การประชุมที่โทรอนโต มีโอกาสสูงมากที่จะปราศจากผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม หรือในระดับที่เลวร้ายที่สุด จะยิ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดช่องว่าง
การประชุมเวทีหนึ่งๆ ย่อมมีจุดที่หลากหลายไปตามวาระและเงื่อนไข แต่อย่างน้อยการประชุมแต่ละครั้งย่อมต้องมีจุดร่วมกันประการหนึ่ง นั่นคือการแสวงหาจุดร่วม และสงวนจุดต่าง เพื่อสลายสิ่งกีดขวางระหว่างทุกฝ่าย และเดินหน้าไปสู่จุดหมายร่วมกัน
การประชุม จี20 มีจุดประสงค์เช่นนั้นเช่นเดียวกัน
จากการประเมินวาระการประชุมสุดยอดผู้นำ จี20 ที่นครโทรอนโตของแคนาดา จะพบว่า วาระการประชุมมีความหลากหลายไปตามความต้องการของแต่ละประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่ทุกฝ่ายย่อมมีข้อเสนอที่แตกต่างกัน เพื่อนำมาแบบนโต๊ะประชุม แล้วหาทางออกที่ประนีประนอมที่สุด
อย่างไรก็ตาม นับวันเวที จี20 ยิ่งจะเป็นการประชุมที่ไร้ประโยชน์เข้าไปทุกขณะ เพราะเวทีจี20 ที่โทรอนโต ไม่ใช่ครั้งแรกที่ภาวะเสียงแตกระหว่างประเทศสมาชิกไม่อาจประสานให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้ จนทำให้การประชุมคว้าน้ำเหลว อีกทั้งยังกลายเป็นตัวถ่วงให้ความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจโลกในบางมิติ ต้องพลอยชะงักไปด้วย
หากไม่มีข้อสรุปที่เป็นรูปธรรม หรือมีเพียงแถลงการณ์การประชุมอย่างกว้างๆ ก็เป็นเพียงสำนวนโวหารที่ไม่อาจแก้ปัญหาได้ ในเมื่อไม่อาจแก้ปัญหาได้ ทุกประเทศก็คอยที่จะประชุมกันอยู่ร่ำไป ก่อนที่จะปฏิรูปเศรษฐกิจ เวทีประชุมทั้งหลาย รวมถึง จี20 จึงควรปรับปรุงแนวทางและเป้าหมายของตนเองเสียก่อน
การปรับปรุงกระบวนการหารือและตั้งผลสัมฤทธิ์ของการประชุม จี20 ให้ชัดเจน มีความสำคัญอย่างยิ่งหลังจากที่ จี20 ได้เข้ามาแทนที่จี8 เมื่อปีที่แล้ว ในฐานะที่ประชุมเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่มีความสำคัญที่สุด พิจารณาจากสัดส่วนเศรษฐกิจของสมาชิก จี20 ที่กินสัดส่วนถึง 85% ของเศรษฐกิจโลก อีกทั้งยังเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้ประเทศกำลังพัฒนาและพัฒนาแล้วเจรจากันด้วยอำนาจต่อรองที่เท่าเทียมกัน
จี20 จึงนับเป็นหัวหอกที่จะกำหนดทิศทางของเศรษฐกิจโลกอย่างแท้จริง และเป็นความหวังของชาวโลกในห้วงเวลาที่วิกฤตยังไร้วี่แววที่จะคลี่คลาย
แต่เมื่อเดินทางมาถึงทางแพร่งที่วิกฤตต่างๆ มาบรรจบและพบกับปัญหาหมักหมมคาราคาซัง จี20 เริ่มที่จะขยับเขยื้อนต่อไปไม่ถนัด โดยเฉพาะภาวะติดขัดจากกรณีความขัดแย้งยืดเยื้อที่จะชี้เป็นชี้ตายแนวโน้มเศรษฐกิจโลก
เมื่อไล่เรียงความแตกแยกที่ไม่อาจประสานทั้งที่ผ่านการประชุมระดับต่างๆ มาครั้งแล้วครั้งเล่าสามารถรวบรวมได้คร่าวๆ ดังนี้ค่าเงินหยวน คู่กรณีตลอดกาลคือจีนกับชาติตะวันตก ก่อนหน้า จี20 จะเปิดม่านไม่นาน จีนยอมอ่อนข้อด้วยการประกาศปล่อยเงินหยวนให้ยืดหยุ่นขึ้น แต่ชาติตะวันตกยังแสดงท่าที “ได้คืบจะเอาศอก”
การเปิดเสรีการค้า คู่กรณีคือประเทศกำลังพัฒนากับพัฒนาแล้ว เนื่องจากผลประโยชน์ด้านการค้าไม่ลงตัว ยังผลให้ที่ประชุมในคราวนี้ต้องลดระดับความคาดหวังที่จะไปให้ถึงข้อตกลงรอบโดฮา
การควบคุมระบบการเงิน คู่กรณีคือสหรัฐที่พยายามซื้อเวลาการวางมาตรการควบคุม ขณะที่ยุโรปต้องการล้อมคอกให้เร็วที่สุด
ประเด็นกระตุ้นเศรษฐกิจ คู่กรณีคือสหรัฐ ยุโรป และประเทศกำลังพัฒนา
อย่างไรก็ตาม ประเด็นไม่ลงรอยข้างต้นเป็นการมองในภาพกว้างเท่านั้น เพราะเมื่อลงในรายละเอียดมากขึ้นจะพบว่าผู้นำแต่ละประเทศล้วนมีข้อเสนอที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ตามเงื่อนไขของแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน แม้ว่าจะตกอยู่ในห้วงวิกฤตเช่นเดียวกันก็ตามตัวอย่างเช่น นาโอโตะ คัง นายกรัฐมนตรีคนล่าสุดของญี่ปุ่นเพิ่งผลักดันนโยบายขึ้นภาษีและกระตุ้นการใช้จ่ายของรัฐเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะของญี่ปุ่น นั่นคือภาวะเศรษฐกิจชะงักงันยาวนานถึง 2 ทศวรรษ
