"Self-conquest is the greats of victory" การชนะใจตนเอง คือ ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
8/24/2009
Moving Average, Stochastic, RSI, MACD
Moving Average
คือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ เป็นเครื่องมือในการติดตามแนวโน้มราคาว่าใกล้จะสิ้นสุดหรือกำลังจะเปลี่ยนแนวโน้มใหม่หรือยัง
สัญญาณซื้อและสัญญาณขาย
สัญญาณซื้อ เกิดขึ้นเมื่อราคาตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของตัวมันเองจากข้างล่างขึ้นข้างบน หรือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่มีระยะเวลาสั้นกว่าได้ตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่มีระยะเวลายาวนานกว่า จากข้างล่างขึ้นข้างบน
สัญญาณขาย เกิดขึ้นเมื่อราคาตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของตัวมันเองจากข้างบนลงข้างล่าง หรือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่มีระยะเวลาสั้นกว่าได้ตัดเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่มีระยะเวลายาวนานกว่า จากข้างบนลงข้างล่าง
การอ่านสัญญาณจากเส้นค่าเฉลี่ยสองเส้น ถ้าเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นตัดลงผ่านเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาวให้ขาย และถ้าเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้นตัดขึ้นผ่านเส้นค่าเฉลี่ยระยะยาวให้ซื้อ
นอกจากนี้ ตัวของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เองยังสามารถเป็นได้ทั้งแนวรับและแนวต้าน คือ ในตอนที่ราคากำลังขึ้นเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่จะทำหน้าที่เป็นแนวรับ ถ้าราคาเปลี่ยนทิศทางและตกต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่เป็นแนวรับแสดงว่าแนวโน้มได้เปลี่ยนแล้วเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่จะกลับมาอยู่เหนือราคาและกลายเป็นแนวต้านไป
รูปแบบของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่
1.Simple Moving Average (SMA)เป็นชนิดที่ง่ายที่สุด อาศัยวิธีหาค่าเฉลี่ยแบบเลขคณิตเข้ามาคำนวณและข้อมูลแต่ละตัวถูกให้น้ำหนักที่เท่าๆกัน
2.Linear Weighted Moving Average (WMA) เป็นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบถ่วงน้ำหนักแบบหนึ่ง ที่นำเอาวิธีทางสถิติมาปรับให้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาเร็วขึ้น โดยการจัดสรรน้ำหนักให้แก่ข้อมูลแตกต่างกัน ข้อมูลที่เพิ่งเกิดขึ้นล่าสุด จะได้รับการถ่วงน้ำหนักมากกว่าข้อมูลในอดีตนานมาแล้ว
3.Exponential Moving Average (EMA) เป็นการคำนวณค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบถ่วงน้ำหนักที่ซับซ้อนมากขึ้นกว่าแบบ Weighted Moving Average แบบธรรมดา โดยมีการนำเอาค่าความผิดพลาดจากการพยากรณ์มาปรับค่าเฉลี่ยตัวต่อไปให้ถูกต้องมากขึ้น
ระยะเวลาหรือจำนวนวันที่ใช้ในการคำนวณ Moving Average
จำนวนวันที่ใช้กันบ่อยๆสำหรับค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ มักจะใกล้เคียงกับรอบระยะเวลาทางปฏิทิน ซึ่งที่นิยมใช้กันก็คือ 20, 25, 50, 75, 100, 200 นอกจากนี้ก็อาจมีการใช้จำนวนวันให้เร็วขึ้นอีกเพื่อผลในการซื้อขายวันต่อวันเช่น 5, 10 เป็นต้น ทั้งนี้การใช้จำนวนวันที่สั้นลงจะทำให้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เคลื่อนไหวได้เร็วขึ้น ซึ่งจะทำให้สามารถส่งสัญญาณซื้อขายได้รวดเร็ว แต่ก็มีข้อเสียคือสัญญาณที่เกิดขึ้น อาจจะเป็นสัญญาณปลอมอันเป็นผลมาจากการที่มันเคลื่อนที่เร็วเกินไปนั่นเอง จำนวนวันที่จะเลือกใช้กับระบบค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่นี้ขึ้นอยู่กับว่า คุณกำลังเล่นกับตลาดในระยะสั้นหรือระยะยาว
