ำมากกว่านั้น คือ ความมั่นใจ เพราะ “ยิ่งฟังมาก ยิ่งมากความ ตัวเองต้องวิเคราะห์ตัวเองให้ได้”

สำหรับธุรกิจที่เหมาะกับคนธาตุน้ำ คือ ธุรกิจที่เกี่ยวกับน้ำ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่ม เดินเรือ การบริการที่เก็บรายได้จากค่าเช่าหรือค่าสัมปทาน

เช่นเดียวกับ Pallas ที่บอกว่า คนธาตุน้ำมักจะใช้อารมณ์ในการตัดสินใจ หรือเป็นพวก “ตามแห่” แนวโน้มมาทางไหนก็จะตามไปทางนั้น หรืออาจจะเป็นพวกที่ทำตามอารมณ์ตัวเอง ทำให้มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จในการลงทุนได้น้อย

“ไม่แนะนำให้คนธาตุน้ำลงทุนในตลาดหุ้น เพราะจะเป็นคนที่หุ้นขึ้นก็ซื้อ หุ้นลงก็ขายทิ้ง ซึ่งจะพลาดท่าได้ง่าย เพราะฉะนั้นควรจะไปทำธุรกิจที่ตัวเองถนัด โดยเฉพาะธุรกิจที่ใช้จินตนาการเข้ามาผสม เพราะเป็นคนที่มีอารมณ์ศิลปินสูง แล้วไปลงทุนผ่านกองทุนรวมจะดีกว่า”

ธาตุลม : คิดเร็วทำเร็ว

คนที่อยู่ในกลุ่มธาตุลมจะเป็นคนที่เกิดในราศีเมถุน (หรือมิถุน) ราศีตุลย์ ราศีกุมภ์ ซึ่งหมอช้าง บอกว่า เป็นคนที่ค่อนข้างหวือหวา ลมเพลมพัด อิงกระแสค่อนข้างมาก

“เวลาฝนตกแล้วเปิดไฟนีออน คนธาตุลมจะไปเกาะอยู่เต็มไปหมด เพราะคนธาตุลมจะเป็นเหมือนแมลงเม่าบินเข้ากับดัก เพราะพอเห็นเขาปั่นหุ้นกัน คนธาตุลมก็จะเข้าไปลงทุน และมักจะชอบซื้อหุ้นที่ราคาพาร์ หรือหุ้นที่แตกพาร์ออกมาจะเห็นคนธาตุลมเข้าไปซื้อกันมาก แล้วก็อยู่คาหลอดนีออนก็มาก”

หมอช้าง บอกอีกว่า การลงทุนของคนธาตุลมที่ตามกระแสนั้นค่อนข้างอันตราย เพราะฉะนั้นควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ และมองข้อมูลให้รอบด้าน แต่ในขณะเดียวกันคนธาตุลมก็มีทักษะการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง จะสามารถมองหาโอกาสในวิกฤตได้เสมอ

สำหรับธุรกิจที่เหมาะกับคนธาตุลม คือ ธุรกิจที่เกี่ยวกับความบันเทิง การท่องเที่ยว การเดินทาง โรงแรม ของสวยๆ งามๆ พลังงานลม รวมทั้งการลงทุนในต่างประเทศ

ขณะที่ Pallas บอกว่า คนธาตุลมจะค่อนข้างระมัดระวัง รอบคอบ แต่ขี้วิตกกังวลแบบ “นักวิเคราะห์” เวลาคิดหรือทำอะไรจะเป็นพวกคิดเร็วทำเร็ว แต่คิดแล้วมักจะเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ทำให้คนธาตุลมเหมาะกับการลงทุนแบบรายวัน (Day Trade) เพียงแต่ต้องใช้ระบบเข้ามาช่วยในการตัดสินใจ และต้องทำตามระบบที่วางไว้ด้วย

อย่างไรก็ตาม Pallas บอกว่า คนแต่ละคนไม่ได้มีแค่ธาตุใดธาตุหนึ่งในตัวเอง แต่จะผสมผสานธาตุทั้งสี่เข้าด้วยกัน เพียงแต่จะมีธาตุใดที่โดดเด่นออกมาเป็นพิเศษเท่านั้น ซึ่งการจัดแบ่งธาตุโดยอาศัยราศีเกิดเป็นเพียงการบอกข้อมูลในเบื้องต้นเท่านั้น

แต่ถ้าไม่ชอบเรื่องโหราศาสตร์ดวงดาว ก็สามารถตรวจสอบบุคลิกภาพด้านการลงทุนของตัวเองได้จากแบบทดสอบบุคลิกภาพการลงทุน เพื่อให้รู้ว่าเรามีบุคลิกแบบไหน จะได้ลงทุนให้เหมาะกับตัวเองได้มากขึ้น

โดย...สวลี ตันกุลรัตน์
แหล่ง : โพสต์ ทูเดย์