สตีเฟน ฮาร์เปอร์ นายกรัฐมนตรีของแคนาดา ในฐานะเจ้าภาพการประชุม คงไม่ปรารถนาการทุ่มงบประมาณของภาครัฐ เพราะขณะนี้ต้องคอยรับมือกับกรณีอื้อฉาวที่รัฐบาลใช้จ่ายงบประมาณฟุ่มเฟือยจนเป็นที่ครหาไปทั้งประเทศ
ประธานาธิบดี ดิมิทรี เมดเวเดฟ ของรัสเซีย ต้องการผลักดันให้รัสเซียเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าระหว่างประเทศ (WTO) หลังจากถูกสหรัฐพยายามเล่นแง่เพื่อขัดขวางมาโดยตลอด แต่โดยท่าทีของสหรัฐที่ยกข้อตกลงลดอาวุธนิวเคลียร์มาเป็นเงื่อนไขทางอ้อมแล้ว รัสเซียอาจต้องฝันค้างต่อไป ขณะที่เป้าหมายที่สมาชิก WTO จะก้าวไปให้ถึงข้อตกลงรอบโดฮาต้องกลายเป็นหมันเช่นกันในเวทีประชุมที่โทรอนโต
ความแตกต่างและแตกแยกเหล่านี้ ไม่เพียงไม่อาจหาทางออกในระยะยาวได้เท่านั้น พิจารณาจากผลการประชุม จี20 ครั้งที่ผ่านๆ มา แต่ยังมีประเด็นความขัดแย้งงอกเงยขึ้นมาไม่รู้จบ
ดังเช่น ล่าสุดเกิดความขัดแย้งระหว่างฝ่ายที่ต้องการให้ทุ่มงบประมาณรัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (สหรัฐ) ฝ่ายที่ต้องการที่รัดเข็มขัดงบประมาณ (ยุโรป) และฝ่ายที่เลือก “สองไม่เอา” เพราะเศรษฐกิจอยู่ในภาวะน่าพอใจ (ประเทศตลาดเกิดใหม่ เช่น บราซิล)
การประชุมที่โทรอนโต มีโอกาสสูงมากที่จะปราศจากผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม หรือในระดับที่เลวร้ายที่สุด จะยิ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดช่องว่างด้านการแก้ปัญหาระหว่างค่ายต่างๆ ในกลุ่ม จี20
เหมือนกับคราวประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกาหลีใต้ เมื่อช่วงต้นเดือนนี้ ซึ่งแถลงการณ์ปิดท้ายการประชุมเต็มไปด้วยการเอ่ยถึงแนวทางการแก้ปัญหาอย่างกว้างๆ ในความเข้าใจขณะนั้น ชาวโลกต่างเห็นรัฐมนตรีคลัง จี20 อาจผ่านการตัดสินใจสำคัญๆ ให้เป็นหน้าที่ของระดับผู้นำรัฐบาล
แต่ในความเป็นจริงแล้ว การวางแนวทางการตัดสินใจที่สำคัญมักทำกันในระดับรัฐมนตรี การประชุมในระดับผู้นำมักเป็นการหารือในระดับรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่ยังไม่ลงรอย
และโชคร้ายที่การประชุมระดับรัฐมนตรีเมื่อช่วงต้นเดือน มีนานาประเด็นที่ไม่อาจลงรอย และมีทีท่าจะไม่อาจลงรอยในระดับผู้นำประเทศเช่นกัน
การประชุม จี20 ที่โทรอนโต จึงไม่อาจเป็นเวทีแห่งความหวังมากนัก สำหรับเศรษฐกิจโลกที่ยังต้องมองหาความหวังอันริบหรี่
โพสต์ทูเดย์ 28 มิถุนายน 2553
"Self-conquest is the greats of victory" การชนะใจตนเอง คือ ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
6/28/2010
6/21/2010
ศึกแก้เกมค่าเงินหยวนสหรัฐ-จีนกับผลลัพธ์เกินหยั่ง
มูลค่าของเงินหยวนภายหลังการปล่อยให้ยืดหยุ่น ที่มีวี่แววจะยิ่งอ่อนค่าลงกว่าเดิม แทนที่จะแข็งค่า
ในที่สุดจีนยินยอมคล้อยตามแรงกดดันจากนานาประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐ ด้วยการประกาศว่า อาจปล่อยให้เงินหยวนเคลื่อนไหวขึ้นลงได้อย่างเสรีในเร็วๆ นี้ หลังจากที่ต้องทนฟังสหรัฐโอดครวญมาโดยตลอดว่า ค่าเงินหยวนอ่อนกว่าความเป็นจริง และยังผลให้สหรัฐต้องขาดดุลการค้าครั้งแล้วครั้งเล่า จนเศรษฐกิจไม่อาจเดินหน้าได้อย่างเต็มฝีก้าว
การตัดสินใจปล่อยค่าเงินหยวนให้ยืดหยุ่นยิ่งขึ้น อาจเป็นผลพวงมาจากท่าทีเอาจริงเอาจริงของรัฐบาลประธานาธิบดี บารัก โอบามา ที่ล่าสุดพยายามผลักดันกฎหมายเอาผิดจีนที่ตรึงค่าเงินหยวนให้อ่อนค่าจะกระทบต่อตัวเลขดุลการค้าของสหรัฐ
กฎหมายนี้แม้จะไม่เอาผิดจีนโดยตรง และเปิดช่องทางเล่นงานผ่านองค์การการค้าโลก (WTO) แต่ด้วยอิทธิพลที่ล้นหลามของสหรัฐในองค์กรระหว่างประเทศ ย่อมง่ายที่สหรัฐจะคว่ำบาตรทางการค้าต่อจีนโดยที่ WTO อาจคัดค้านพอเป็นพิธี