Stochastic Oscillator
เป็นเครื่องมือที่นิยมใช้กันมากสำหรับตลาดที่แกว่งตัวแบบ Sideway และสำหรับคนที่ชอบเข้าออกเร็ว
จังหวะในการซื้อขาย
เส้นเกณฑ์ที่จะกำหนดเขตซื้อมากเกินไปหรือขายมากเกินไป จะอยู่ที่เส้น 80 และเส้น 20
ให้ซื้อเมื่อ Oscillator ปรับตัวลงต่ำกว่าระดับ 20 และกำลังกลับขึ้นมาอยู่เหนือระดับ 20
ให้ขายเมื่อ Oscillator ปรับตัวขึ้นมาเหนือระดับ 80 และกำลังจะวกตัวกลับลงมาตัดระดับ 80
RSI (Relative Strength Index)
เป็น Indicator ที่ได้รับการพัฒนาโดยนาย J. Welles Wilder โดยมีพื้นฐานมาจาก Momentum ค่าที่นิยมใช้มี 4, 9, 14 วัน นอกจากนี้ RSI ยังเป็นเครื่องมืออันหนึ่งที่ใช้วัดความแข็งแกร่งของราคาว่าขึ้นลงในลักษณะที่มีแรงหนุนหรือมีความเฉื่อยมากน้อยเพียงใด ค่า RSI จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0 – 100
กฎเกณฑ์ที่ใช้กับ RSI
1.Overbought , Oversold
เขตที่จัดว่า Overbought นั้นปกติจะกำหนดไว้ที่ระดับสูงกว่า 70 ขึ้นไปซึ่งหมายความว่าราคาได้ขยับตัวขึ้นไปสูงมากและมีการซื้อมากเกินไปแล้ว สามารถใช้เป็นสัญญาณขายได้ เมื่อตลาดแกว่งตัวแบบ Sideway
เขตที่จัดว่า Oversold นั้นปกติจะกำหนดไว้ที่ระดับต่ำกว่า 30 ลงมาซึ่งหมายความว่าราคาได้ขยับตัวลงมาต่ำมากและมีการขายมากเกินไปแล้ว สามารถใช้เป็นสัญญาณซื้อได้ เมื่อตลาดแกว่งตัวแบบ Sideway
2.การเกิดกรณีที่เรียกว่า Divergence ตัวอย่างเช่นราคาได้วิ่งขึ้นผ่านยอดสูงสุดเดิมก่อนหน้านี้ได้(สามารถทำ highใหม่ได้) ขณะที่ RSI เองนั้นไม่สามารถวิ่งขึ้นผ่านยอดสูงสุดเดิมก่อนหน้านี้ได้ (ไม่สามารถทำ high ใหม่ได้) ซึ่งจะเป็นสัญญาณเตือนล่วงหน้าว่ามีโอกาสที่ราคาจะมีการปรับตัวลงมาได้ในอนาคต ทั้งนี้เป็นเพราะRSI เป็นตัววัดแรงส่ง ซึ่งแม้ว่าราคาจะยังคงสูงขึ้นแต่ RSI อาจจะลดลงตามความเฉื่อยของราคาได้ ในทางกลับกันราคาสามารถทำ low ใหม่ได้ แต่ RSI ไม่สามารถทำ low ใหม่ได้ก็จะเป็นสัญญาณเตือนล่วงหน้าว่ามีโอกาสที่ราคาจะมีการปรับตัวขึ้นได้ในอนาคต
3.RSI ยังใช้บอกยอดของคลื่น3และคลื่น b (คือคลื่นที่RSI พุ่งขึ้นสูงสุดอย่างแรง) ในทฤษฎีของ Elliot Wave
MACD (Moving Average Convergence Divergence)
MACD เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการตัดสินใจเรื่องการเปลี่ยนแนวโน้มของคลื่นได้ดีและ ถูกยกย่องให้เป็นราชาของเครื่องมือวัด เพราะมีความน่าเชื่อถือค่อนข้างสูง
MACD ปกติจะใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ระหว่าง EMA12 กับ EMA26 แล้วรวมกันกลายเป็น MACD-line (เส้นสีขาวทึบ) และจะมีเส้น trigger-line (เส้นสีแดง) เพื่อทำการเปรียบเทียบขึ้นมาอีก 1 เส้น นั่นก็คือ EMA9 วัน
ซึ่งจะบอกได้ว่า ณ ตอนนั้นราคาอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นหรือขาลง รวมถึงการเคลื่อนที่ตัดกันระหว่าง MACD-line กับเส้น trigger-line
การใช้ MACD ดูการเปลี่ยนแนวโน้ม
1.หากเส้น MACD เคลื่อนที่ตัดเส้น 0 ขึ้นไปหมายถึงตลาดเริ่มเข้าสู่ขาขึ้น ซึ่งใช้เป็นสัญญาณ(ซื้อ)ได้
หากเส้น MACD เคลื่อนที่ตัดเส้น 0 ลงมาหมายถึงตลาดเข้าสู่ภาวะขาลง เป็นสัญญาณ(ขาย)ได้
2.เมื่อเส้น MACD-line (เส้นสีขาวทึบ) ตัด เส้น trigger-line (เส้นสีแดง) ขึ้นไปแสดงว่าทิศทางตลาดกำลังจะกลับเป็นขาขึ้นใช้เป็นสัญญาณซื้อได้ (ควรจะเกิดที่จุดต่ำสุด)
เมื่อเส้น MACD-line (เส้นสีขาวทึบ) ตัด เส้น trigger-line (เส้นสีแดง) ลงมาแสดงว่าทิศทางตลาดกำลังจะกลับเป็นขาลงใช้เป็นสัญญาณขายได้ (ควรจะเกิดที่จุดสูงสุด)
3. การเกิด divergence คือความสัมพันธ์ระหว่างราคากับสัญญาณเครื่องมือทางเทคนิคไม่สัมพันธ์กัน
กรณีที่ราคาสามารถทำ high ใหม่ได้ แต่ MACD ไม่สามารถทำ high ใหม่ได้ก็จะเป็นสัญญาณเตือนล่วงหน้าว่ามีโอกาสที่ราคาจะมีการปรับตัวลงได้ในอนาคต
กรณีที่ราคาสามารถทำ low ใหม่ได้ แต่ MACD ไม่สามารถทำ low ใหม่ได้ก็จะเป็นสัญญาณเตือนล่วงหน้าว่ามีโอกาสที่ราคาจะมีการปรับตัวขึ้นได้ในอนาคต
เราสามารถใช้เครื่องมือหลายชนิดมารวมกันเพื่อหาสัญญาณซื้อและสัญญาณขายได้
8/23/2009
8/20/2009
ความสัมพันธ์ของ Elliott Wave
"ความสัมพันธ์ของ Elliott Wave "
Elliott Wave ประกอบด้วยลูกคลื่นในขาขึ้น 5 ลูก ( 1-2-3-4-5) และลูกคลื่นในขาลง 3 ลูก (a-b-c) ในช่วงขาขึ้นเราเรียกว่า Impulse ส่วนขาลงเราเรียกว่า Correction โดยหากเป็นช่วงตลาดหมี ขาลงก็จะกลับกัน คือลง 5 ลูก ขึ้น 3 ลูกแทน และในคลื่นนึง ก็จะประกอบด้วยคลื่นเล็กๆ เสมอ
จะดูยังไงว่าคลื่นไหนเป็นคลื่นไหน
คลื่นที่ 1
ไม่มีใครกะได้ว่า จะจบตรงไหน เพราะเพิ่งเริ่มคลื่นใหม่ เราทำได้ คือรอให้มันจบคลื่น 1 ก่อน แต่อย่างน้อยที่สุด คลื่นย่อยในคลื่น 1 ควรจะประกอบด้วย 5 คลื่น ไม่ใช่ 3 คลื่น หากนับได้ 3 คลื่นเมื่อไหร่ ตีความได้ว่าการ correction ของคลื่นรอบที่ผ่านมา ยังไม่จบจริง เป็นเหตุให้ไม่ค่อยมีใครกล้าเข้าในคลื่น 1 นั่นเอง
คลื่นที่ 2 จบเมื่อไหร่ จึงจะรู้ว่า คลื่นลูกเมื่อกี๊น่ะ คลื่นที่ 1
คลื่น 2 จะไม่ต่ำกว่าคลื่น 1 ปกติ เมื่อจบคลื่น 2 เราก็จะใช้ก้นคลื่น 2 ในการหาเป้าหมายคลื่น 3 ได้ตามหลัก คลื่น 2 มักจบแถว 61.8% หรือ 78.6% โดยหากเด้งขึ้นจากแถวนี้ได้แรงๆ ผ่านยอดคลื่น 1 มาได้ เราก็คาดได้ว่า นั่นน่าจะเป็นขา 2 และกำลังขึ้นคลื่นลูกที่ 3 ต่อ
ไม่มีใครกะได้ว่า จะจบตรงไหน เพราะเพิ่งเริ่มคลื่นใหม่ เราทำได้ คือรอให้มันจบคลื่น 1 ก่อน แต่อย่างน้อยที่สุด คลื่นย่อยในคลื่น 1 ควรจะประกอบด้วย 5 คลื่น ไม่ใช่ 3 คลื่น หากนับได้ 3 คลื่นเมื่อไหร่ ตีความได้ว่าการ correction ของคลื่นรอบที่ผ่านมา ยังไม่จบจริง เป็นเหตุให้ไม่ค่อยมีใครกล้าเข้าในคลื่น 1 นั่นเอง
คลื่นที่ 2 จบเมื่อไหร่ จึงจะรู้ว่า คลื่นลูกเมื่อกี๊น่ะ คลื่นที่ 1
คลื่น 2 จะไม่ต่ำกว่าคลื่น 1 ปกติ เมื่อจบคลื่น 2 เราก็จะใช้ก้นคลื่น 2 ในการหาเป้าหมายคลื่น 3 ได้ตามหลัก คลื่น 2 มักจบแถว 61.8% หรือ 78.6% โดยหากเด้งขึ้นจากแถวนี้ได้แรงๆ ผ่านยอดคลื่น 1 มาได้ เราก็คาดได้ว่า นั่นน่าจะเป็นขา 2 และกำลังขึ้นคลื่นลูกที่ 3 ต่อ
คลื่น 3 สุด hot
ใครๆก็รอขา 3 เพราะขา 3 มักจะยาวและทำกำไรได้มาก และความเสี่ยงต่ำที่สุด แต่กว่าจะรู้ว่าเป็นขา 3 บางทีมันก็เดินทางมาครึ่งทางแล้วครับ ตัวคลื่น 3 เอง ก็ประกอบด้วยคลื่นย่อยในตัว 5 คลื่น กว่าเราจะเห็นชัดๆว่า นี่คือคลื่น 3 ก็ต่อเมื่อเราจบคลื่น 2 ของ 3 และกำลังเข้าคลื่นย่อยขา 3 ของคลื่นหลักขา 3 แล้ว ทฤษฎีมีว่า ขา 3 มีโอกาสขึ้นมาได้อย่างน้อย 161.8% เมื่อวัดจากยอดขา 1 ถึง ขา 2 และหากแรงๆ ก็จะไป 261.8% หรือกระทั่ง 423.6% ก็ได้
คลื่น 4 คืนกำไร
คลื่นลูกนี้ไม่ค่อยแนะนำให้เล่น เพราะคาดการณ์ยากครับ ตามทฤษฎีบอกว่า ขา 4 จะลงไม่ถึงขา 1แต่บางครั้ง มันก็อาจจะลงมาต่ำกว่าขา 1 นิดหน่อยเหมือนกัน
คลื่น 5 คนกล้า
คลื่นลูกนี้ไม่ค่อยแนะนำให้เล่น เพราะคาดการณ์ยากครับ ตามทฤษฎีบอกว่า ขา 4 จะลงไม่ถึงขา 1แต่บางครั้ง มันก็อาจจะลงมาต่ำกว่าขา 1 นิดหน่อยเหมือนกัน
คลื่น 5 คนกล้า
เพราะเป็นคลื่นที่ไม่มีความแน่นอน พร้อมที่จะล้มเหลวเมื่อไหร่ก็ได้ จึงเป็นคลื่นที่ไม่มีแรง คลื่นสำหรับคนตกขบวนที่เข้าไม่ทันในคลื่น 3 ลองเข้ามาเสี่ยงทำกำไรเล็กน้อย ก่อนการปรับฐาน
คลื่น a ปรับฐาน