อย่างไรก็ตาม ปฏิกิริยาของจีน มิได้บ่งชี้ว่าจีนยำเกรงสหรัฐหรือต้องการโอนอ่อนผ่อนปรนแต่อย่างใด ตรงกันข้ามการปล่อยค่าเงินหยวนให้ยืดหยุ่นในครั้งนี้มีสัญญาณบ่งชี้หลายจุดว่า จีนกำลังตอบโต้สหรัฐอย่างแนบเนียน อีกทั้งผลลัพธ์ที่สหรัฐ คาดว่าจะเป็นผลดีต่อตนนั้น อาจกลายเป็นร้ายอย่างไม่น่าเชื่อ
ประการแรกคือ การประกาศปล่อยค่าเงินหยวนให้ยืดหยุ่นในครั้งนี้ ดูเหมือนผิดที่ผิดเวลา
จีนยังใช้วิธี “ลับลวงพราง” เพื่อเคลื่อนไหวในเชิงเศรษฐกิจและการเงิน นั่นคือ การปล่อยข่าวปฏิรูปค่าเงินหยวนในวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันที่สื่อทั้งหลายมักปล่อยพื้นที่ให้กับข่าวที่ไม่หนักจนเกินไป นอกจากนี้สื่อท้องถิ่นของจีนยังลดระดับความสำคัญของข่าวนี้ไปอยู่หน้าหลังสุดของหนังสือพิมพ์
การทำเช่นนี้เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยาตอบโต้ในทันทีทันใด โดยเฉพาะจากประเทศตะวันตกที่มักปั่นประเด็นค่าเงินหยวน ให้กลายเป็นวาระทางการเมือง ซึ่งฝ่ายจีนมองว่าเป็นเรื่องเกินกว่าเหตุ
ในเมื่อเกินกว่าเหตุ จีนจึงลดระดับประเด็นหยวนให้กลายเป็นข่าวเศรษฐกิจที่ไม่มีความสลักสำคัญนัก แต่กลับเป็นหมัดเด็ดที่ประเทศตะวันตกตั้งการ์ดรับแทบไม่ทัน
วิธีลับลวงพราง ลักษณะนี้จีนเคยนำมาใช้บ่อยครั้งกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยธนาคารกลางจีน (PBOC) มักขึ้นดอกเบี้ยอย่างสายฟ้าแลบ โดยที่นักวิเคราะห์หรือนักลงทุนแทบไม่เคยได้กลิ่นมาก่อน ซึ่งต่างจากท่าทีของธนาคารกลางตะวันตก ซึ่งมักแย้มพรายท่าทีเป็นระยะ
ลับลวงพรางแบบสายฟ้าแลบ ช่วยให้จีนสามารถต้านทานการเก็งกำไรจากอัตราดอกเบี้ยได้อย่างชะงัด และไม่ต้องเป็นที่สงสัยว่า จีนจะหวังให้การปล่อยค่าเงินหยวนแบบสายฟ้าแลบจะช่วยสยบเสียงเรียกร้องจากชาติตะวันตกได้อย่างชะงัดเช่นกัน
ผลในชั้นต้นปรากฏว่ามีปฏิกิริยาจากแซนเดอร์ ลีวิน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ ซึ่งนั่งเป็นประธานคณะกรรมาธิการตรวจสอบการใช้ภาษี ตอบรับด้วยท่าทีแบ่งรับแบ่งสู้ ด้วยการแสดงความยินดีในลำดับแรก ตามด้วยการข่มขู่ในลำดับต่อมา โดยเตือนว่าสหรัฐยังอาจตอบโต้จีน “หากเงินหยวนยังไม่แข็งค่าเท่าที่ควร”
ด้วยเหตุนี้คงไม่เกินเลยไปนักหากจะใช้คำว่า “ข่มขู่” กับคำกล่าวของลีวิน เพราะเป็นการสะท้อนถึงการกดดันจีนในเชิงรุก สืบเนื่องมาจากการผลักดันกฎหมายเอาผิดจีนกรณีตรึงค่าเงินหยวนของรัฐบาลโอบามา
ทัศนะที่ว่าสหรัฐเป็นผู้กำชัยชนะและประสบความสำเร็จในการกดดันจีน ยังสะท้อนให้เห็นจากความเห็นของนักวิเคราะห์บางราย เช่น จิม โอนีล หัวหน้านักวิเคราะห์เศรษฐกิจโลกของบริษัท โกลด์แมน แซคส์ ที่ชี้ว่า นี่คืออีกหนึ่งชัยชนะเล็กๆ น้อยสำหรับ ทิโมธี ไกธ์เนอร์ รัฐมนตรีคลังสหรัฐ
อย่างไรก็ตาม การมองว่าสหรัฐคือผู้ได้ในการปล่อยค่าเงินหยวน อาจเป็นความคิดที่ผิดพลาดอย่างสิ้นเชิง
เพราะนับแต่นี้จีนจะสามารถอ้างต่อที่ประชุมกลุ่มประเทศ จี20 ที่จะเริ่มการประชุมในช่วงสุดสัปดาห์หน้าได้ว่า ที่ประชุมควรใส่ใจกับปัญหาหนี้สาธารณะมากกว่าที่จะมาจับตาค่าเงินหยวน เพราะจีนได้ปล่อยให้ค่าเงินเป็นอิสระแล้ว อีกทั้งปัญหาหนี้ในยุโรปอาจเป็นตัวการที่แท้จริงที่ฉุดรั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก หาใช่การตรึงค่าเงินหยวนดังคำกล่าวอ้างของสหรัฐแต่อย่างใด
การที่สหรัฐหมายมั่นปั้นมือจะใช้ประชุม จี20 เพื่อเบี่ยงประเด็นความสนใจของชาวโลกจากวิกฤตนี้ของยุโรป (อันเป็นพันธมิตรของตน) จึงมีวี่แววจะเป็นความพยายามที่ไร้ผล
อีกทั้งสหรัฐอาจยังไม่ระแคะระคายว่า ข้ออ้างที่ประชุม จี20 จะใช้ตรวจสอบเงินหยวนในฐานะที่เป็นตัวการความไม่สมดุลของการค้าโลก เริ่มที่จะเป็นข้ออ้างที่ล้าสมัยเข้าไปทุกขณะ เพราะจีนเริ่มที่จะหันเข้าหาตลาดภายใน แทนที่จะพึ่งพาตลาดส่งออกเป็นหลัก
ด้วยเหตุนี้ การปล่อยเงินหยวนให้ยืดหยุ่น (ซึ่งอาจแข็งค่าขึ้นตามที่หลายฝ่ายหวังให้เป็นเช่นนั้น) จึงอาจไม่กระทบเศรษฐกิจจีนมากนัก
ในทางกลับกัน เศรษฐกิจของประเทศที่เรียกร้องจีนอาจกระอักเลือดเสียเอง!
ที่น่าวิตกสำหรับสหรัฐยิ่งกว่าก็คือ มูลค่าของเงินหยวนภายหลังการปล่อยให้ยืดหยุ่น ที่มีวี่แววจะยิ่งอ่อนค่าลงกว่าเดิม แทนที่จะแข็งค่าตามความคาดหวัง ดังความเห็นของหลี่ต้าวคุ่ย ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของคณะกรรมการด้านนโยบายของธนาคารกลางจีน (PBOC) ที่ชี้ว่า เงินหยวนอาจอ่อนค่าลง ยิ่งกว่าเดิม หากเงินยูโรยังอ่อนค่าต่อเงินเหรียญสหรัฐอย่างต่อเนื่อง
เช่นเดียวกับความเห็นของนูเรียล รูบินี กูรูการเงินที่ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งในวอลสตรีต ผู้ทำนายวิกฤตอสังหาริมทรัพย์สหรัฐ ที่กล่าวว่า แม้ว่าจีนจะยอมปล่อยเงินหยวน แต่โอกาสที่จะแข็งค่าขึ้นมามีอยู่น้อยมาก และหากแข็งค่าขึ้นมาจริงๆ จะแข็งค่าเพียงเล็กน้อยไม่เกินไปกว่า 3 หรือ 4% ต่อเหรียญสหรัฐ
กล่าวโดยสรุปก็คือ การปล่อยเงินหยวนให้ยืดหยุ่นเป็นกลเม็ดอย่างแนบเนียนของจีนในการแก้เกมและต่อกรกับแรงกดดันจากสหรัฐ โดยที่สหรัฐไม่อาจทัดทานได้
เพราะนี่คือสิ่งที่สหรัฐเรียกร้องเอง และจำต้องยอมรับผลลัพธ์ที่ออกมาด้วยจิตใจที่เป็นธรรม
แม้ว่าในความเป็นจริงแล้ว มีโอกาสน้อยมากที่สหรัฐจะยอมรามือจากการกดดันค่าเงินหยวน
โพสต์ทูเดย์ 21 มิถุนายน 2553
ในที่สุดจีนยินยอมคล้อยตามแรงกดดันจากนานาประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐ ด้วยการประกาศว่า อาจปล่อยให้เงินหยวนเคลื่อนไหวขึ้นลงได้อย่างเสรีในเร็วๆ นี้ หลังจากที่ต้องทนฟังสหรัฐโอดครวญมาโดยตลอดว่า ค่าเงินหยวนอ่อนกว่าความเป็นจริง และยังผลให้สหรัฐต้องขาดดุลการค้าครั้งแล้วครั้งเล่า จนเศรษฐกิจไม่อาจเดินหน้าได้อย่างเต็มฝีก้าว
การตัดสินใจปล่อยค่าเงินหยวนให้ยืดหยุ่นยิ่งขึ้น อาจเป็นผลพวงมาจากท่าทีเอาจริงเอาจริงของรัฐบาลประธานาธิบดี บารัก โอบามา ที่ล่าสุดพยายามผลักดันกฎหมายเอาผิดจีนที่ตรึงค่าเงินหยวนให้อ่อนค่าจะกระทบต่อตัวเลขดุลการค้าของสหรัฐ
กฎหมายนี้แม้จะไม่เอาผิดจีนโดยตรง และเปิดช่องทางเล่นงานผ่านองค์การการค้าโลก (WTO) แต่ด้วยอิทธิพลที่ล้นหลามของสหรัฐในองค์กรระหว่างประเทศ ย่อมง่ายที่สหรัฐจะคว่ำบาตรทางการค้าต่อจีนโดยที่ WTO อาจคัดค้านพอเป็นพิธี
อย่างไรก็ตาม ปฏิกิริยาของจีน มิได้บ่งชี้ว่าจีนยำเกรงสหรัฐหรือต้องการโอนอ่อนผ่อนปรนแต่อย่างใด ตรงกันข้ามการปล่อยค่าเงินหยวนให้ยืดหยุ่นในครั้งนี้มีสัญญาณบ่งชี้หลายจุดว่า จีนกำลังตอบโต้สหรัฐอย่างแนบเนียน อีกทั้งผลลัพธ์ที่สหรัฐ คาดว่าจะเป็นผลดีต่อตนนั้น อาจกลายเป็นร้ายอย่างไม่น่าเชื่อ
ประการแรกคือ การประกาศปล่อยค่าเงินหยวนให้ยืดหยุ่นในครั้งนี้ ดูเหมือนผิดที่ผิดเวลา
จีนยังใช้วิธี “ลับลวงพราง” เพื่อเคลื่อนไหวในเชิงเศรษฐกิจและการเงิน นั่นคือ การปล่อยข่าวปฏิรูปค่าเงินหยวนในวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันที่สื่อทั้งหลายมักปล่อยพื้นที่ให้กับข่าวที่ไม่หนักจนเกินไป นอกจากนี้สื่อท้องถิ่นของจีนยังลดระดับความสำคัญของข่าวนี้ไปอยู่หน้าหลังสุดของหนังสือพิมพ์