เป็นคลื่นแรกของการปรับฐาน ที่อาจรุนแรงรวดเดียว หรือเพียงเบาะๆก็ได้ คลื่น a กับ คลื่น c เป็นคลื่นขาลงเหมือนกัน แต่ปกติหากมีคลื่นอันใดอันหนึ่งที่ยาว อีกอันก็จะสั้นๆครับ
คลื่น b ถอนตัว
จบคลื่น a ราคามักจะดีดกลับขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะบางคนก็เชื่อว่า การปรับฐานจบแล้ว บางคนก็เชื่อว่า ที่ผ่านมา คงเป็นแค่คลื่น 3 ขอเล่นคลื่น 5 ต่อ คุณสมบัติของคลื่น b ต้องดูสัญญาณประกอบครับ โดยเฉพาะ Stoch กับ Rsi มักขึ้นมาเร็วมาก ราคาอาจสูงกว่าหรือต่ำกว่าคลื่น 5 ก็ได้ ให้ดูสัญญาณเป็นสำคัญ และรีบถอนตัวเมื่อยอดสัญญาณเลยยอดสัญญาณของคลื่น 5
คลื่น c ปรับฐาน
การ correction หรือการปรับฐาน จะจบด้วยขา c โดยขา c มักจบที่ 78.6% เมื่อวัดจากยอดคลื่น 5 ถึงฐานของคลื่น 1 หากลึกกว่านั้น แปลว่าตลาดอาจกลับสภาวะจากกระทิงเป็นหมีไปแล้วก็ได้
RSI นับคลื่น
ให้ดูยอดคลื่นที่สูงที่สุดของ RSI เทียบกับยอดคลื่นราคาครับ ยอดคลื่น RSI ที่สูง จะตรงกับคลื่น 3 และคลื่น b เสมอ
ให้ดูยอดคลื่นที่สูงที่สุดของ RSI เทียบกับยอดคลื่นราคาครับ ยอดคลื่น RSI ที่สูง จะตรงกับคลื่น 3 และคลื่น b เสมอ
ต้องใช้หลายๆ อย่างประกอบรวมเข้าด้วยกัน
- การดูความสัมพันธ์กันของ Elliott Wave ในแต่ละ Timeframe
- ความสัมพันธ์ของ Oscillator Indicators ที่บอก Overbought , Oversold ในแต่ละ Timeframe
- การใช้ Fibonacci ในการหา TP และความน่าจะเป็น ในการกลับตัวของ Trend
- Support - Resistance หลักๆ ของวัน และในแต่ละ Wave
- และก็ดูแนวโน้มของตลาด , อารมณ์ของตลาด และสำคัญอารมณ์ของตัวเราเองครับ
บทสรุป ELW
1 Elliott wave เป็นเครื่องมือ ชนิดหนึ่ง เพื่อใช้คาดหมายพฤติกรรมของตลาด หรือความน่าจะเป็น ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แม้ บางครั้ง Elliott wave สามารถคาดการณ์สิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นได้ล่วงหน้าได้แม่นยำอย่างน่าอัศจรรย์ แต่ก็ไม่ได้เป็นจริง หรือถูกหมดทุกครั้ง ต้องอาศัยการแก้ไขเมื่อความจริงปรากฏ
2. Elliott wave จะมีประโยชน์อย่างเต็มที่เมื่อนำมาใช้ อย่างง่ายๆ เช่นการดูว่าขณะนี้เป็น Impulse หรือ Corrective wave เพื่อตัดสินใจดำเนินการไปตามแนวทางนั้น
3. ใช้ความน่าจะเป็นให้เป็นประโยชน์ แทนการตัดสินใจด้วยอารมณ์ การต่อสู้ในตลาด นอกจากจะต้องต่อสู้กับนักลงทุนอื่นๆแล้ว สิ่งที่ยากยิ่งคือการต่อสู้กับอารมณ์ของตัวเอง
4. เมื่อจะเข้าถือ position ต้องให้รู้ว่าเพราะอะไร ทำไมจึงควรทำเช่นนั้น การ Enter/Exit จากสถานะเดิม มีอะไรเป็นตัว Trigger อะไรเป็นตัวก่อให้เกิดสัญญาณนั้น
บทสรุป ELW
1 Elliott wave เป็นเครื่องมือ ชนิดหนึ่ง เพื่อใช้คาดหมายพฤติกรรมของตลาด หรือความน่าจะเป็น ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต แม้ บางครั้ง Elliott wave สามารถคาดการณ์สิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นได้ล่วงหน้าได้แม่นยำอย่างน่าอัศจรรย์ แต่ก็ไม่ได้เป็นจริง หรือถูกหมดทุกครั้ง ต้องอาศัยการแก้ไขเมื่อความจริงปรากฏ
2. Elliott wave จะมีประโยชน์อย่างเต็มที่เมื่อนำมาใช้ อย่างง่ายๆ เช่นการดูว่าขณะนี้เป็น Impulse หรือ Corrective wave เพื่อตัดสินใจดำเนินการไปตามแนวทางนั้น
3. ใช้ความน่าจะเป็นให้เป็นประโยชน์ แทนการตัดสินใจด้วยอารมณ์ การต่อสู้ในตลาด นอกจากจะต้องต่อสู้กับนักลงทุนอื่นๆแล้ว สิ่งที่ยากยิ่งคือการต่อสู้กับอารมณ์ของตัวเอง
4. เมื่อจะเข้าถือ position ต้องให้รู้ว่าเพราะอะไร ทำไมจึงควรทำเช่นนั้น การ Enter/Exit จากสถานะเดิม มีอะไรเป็นตัว Trigger อะไรเป็นตัวก่อให้เกิดสัญญาณนั้น
8/19/2009
Scalping คืออะไร?