การทำเช่นนี้เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยาตอบโต้ในทันทีทันใด โดยเฉพาะจากประเทศตะวันตกที่มักปั่นประเด็นค่าเงินหยวน ให้กลายเป็นวาระทางการเมือง ซึ่งฝ่ายจีนมองว่าเป็นเรื่องเกินกว่าเหตุ
ในเมื่อเกินกว่าเหตุ จีนจึงลดระดับประเด็นหยวนให้กลายเป็นข่าวเศรษฐกิจที่ไม่มีความสลักสำคัญนัก แต่กลับเป็นหมัดเด็ดที่ประเทศตะวันตกตั้งการ์ดรับแทบไม่ทัน
วิธีลับลวงพราง ลักษณะนี้จีนเคยนำมาใช้บ่อยครั้งกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ย โดยธนาคารกลางจีน (PBOC) มักขึ้นดอกเบี้ยอย่างสายฟ้าแลบ โดยที่นักวิเคราะห์หรือนักลงทุนแทบไม่เคยได้กลิ่นมาก่อน ซึ่งต่างจากท่าทีของธนาคารกลางตะวันตก ซึ่งมักแย้มพรายท่าทีเป็นระยะ
ลับลวงพรางแบบสายฟ้าแลบ ช่วยให้จีนสามารถต้านทานการเก็งกำไรจากอัตราดอกเบี้ยได้อย่างชะงัด และไม่ต้องเป็นที่สงสัยว่า จีนจะหวังให้การปล่อยค่าเงินหยวนแบบสายฟ้าแลบจะช่วยสยบเสียงเรียกร้องจากชาติตะวันตกได้อย่างชะงัดเช่นกัน
ผลในชั้นต้นปรากฏว่ามีปฏิกิริยาจากแซนเดอร์ ลีวิน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ ซึ่งนั่งเป็นประธานคณะกรรมาธิการตรวจสอบการใช้ภาษี ตอบรับด้วยท่าทีแบ่งรับแบ่งสู้ ด้วยการแสดงความยินดีในลำดับแรก ตามด้วยการข่มขู่ในลำดับต่อมา โดยเตือนว่าสหรัฐยังอาจตอบโต้จีน “หากเงินหยวนยังไม่แข็งค่าเท่าที่ควร”
ด้วยเหตุนี้คงไม่เกินเลยไปนักหากจะใช้คำว่า “ข่มขู่” กับคำกล่าวของลีวิน เพราะเป็นการสะท้อนถึงการกดดันจีนในเชิงรุก สืบเนื่องมาจากการผลักดันกฎหมายเอาผิดจีนกรณีตรึงค่าเงินหยวนของรัฐบาลโอบามา
ทัศนะที่ว่าสหรัฐเป็นผู้กำชัยชนะและประสบความสำเร็จในการกดดันจีน ยังสะท้อนให้เห็นจากความเห็นของนักวิเคราะห์บางราย เช่น จิม โอนีล หัวหน้านักวิเคราะห์เศรษฐกิจโลกของบริษัท โกลด์แมน แซคส์ ที่ชี้ว่า นี่คืออีกหนึ่งชัยชนะเล็กๆ น้อยสำหรับ ทิโมธี ไกธ์เนอร์ รัฐมนตรีคลังสหรัฐ
อย่างไรก็ตาม การมองว่าสหรัฐคือผู้ได้ในการปล่อยค่าเงินหยวน อาจเป็นความคิดที่ผิดพลาดอย่างสิ้นเชิง
เพราะนับแต่นี้จีนจะสามารถอ้างต่อที่ประชุมกลุ่มประเทศ จี20 ที่จะเริ่มการประชุมในช่วงสุดสัปดาห์หน้าได้ว่า ที่ประชุมควรใส่ใจกับปัญหาหนี้สาธารณะมากกว่าที่จะมาจับตาค่าเงินหยวน เพราะจีนได้ปล่อยให้ค่าเงินเป็นอิสระแล้ว อีกทั้งปัญหาหนี้ในยุโรปอาจเป็นตัวการที่แท้จริงที่ฉุดรั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก หาใช่การตรึงค่าเงินหยวนดังคำกล่าวอ้างของสหรัฐแต่อย่างใด
การที่สหรัฐหมายมั่นปั้นมือจะใช้ประชุม จี20 เพื่อเบี่ยงประเด็นความสนใจของชาวโลกจากวิกฤตนี้ของยุโรป (อันเป็นพันธมิตรของตน) จึงมีวี่แววจะเป็นความพยายามที่ไร้ผล
อีกทั้งสหรัฐอาจยังไม่ระแคะระคายว่า ข้ออ้างที่ประชุม จี20 จะใช้ตรวจสอบเงินหยวนในฐานะที่เป็นตัวการความไม่สมดุลของการค้าโลก เริ่มที่จะเป็นข้ออ้างที่ล้าสมัยเข้าไปทุกขณะ เพราะจีนเริ่มที่จะหันเข้าหาตลาดภายใน แทนที่จะพึ่งพาตลาดส่งออกเป็นหลัก
ด้วยเหตุนี้ การปล่อยเงินหยวนให้ยืดหยุ่น (ซึ่งอาจแข็งค่าขึ้นตามที่หลายฝ่ายหวังให้เป็นเช่นนั้น) จึงอาจไม่กระทบเศรษฐกิจจีนมากนัก
ในทางกลับกัน เศรษฐกิจของประเทศที่เรียกร้องจีนอาจกระอักเลือดเสียเอง!
ที่น่าวิตกสำหรับสหรัฐยิ่งกว่าก็คือ มูลค่าของเงินหยวนภายหลังการปล่อยให้ยืดหยุ่น ที่มีวี่แววจะยิ่งอ่อนค่าลงกว่าเดิม แทนที่จะแข็งค่าตามความคาดหวัง ดังความเห็นของหลี่ต้าวคุ่ย ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของคณะกรรมการด้านนโยบายของธนาคารกลางจีน (PBOC) ที่ชี้ว่า เงินหยวนอาจอ่อนค่าลง ยิ่งกว่าเดิม หากเงินยูโรยังอ่อนค่าต่อเงินเหรียญสหรัฐอย่างต่อเนื่อง
เช่นเดียวกับความเห็นของนูเรียล รูบินี กูรูการเงินที่ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งในวอลสตรีต ผู้ทำนายวิกฤตอสังหาริมทรัพย์สหรัฐ ที่กล่าวว่า แม้ว่าจีนจะยอมปล่อยเงินหยวน แต่โอกาสที่จะแข็งค่าขึ้นมามีอยู่น้อยมาก และหากแข็งค่าขึ้นมาจริงๆ จะแข็งค่าเพียงเล็กน้อยไม่เกินไปกว่า 3 หรือ 4% ต่อเหรียญสหรัฐ
กล่าวโดยสรุปก็คือ การปล่อยเงินหยวนให้ยืดหยุ่นเป็นกลเม็ดอย่างแนบเนียนของจีนในการแก้เกมและต่อกรกับแรงกดดันจากสหรัฐ โดยที่สหรัฐไม่อาจทัดทานได้
เพราะนี่คือสิ่งที่สหรัฐเรียกร้องเอง และจำต้องยอมรับผลลัพธ์ที่ออกมาด้วยจิตใจที่เป็นธรรม
แม้ว่าในความเป็นจริงแล้ว มีโอกาสน้อยมากที่สหรัฐจะยอมรามือจากการกดดันค่าเงินหยวน
โพสต์ทูเดย์ 21 มิถุนายน 2553
6/10/2010
ทองคำกับวิกฤตหนี้ยุโรปจับตาขาขึ้นในสถานการณ์ผันผวน
ทองคำจึงเป็นสิ่งที่มีความปลอดภัยสูง ต่างจากเงินตรากระดาษ หรือหลักทรัพย์ที่ซื้อขายกันบนกระดานเพราะมูลค่าของทองคำจะไม่สลายไป
หากเพชรคือเพื่อนที่ดีที่สุดของผู้หญิง ทองคำคือเพื่อนที่ดีที่สุดของนักลงทุนไม่ว่าสตรีหรือบุรุษเพศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่ระบบการเงินและเศรษฐกิจโลกตกอยู่ในภาวะผันผวนอย่างรุนแรง
ในภาวะเช่นนั้น ค่าของเงินจะตกต่ำ หลักทรัพย์จะไร้เสถียรภาพ สินทรัพย์ที่อิงกับมูลค่าสมมติทั้งหลายจะถูกทอดทิ้งไว้เบื้องหลัง นักลงทุนจะตะเกียกตะกายกันกว้านซื้อและเก็งราคาทองคำ สินทรัพย์ที่มีค่าในตัวของมันเอง และปราศจากแนวโน้มที่ราคาจะตกลงอย่างรุนแรงเหมือนสินทรัพย์ประเภทอื่น
ทองคำจึงเป็นสิ่งที่มีความปลอดภัยสูง ต่างจากเงินตรากระดาษ หรือหลักทรัพย์ที่ซื้อขายกันบนกระดาน เพราะมูลค่าของทองคำจะไม่สลายไปเหมือนอากาศธาตุหากเกิดความโกลาหลขึ้น ไม่ว่าจะด้วยวิกฤตการเงิน หรือด้วยวิกฤตเงินเฟ้อรุนแรงถึงขีดสุด
ในสัปดาห์นี้ราคาทองคำในตลาดโลกถีบตัวขึ้นมาแตะระดับสูงสุดประวัติการณ์ด้วยสาเหตุเดียวกับที่เคยหนุนระดับราคาจนทะลุสถิติเดิมมาแล้ว นั่นคือความกังวลของนักลงทุนต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและการเงินโลก
โดยปกติแล้วสิ่งที่จะกำหนดทิศทางราคาทองคำมักเป็นความต้องการที่มาจากกองทุนทองคำ GETF พร้อมด้วยความต้องการจากผู้ซื้อรายย่อย แต่มีกำลังซื้อสูงเพื่อการส่งออกไปยังตลาดที่มีความต้องการต่อเนื่อง เช่น อินเดีย และความต้องการจากธนาคารกลางทั่วโลก ส่วนใหญ่มักเป็นความต้องการในระยะยาว
แต่ในสถานการณ์คับขันจะมีแรงซื้อระยะสั้นถาโถมเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย และทำให้แนวโน้มราคาเปลี่ยนแปลงไป
เมื่อ 3-4 ปีที่แล้วนักลงทุนต่างกอบโกยทองคำมาครอบครองกันเป็นการใหญ่ เพื่อรับมือกับการอ่อนค่าอย่างต่อเนื่องของเงินเหรียญสหรัฐประจวบเหมาะกับโลกเข้าสู่มุมอับของวิกฤตการเงิน และภาวะเศรษฐกิจถดถอยพอดี ความต้องการทองคำจากอินเดียและจีนซึ่งถดถอยลง จึงได้รับแรงหนุนในทันทีจากแรงซื้ออื่นเพื่อแสวงหาความปลอดภัยด้านการลงทุน
มาวันนี้ กลางปี 2553 ทองคำเริ่มเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความเชื่อมั่นที่สั่นคลอนอีกครั้ง
วันที่ 8 มิ.ย. ราคาทองคำดีดขึ้นมาแตะระดับ 1,250 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ก่อนที่จะถอยลงมาปิดที่ระดับ 1,243.50-1,244.50 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ ในตลาดทองคำของฮ่องกง
ด้วยปัจจัยที่สำคัญที่สุด วิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรป แม้ว่าในวันเดียวกันนั้น ยูโรโซน หรือกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยุโรจะผลักดันกองทุนมูลค่า 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อพยุงสถานการณ์ แต่ปฏิกิริยาตอบรับไม่เป็นที่พึงพอใจของนักลงทุนเท่าที่ควร ดังจะเห็นได้จากตลาดหุ้นในยุโรปต่างทิ้งตัวลงมาในระดับต่ำที่สุดในรอบ 2 เดือน