คือการเทรดสั้นๆ (มากๆ) เข้าเร็ว ออกเร็ว เน้นช่วงกราฟแรงๆ ครับ
8/15/2009
การตั้ง order Stop กับ Limit
Buy Stop คือราคาที่เราต้องการซื้อ Buy นั้นอยู่เหนือราคาปัจจุบัน ใช้ในกรณีที่เรามองว่า ต้องผ่านแนวต้านนี้ไปก่อน เราจึงจะเข้า ซื้อ Buy เราก็ set order Buy Stop ไว้ตรงราคานั้น
Buy Limit คือราคาที่เราต้องการซื้อ Buy นั้นอยู่ต่ำกว่าราคาปัจจุบัน ใช้ในกรณีที่เรามองว่าจุดที่เราจะซื้อ Buy นั้น เป็นจุดต่ำสุด แล้วเราก็ set order Buy Limit ไว้ตรงราคานั้น
Sell Stop คือราคาที่เราต้องการ ขาย Sell นั้น อยู่ต่ำกว่าราคาปัจจุบัน ใช้ในกรณีที่เรามองว่า ต้องผ่านแนวรับนี้ไปก่อน เราจึงจะเข้าขายย Sell เราก็ set order Sell Stop ไว้ตรงราคานั้น
Sell Limit คือราคาที่เราต้องการขาย Sell นั้นอยู่เหนือราคาปัจจุบัน ใช้ในกรณีที่เรามองว่าจุดที่เราจะขาย Sell นั้นเป็นจุดสูงสุดแล้วเราก็ set order Sell Limit ไว้ตรงราคานั้น
Buy Limit คือราคาที่เราต้องการซื้อ Buy นั้นอยู่ต่ำกว่าราคาปัจจุบัน ใช้ในกรณีที่เรามองว่าจุดที่เราจะซื้อ Buy นั้น เป็นจุดต่ำสุด แล้วเราก็ set order Buy Limit ไว้ตรงราคานั้น
Sell Stop คือราคาที่เราต้องการ ขาย Sell นั้น อยู่ต่ำกว่าราคาปัจจุบัน ใช้ในกรณีที่เรามองว่า ต้องผ่านแนวรับนี้ไปก่อน เราจึงจะเข้าขายย Sell เราก็ set order Sell Stop ไว้ตรงราคานั้น
Sell Limit คือราคาที่เราต้องการขาย Sell นั้นอยู่เหนือราคาปัจจุบัน ใช้ในกรณีที่เรามองว่าจุดที่เราจะขาย Sell นั้นเป็นจุดสูงสุดแล้วเราก็ set order Sell Limit ไว้ตรงราคานั้น
8/14/2009
วิธีการซื้อ-ขาย
เมื่อคุณวิเคราะห์ออกมาแล้วว่าค่าเงินจะขึ้น ควรซื้อเก็บไว้ทำกำไร เมื่อค่าเงินขึ้นหมายถึงมีราคาสูงขึ้น ค่าเงินที่คุณถือไว้ก็จะมีราคาสูงขึ้นและจะมีกำไรเมื่อขายออก ลักษณะนี้เรียกว่าการเล่นแบบ Long แต่หากคุณวิเคราะห์ว่าค่าเงินจะตก คุณควรขายค่าเงินที่ถืออยู่ออกไป เพื่อป้องกันการขาดทุน หรืออาจจะทำการขายโดยที่คุณไม่ต้องมีค่าเงินถืออยู่ ซึ่งเป็นการเล่นแบบ Short เมื่อค่าเงินตกหรือลดราคาลง คุณก็จะได้กำไร เนื่องจากคุณขายทำกำไรที่ราคาสูง แต่คุณปิดการขายหรือจ่ายคืนที่ราคาต่ำ ทำให้คุณได้กำไรจากส่วนต่างนี้ทันที ดังนั้นในการเล่นจะต้องนำผลการวิเคราะห์มากำหนดพฤติกรรมการซื้อ-ขายของเราให้ทำกำไรได้ และป้องกันการเสียหายจากการขาดทุน หากคุณมีความรู้และมีความสามารถในการวิเคราะห์ที่ดีแล้ว คุณก็มีโอกาสในการทำเงินในตลาด นี้ได้แน่นอนครับ
การเล่น Buy (ซื้อ) หรือการเล่น Longการเล่นในลักษณะนี้นั้นคือวิธีเดียวกับการเล่นหุ้นทั่วไป คือเมื่อเราซื้อที่ราคาหนึ่ง แล้วต่อมาราคาได้ขยับขึ้นไปสูงกว่าราคาที่ซื้อมา เมื่อเราขายออกย่อมทำกำไรจากราคาที่สูงขึ้น
การเล่น Sell (ขาย) หรือการเล่น Shortการเล่นในลักษณะนี้คือการเล่นโดยที่เมื่อเราเข้าทำการขายที่ราคาหนึ่ง แล้วราคาลดลงเราจะได้กำไร เนื่องจากการเล่นในลักษณะนี้นั้นคือการยืมตัวค่าเงินที่เราต้องการมาจากโบรกเกอร์ แล้วทำการขายออกที่ระดับราคาหนึ่ง จากนั้นเมื่อราคาได้ลดลงไป เราจึงสามารถซื้อตัวค่าเงินนั้นๆกลับคืนให้โบรกเกอร์ในราคาที่ต่ำลง เราจึงได้กำไรจากส่วนต่างจากที่เราทำการขายไป
สำหรับการเล่นทั้งสองแบบนั้น ในปัจจุบันสามารถทำได้ง่าย เพียงแค่เลือกลักษณะการเล่นจากในโปรแกรมที่เราใช้เล่นอยู่ว่าจะเลือก Buy หรือ Sell เท่านั้นก็เป็นอันเสร็จ ซึ่งสะดวกและรวดเร็วมาก
การเล่น Buy (ซื้อ) หรือการเล่น Longการเล่นในลักษณะนี้นั้นคือวิธีเดียวกับการเล่นหุ้นทั่วไป คือเมื่อเราซื้อที่ราคาหนึ่ง แล้วต่อมาราคาได้ขยับขึ้นไปสูงกว่าราคาที่ซื้อมา เมื่อเราขายออกย่อมทำกำไรจากราคาที่สูงขึ้น
การเล่น Sell (ขาย) หรือการเล่น Shortการเล่นในลักษณะนี้คือการเล่นโดยที่เมื่อเราเข้าทำการขายที่ราคาหนึ่ง แล้วราคาลดลงเราจะได้กำไร เนื่องจากการเล่นในลักษณะนี้นั้นคือการยืมตัวค่าเงินที่เราต้องการมาจากโบรกเกอร์ แล้วทำการขายออกที่ระดับราคาหนึ่ง จากนั้นเมื่อราคาได้ลดลงไป เราจึงสามารถซื้อตัวค่าเงินนั้นๆกลับคืนให้โบรกเกอร์ในราคาที่ต่ำลง เราจึงได้กำไรจากส่วนต่างจากที่เราทำการขายไป
สำหรับการเล่นทั้งสองแบบนั้น ในปัจจุบันสามารถทำได้ง่าย เพียงแค่เลือกลักษณะการเล่นจากในโปรแกรมที่เราใช้เล่นอยู่ว่าจะเลือก Buy หรือ Sell เท่านั้นก็เป็นอันเสร็จ ซึ่งสะดวกและรวดเร็วมาก
8/13/2009
เราจะเริ่มต้นอย่างไร?