เมื่อหุ้นล้มเหลวที่จะตอบรับข่าวดี ทองคำจึงเป็นทางเลือกไม่กี่ทางที่เหลือสำหรับนักลงทุนที่เริ่มกระวนกระวายกับแนวโน้มด้านลบที่ชัดเจนขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานะของเงินยูโร ที่อ่อนค่าลงมาอยู่ที่ระดับต่ำที่สุดในรอบ 4 ปี ความน่าเชื่อถือจึงยิ่งเทมายังทองคำอย่างล้นหลาม
แม้ว่าราคาทองคำในวันต่อมา (9 มิ.ย.) จะอ่อนแรงลงมาอยู่ที่ 1,233.00-1,234.00 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ แต่ปฏิกิริยาของตลาดหุ้น และความผันผวนของเงินยูโรจะเป็นปัจจัยที่ชี้นำราคาทองคำต่อไปอย่างไม่ต้องสงสัย พิจารณาจากเงื่อนไขในยุโรปเองที่ยังห่างไกลจากเสถียรภาพ
ดังจะเห็นได้ว่า แม้ตลาดหุ้นและราคาทองคำจะเริ่มตอบรับกองทุน 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐของยูโรโซน ซึ่งอาจช่วยรองรับความวิตกของนักลงทุนในระดับหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกันปัญหากลับแสดงตัวขึ้นอีกจุด นั่นคือการที่เศรษฐกิจของฟินแลนด์ช่วงไตรมาสแรกถอยกลับเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอีกครั้งอย่างเหนือความคาดหมาย หลังจากที่สามารถขยับขยายได้ในช่วงไตรมาส 3 และ 4 ของปีที่แล้วจนเป็นที่น่าชื่นใจของทุกฝ่าย
ด้วยเหตุนี้ยุโรปจึงมีประเทศที่ยังจมอยู่ในภาวะถดถอยเพิ่มขึ้นมาอีก 1 ประเทศ รวม 3 ประเทศ อันได้แก่ ไอร์แลนด์ กรีซ และฟินแลนด์ โดยเฉพาะ 2 ประเทศแรกมีภาวะหนี้สินในระดับที่น่ากังวลอย่างยิ่ง และไม่เพียงบั่นทอนความน่าเชื่อถือของเศรษฐกิจยุโรปเท่านั้น แต่ยังกระทบถึงภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกโดยรวมด้วย
สิ่งที่พึงตระหนักสำหรับปรากฏการณ์ราคาทองคำทำราคาในครั้งนี้ คือราคาทองไม่เพียงทุบสถิติราคาซื้อขายผ่านเงินเหรียญสหรัฐเท่านั้น แต่ยังทุบสถิติกับสกุลเงินอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเงินยูโร ปอนด์ ฟรังก์สวิส รวมถึงเงินเหรียญออสเตรเลียที่ราคาทองคำทุบสถิติในรอบ 4 เดือน ขณะที่เงินเหรียญนิวซีแลนด์ทุบสถิติในรอบ 15 เดือน
หมายความว่าทองคำกำลังมีปฏิกิริยาต่อเศรษฐกิจโลก หาใช่เฉพาะสารพันปัญหาในยุโรปเท่านั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง วิกฤตของยุโรปก่อให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ที่ลุกลามไปทั่วทุกสารทิศ
โอกาสที่ทองคำจะพยายามฝ่าระดับ 1,250 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ จึงยังมีอยู่ และเป็นโอกาสที่สูงในระดับหนึ่งหากสถานการณ์ในยุโรปยังไม่นิ่ง
อย่างไรก็ตาม มีโอกาสเช่นกันที่ราคาทองคำจะทิ้งตัวอย่างไม่ทันตั้งตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเสี่ยงจากการเก็งกำไร
หว่องเอ็งซุน นักวิเคราะห์จากบริษัท Phillip Futures Pte Ltd กล่าวกับสำนักข่าวบลูมเบิร์ก ว่า นักลงทุนควรตั้งการ์ดรับกระแสขาขึ้นของราคาทองคำในทันทีที่ราคาถอยลงมาอยู่ต่ำกว่า 1,230 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์
ความไม่ประมาทย่อมเป็นหนทางอันประเสริฐอยู่เสมอในภาวการณ์ด้านเศรษฐกิจและการเงินที่ยังตกอยู่ในความสับสน
โพสต์ทูเดย์ 10 มิถุนายน 2553
หากเพชรคือเพื่อนที่ดีที่สุดของผู้หญิง ทองคำคือเพื่อนที่ดีที่สุดของนักลงทุนไม่ว่าสตรีหรือบุรุษเพศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่ระบบการเงินและเศรษฐกิจโลกตกอยู่ในภาวะผันผวนอย่างรุนแรง
ในภาวะเช่นนั้น ค่าของเงินจะตกต่ำ หลักทรัพย์จะไร้เสถียรภาพ สินทรัพย์ที่อิงกับมูลค่าสมมติทั้งหลายจะถูกทอดทิ้งไว้เบื้องหลัง นักลงทุนจะตะเกียกตะกายกันกว้านซื้อและเก็งราคาทองคำ สินทรัพย์ที่มีค่าในตัวของมันเอง และปราศจากแนวโน้มที่ราคาจะตกลงอย่างรุนแรงเหมือนสินทรัพย์ประเภทอื่น
ทองคำจึงเป็นสิ่งที่มีความปลอดภัยสูง ต่างจากเงินตรากระดาษ หรือหลักทรัพย์ที่ซื้อขายกันบนกระดาน เพราะมูลค่าของทองคำจะไม่สลายไปเหมือนอากาศธาตุหากเกิดความโกลาหลขึ้น ไม่ว่าจะด้วยวิกฤตการเงิน หรือด้วยวิกฤตเงินเฟ้อรุนแรงถึงขีดสุด
ในสัปดาห์นี้ราคาทองคำในตลาดโลกถีบตัวขึ้นมาแตะระดับสูงสุดประวัติการณ์ด้วยสาเหตุเดียวกับที่เคยหนุนระดับราคาจนทะลุสถิติเดิมมาแล้ว นั่นคือความกังวลของนักลงทุนต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและการเงินโลก
โดยปกติแล้วสิ่งที่จะกำหนดทิศทางราคาทองคำมักเป็นความต้องการที่มาจากกองทุนทองคำ GETF พร้อมด้วยความต้องการจากผู้ซื้อรายย่อย แต่มีกำลังซื้อสูงเพื่อการส่งออกไปยังตลาดที่มีความต้องการต่อเนื่อง เช่น อินเดีย และความต้องการจากธนาคารกลางทั่วโลก ส่วนใหญ่มักเป็นความต้องการในระยะยาว
แต่ในสถานการณ์คับขันจะมีแรงซื้อระยะสั้นถาโถมเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย และทำให้แนวโน้มราคาเปลี่ยนแปลงไป
เมื่อ 3-4 ปีที่แล้วนักลงทุนต่างกอบโกยทองคำมาครอบครองกันเป็นการใหญ่ เพื่อรับมือกับการอ่อนค่าอย่างต่อเนื่องของเงินเหรียญสหรัฐประจวบเหมาะกับโลกเข้าสู่มุมอับของวิกฤตการเงิน และภาวะเศรษฐกิจถดถอยพอดี ความต้องการทองคำจากอินเดียและจีนซึ่งถดถอยลง จึงได้รับแรงหนุนในทันทีจากแรงซื้ออื่นเพื่อแสวงหาความปลอดภัยด้านการลงทุน
มาวันนี้ กลางปี 2553 ทองคำเริ่มเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความเชื่อมั่นที่สั่นคลอนอีกครั้ง
วันที่ 8 มิ.ย. ราคาทองคำดีดขึ้นมาแตะระดับ 1,250 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ก่อนที่จะถอยลงมาปิดที่ระดับ 1,243.50-1,244.50 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ ในตลาดทองคำของฮ่องกง
ด้วยปัจจัยที่สำคัญที่สุด วิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรป แม้ว่าในวันเดียวกันนั้น ยูโรโซน หรือกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยุโรจะผลักดันกองทุนมูลค่า 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อพยุงสถานการณ์ แต่ปฏิกิริยาตอบรับไม่เป็นที่พึงพอใจของนักลงทุนเท่าที่ควร ดังจะเห็นได้จากตลาดหุ้นในยุโรปต่างทิ้งตัวลงมาในระดับต่ำที่สุดในรอบ 2 เดือน
เมื่อหุ้นล้มเหลวที่จะตอบรับข่าวดี ทองคำจึงเป็นทางเลือกไม่กี่ทางที่เหลือสำหรับนักลงทุนที่เริ่มกระวนกระวายกับแนวโน้มด้านลบที่ชัดเจนขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานะของเงินยูโร ที่อ่อนค่าลงมาอยู่ที่ระดับต่ำที่สุดในรอบ 4 ปี ความน่าเชื่อถือจึงยิ่งเทมายังทองคำอย่างล้นหลาม
แม้ว่าราคาทองคำในวันต่อมา (9 มิ.ย.) จะอ่อนแรงลงมาอยู่ที่ 1,233.00-1,234.00 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ แต่ปฏิกิริยาของตลาดหุ้น และความผันผวนของเงินยูโรจะเป็นปัจจัยที่ชี้นำราคาทองคำต่อไปอย่างไม่ต้องสงสัย พิจารณาจากเงื่อนไขในยุโรปเองที่ยังห่างไกลจากเสถียรภาพ
ดังจะเห็นได้ว่า แม้ตลาดหุ้นและราคาทองคำจะเริ่มตอบรับกองทุน 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐของยูโรโซน ซึ่งอาจช่วยรองรับความวิตกของนักลงทุนในระดับหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกันปัญหากลับแสดงตัวขึ้นอีกจุด นั่นคือการที่เศรษฐกิจของฟินแลนด์ช่วงไตรมาสแรกถอยกลับเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยอีกครั้งอย่างเหนือความคาดหมาย หลังจากที่สามารถขยับขยายได้ในช่วงไตรมาส 3 และ 4 ของปีที่แล้วจนเป็นที่น่าชื่นใจของทุกฝ่าย
ด้วยเหตุนี้ยุโรปจึงมีประเทศที่ยังจมอยู่ในภาวะถดถอยเพิ่มขึ้นมาอีก 1 ประเทศ รวม 3 ประเทศ อันได้แก่ ไอร์แลนด์ กรีซ และฟินแลนด์ โดยเฉพาะ 2 ประเทศแรกมีภาวะหนี้สินในระดับที่น่ากังวลอย่างยิ่ง และไม่เพียงบั่นทอนความน่าเชื่อถือของเศรษฐกิจยุโรปเท่านั้น แต่ยังกระทบถึงภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกโดยรวมด้วย
สิ่งที่พึงตระหนักสำหรับปรากฏการณ์ราคาทองคำทำราคาในครั้งนี้ คือราคาทองไม่เพียงทุบสถิติราคาซื้อขายผ่านเงินเหรียญสหรัฐเท่านั้น แต่ยังทุบสถิติกับสกุลเงินอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเงินยูโร ปอนด์ ฟรังก์สวิส รวมถึงเงินเหรียญออสเตรเลียที่ราคาทองคำทุบสถิติในรอบ 4 เดือน ขณะที่เงินเหรียญนิวซีแลนด์ทุบสถิติในรอบ 15 เดือน
หมายความว่าทองคำกำลังมีปฏิกิริยาต่อเศรษฐกิจโลก หาใช่เฉพาะสารพันปัญหาในยุโรปเท่านั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง วิกฤตของยุโรปก่อให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ที่ลุกลามไปทั่วทุกสารทิศ
โอกาสที่ทองคำจะพยายามฝ่าระดับ 1,250 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์ จึงยังมีอยู่ และเป็นโอกาสที่สูงในระดับหนึ่งหากสถานการณ์ในยุโรปยังไม่นิ่ง
อย่างไรก็ตาม มีโอกาสเช่นกันที่ราคาทองคำจะทิ้งตัวอย่างไม่ทันตั้งตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเสี่ยงจากการเก็งกำไร
หว่องเอ็งซุน นักวิเคราะห์จากบริษัท Phillip Futures Pte Ltd กล่าวกับสำนักข่าวบลูมเบิร์ก ว่า นักลงทุนควรตั้งการ์ดรับกระแสขาขึ้นของราคาทองคำในทันทีที่ราคาถอยลงมาอยู่ต่ำกว่า 1,230 เหรียญสหรัฐต่อออนซ์
ความไม่ประมาทย่อมเป็นหนทางอันประเสริฐอยู่เสมอในภาวการณ์ด้านเศรษฐกิจและการเงินที่ยังตกอยู่ในความสับสน
โพสต์ทูเดย์ 10 มิถุนายน 2553
Subscribe to:
Posts (Atom)