ในตลาด ซื้อขายเงินตราต่างประเทศ จะต่างจากหุ้น ตรงที่ เราจะดูกันเป็น “คู่” ครับ ยกตัวอย่างเช่น EUR/USD คือการเปรียบเทียบระหว่างเงินยูโร กับเงินดอลลาร์ ค่าเงินด้านซ้ายเราเรียกว่า base currency โดยเรามักจะเห็นราคา ซื้อ-ขาย มี 2 ราคา อย่างนี้ครับ EUR/USD ราคาBid= 1.4000 ราคาAsk= 1.4004 เมื่อเราต้องการซื้อจะได้ราคา Ask=1.4004 เมื่อเราต้องการขายเราจะได้ราคา Bid= 1.4000 มันก็คือราคาซื้อกับราคาขายนั่นเอง
ข้อดีของตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศ คือ เราสามารถซื้อขายได้ทั้งขาขึ้นและขาลง
ถ้าเราสั่ง ซื้อ (เรียกว่า Buy หรือ Long) เราจะได้ราคาที่ Ask=1.4004 และเมื่อเราสั่งปิด order นี้ เราจะได้ราคาที่ Bid=1.4000
การ Buy คือการที่เราซื้อมาถือไว้ เพื่อรอราคาให้สูงขึ้น และเราจะปิด order นี้ โดยการ Sell คืน
เมื่อเราสั่ง ขาย (เรียกว่า Sell หรือ Short) เราจะได้ราคาที่ Bid=1.4000 และเมื่อเราสั่งปิด order นี้ เราจะได้ราคาที่ Ask=1.4004
การ Sell คือการที่เราขายออกไปก่อน เพื่อรอราคาตกลงมา และเราจะปิด order นี้ โดยการ Buy คืน
สมมุติว่า เราพิจารณาแล้ว เราเห็นว่า EUR น่าจะแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับ USD (คือ EUR จะแลก USD ได้มากขึ้น เมื่อเวลาผ่านไป) เราจะทำการเข้า ซื้อ Buy โดยที่เราจะได้ราคา Ask=1.4004 เมื่อเวลาผ่านไป ราคาวิ่งขึ้นไป ที่ 1.4054 หรือขึ้นมา 50 จุด แล้วเราต้องการขายเราจะได้ราคา Bid=1.4054 เท่ากับเราจะได้กำไรทั้งหมด 50จุดครับ
สรุป
เมื่อเราซื้อ Buy เราจะได้ราคาที่ Ask เมื่อเราต้องการปิดorder โดยการ Sell คืน เราจะได้ราคาตรงข้ามคือราคาที่Bid
เมื่อเราขาย Sell เราจะได้ราคาที่ Bid เมื่อเราต้องการปิดorder โดยการ Buy คืน เราจะได้ราคาตรงข้ามคือราคาที่ Ask
ข้อดีของตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศ คือ เราสามารถซื้อขายได้ทั้งขาขึ้นและขาลง
ถ้าเราสั่ง ซื้อ (เรียกว่า Buy หรือ Long) เราจะได้ราคาที่ Ask=1.4004 และเมื่อเราสั่งปิด order นี้ เราจะได้ราคาที่ Bid=1.4000
การ Buy คือการที่เราซื้อมาถือไว้ เพื่อรอราคาให้สูงขึ้น และเราจะปิด order นี้ โดยการ Sell คืน
เมื่อเราสั่ง ขาย (เรียกว่า Sell หรือ Short) เราจะได้ราคาที่ Bid=1.4000 และเมื่อเราสั่งปิด order นี้ เราจะได้ราคาที่ Ask=1.4004
การ Sell คือการที่เราขายออกไปก่อน เพื่อรอราคาตกลงมา และเราจะปิด order นี้ โดยการ Buy คืน
สมมุติว่า เราพิจารณาแล้ว เราเห็นว่า EUR น่าจะแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับ USD (คือ EUR จะแลก USD ได้มากขึ้น เมื่อเวลาผ่านไป) เราจะทำการเข้า ซื้อ Buy โดยที่เราจะได้ราคา Ask=1.4004 เมื่อเวลาผ่านไป ราคาวิ่งขึ้นไป ที่ 1.4054 หรือขึ้นมา 50 จุด แล้วเราต้องการขายเราจะได้ราคา Bid=1.4054 เท่ากับเราจะได้กำไรทั้งหมด 50จุดครับ
สรุป
เมื่อเราซื้อ Buy เราจะได้ราคาที่ Ask เมื่อเราต้องการปิดorder โดยการ Sell คืน เราจะได้ราคาตรงข้ามคือราคาที่Bid
เมื่อเราขาย Sell เราจะได้ราคาที่ Bid เมื่อเราต้องการปิดorder โดยการ Buy คืน เราจะได้ราคาตรงข้ามคือราคาที่ Ask
8/12/2009
จุดเด่นและความน่าสนใจของตลาด
1. ใช้เงินลงทุนต่ำหรือแค่บางส่วนของเงินจำนวนเต็มเช่นใช้แค่ 1ส่วนจากจำนวนจริง100ส่วน
2. เป็นตลาดที่ทำการซื้อขาย online และดำเนินการทุกอย่างผ่าน Internet ตลอด 24 ชั่วโมงตั้งแต่วันจันทร์-วันศุกร์หยุดเสาร์อาทิตย์
3. การส่งคำสั่งซื้อ-ขาย เป็นระบบอัตโนมัติ ไม่มีคนกลาง ไม่่พลาดทุกคำสั่งซื้อ-ขายที่ต้องการ
4. สามารถทำกำไรได้ทั้งตลาดช่วงขาขึ้น และตลาดช่วงขาลง
5. ค่าดำเนินการต่ำ โบรกเกอร์เก็บค่า spread ตั้งแต่ 1 – 10 pips ต่อเทรด ขึ้นอยู่กับคู่ของค่าเงินที่เทรด
6. มีเงินปลอมให้ทดลองเทรดได้เสมือนจริง บนระบบจริง โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดใดทั้งสิ้น
2. เป็นตลาดที่ทำการซื้อขาย online และดำเนินการทุกอย่างผ่าน Internet ตลอด 24 ชั่วโมงตั้งแต่วันจันทร์-วันศุกร์หยุดเสาร์อาทิตย์
3. การส่งคำสั่งซื้อ-ขาย เป็นระบบอัตโนมัติ ไม่มีคนกลาง ไม่่พลาดทุกคำสั่งซื้อ-ขายที่ต้องการ
4. สามารถทำกำไรได้ทั้งตลาดช่วงขาขึ้น และตลาดช่วงขาลง
5. ค่าดำเนินการต่ำ โบรกเกอร์เก็บค่า spread ตั้งแต่ 1 – 10 pips ต่อเทรด ขึ้นอยู่กับคู่ของค่าเงินที่เทรด
6. มีเงินปลอมให้ทดลองเทรดได้เสมือนจริง บนระบบจริง โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดใดทั้งสิ้น
8/11/2009
พื้นฐานตลาดการเงินระดับโลก
การซื้อขายในตลาดเงินตราต่างประเทศ ในที่นี้นั้นคือการเก็งกำไร เมื่อซื้อเก็บไว้ แล้ว ถ้าราคาขึ้นคือมีราคาสูงขึ้น เมื่อเราขายออกก็มีกำไร ถ้าราคาตกหรือมีราคาลดลง เมื่อขายออกก็ขาดทุน แต่ยังมีวิธีการเล่นอีกอย่าง คือ การขายออก เป็นการขายค่าเงินออกโดยที่เราไม่ได้ถือค่าเงินนั้นๆไว้ คล้ายๆกับการที่เรายืมค่าเงินมาขายออกก่อนในช่วงที่ค่าเงินมีราคาสูง คือได้ราคาดี จากนั้นเมื่อค่าเงินตกหรือมีราคาต่ำลง เราค่อยซื้อกลับคืนมา ซึ่งเท่ากับว่าได้จ่ายค่าเงินนั้นกลับไปในราคาที่ต่ำลง ทำให้เราได้กำไรจากส่วนต่าง ดังนั้น นักลงทุนที่ดีจึงสามารถทำเงินได้ในตลาด เงินตราต่างประเทศ ทั้งขาขึ้นและขาลง โดยไม่ต้องรอหวังว่าตลาดจะขึ้นอย่างเดียว
ความรู้พื้นฐานในการวิเคราะห์จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้เราปลอดภัยในการซื้อขายในตลาดเงินตราต่างประเทศ ซึ่งการวิเคราะห์นั้นมีอยู่ 2 ชนิดใหญ่ๆ ดังนี้
1. การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis)
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเป็นการวิเคราะห์ภาวะทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ซึ่งมีผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ และค่าเงินของประเทศนั้นๆ ซึ่งประเทศไหนเศรษฐกิจดี ค่าเงินก็ดีขึ้นตาม อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ทำให้มีอัตราแลกเปลี่ยนที่สูงขึ้น ซึ่งเราสามารถติดตามสภาพพื้นฐานนี้ได้จากข่าวต่างๆ แต่วิธีการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานไม่สามารถบอกถึงจังหวะการเข้าซื้อขายได้
2. การวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis)
การวิเคราะห์ทางเทคนิคคือการหาแนวโน้มการเคลื่อนไหวของราคาจากทางเดินของกราฟ ซึ่งมีวิธีการที่หลากหลายมาก อาศัยหลักวิชาการทางสถิติ ความน่าจะเป็น และหลักจิตวิทยามาวิเคราะห์ เนื่องจากความเชื่อว่าราคาหลักทรัพย์มักจะเคลื่อนที่ไปตามแนวโน้มอย่างเป็นแบบแผน ในช่วงเวลาหนึ่งๆ จนกว่าจะเปลี่ยนแปลงเข้าสู่แนวโน้มใหม่ สามารถวิเคราะห์ได้เร็วกว่าการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน เพราะต้องใช้ข้อมูลน้อย ใช้เพียงราคาและปริมาณการซื้อขายในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น
ในการวิเคราะห์ที่ดีนั้น ควรใช้การวิเคราะห์ทั้งสองอย่างประกอบกันในการตัดสินใจ
ความรู้พื้นฐานในการวิเคราะห์จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้เราปลอดภัยในการซื้อขายในตลาดเงินตราต่างประเทศ ซึ่งการวิเคราะห์นั้นมีอยู่ 2 ชนิดใหญ่ๆ ดังนี้
1. การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis)
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเป็นการวิเคราะห์ภาวะทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ซึ่งมีผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ และค่าเงินของประเทศนั้นๆ ซึ่งประเทศไหนเศรษฐกิจดี ค่าเงินก็ดีขึ้นตาม อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ทำให้มีอัตราแลกเปลี่ยนที่สูงขึ้น ซึ่งเราสามารถติดตามสภาพพื้นฐานนี้ได้จากข่าวต่างๆ แต่วิธีการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานไม่สามารถบอกถึงจังหวะการเข้าซื้อขายได้
2. การวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Analysis)
การวิเคราะห์ทางเทคนิคคือการหาแนวโน้มการเคลื่อนไหวของราคาจากทางเดินของกราฟ ซึ่งมีวิธีการที่หลากหลายมาก อาศัยหลักวิชาการทางสถิติ ความน่าจะเป็น และหลักจิตวิทยามาวิเคราะห์ เนื่องจากความเชื่อว่าราคาหลักทรัพย์มักจะเคลื่อนที่ไปตามแนวโน้มอย่างเป็นแบบแผน ในช่วงเวลาหนึ่งๆ จนกว่าจะเปลี่ยนแปลงเข้าสู่แนวโน้มใหม่ สามารถวิเคราะห์ได้เร็วกว่าการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน เพราะต้องใช้ข้อมูลน้อย ใช้เพียงราคาและปริมาณการซื้อขายในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น
ในการวิเคราะห์ที่ดีนั้น ควรใช้การวิเคราะห์ทั้งสองอย่างประกอบกันในการตัดสินใจ
8/10/2009
ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ คืออะไร ???
ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราสากล “Foreign Exchange Market” เป็นสถาบันตลาดการเงินที่ใหญ่สุดในโลก ด้วยปริมาณการซื้อขายเกิน 4 ล้านล้านเหรียญต่อวัน ถ้าเราเปรียบกับ 25 ล้านเหรียญ ต่อวัน ของปริมาณการซื้อขายของตลาดหุ้นนิวยอร์ค คุณจะเห็นความมหึมาของตลาดเงินตราสากล ความจริงแล้วมันก็ประมาณ 3 เท่าของตลาดหุ้นทุกชนิดในโลกรวมกัน นี่คือความยิ่งใหญ่ของตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศ
ใช้อะไรในการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ
คำตอบที่ง่ายที่สุดก็คือ เงิน ตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศ เป็นตลาดที่ทำการซื้อเงินหนึ่งสกุลและขายเงินอีกหนึ่งสกุลได้ในทันที สกุลเงินสามารถค้าขายโดยผ่ายตัวแทน โบรกเกอร์ (Broker) หรือ ตัวแทน (Dealer) และซื้อขายกันเป็นคู่ต่างสกุลเงิน ยกตัวอย่างเช่น เงินดอลลาร์(us)กับเงินยูโร , เงินดอลลาร์(us)กับเงินปอนด์ อังกฤษ หรือเงินดอลลาร์(us)กับ เงิน เยน ญี่ปุ่น
โดยทั่วไปแล้วอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินต่ออีกสกุลเงินหนึ่ง สะท้อนถึงสถานภาพของเศรษฐกิจของประเทศนั้น เปรียบเทียบ กับอีกประเทศหนึ่ง ไม่เหมือนตลาดหุ้น (Stock Market) ของนิวยอร์ค ตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ไม่มีสถานที่ตั้งหรือศูนย์กลาง หรือสำนักงานใหญ่ เหมือนตลาดหุ้นอื่น ตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ถูกจัดอยู่ในประเภท Over the Counter (OTC) หรือ ธนาคาร “Interbank” ด้วยความจริงที่ว่าตลาดทั้งหมดเดินด้วยการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ ภายในเครือข่ายของธนาคาร ตลอด 24 ชั่วโมงก่อน ปี ค.ศ. 1990 เฉพาะเศรษฐี และ องค์กรใหญ่ ๆ เท่านั้น ที่สามารคเข้าเทรดในตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศ นี้ได้ คุณสมบัติขั้นต่ำคือคุณต้องมี 50,000,000.– (ห้าสิบล้าน)เหรียญสหรัฐ เพื่อเริ่มต้นที่จะเข้าทำการเทรด แรกทีเดียว ตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ถูกจัดให้เป็นตลาดที่ใช้โดยธนาคาร และ องค์กรใหญ่ ๆ เท่านั้น ไม่ได้มีไว้ให้พวกเราเข้าเทรดเล่นๆหรอกนะ อย่างไรก็ตามความก้าวหน้าทางอินเตอร์เน็ต การเทรดในตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ได้ถูกจัดโดยเอเยนซี่ต่างๆ ให้เข้าทำการเทรดได้ ด้วยบัญชีรายย่อย สำหรับพวกเรา ๆ ท่าน ๆ
ใช้อะไรในการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ
คำตอบที่ง่ายที่สุดก็คือ เงิน ตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศ เป็นตลาดที่ทำการซื้อเงินหนึ่งสกุลและขายเงินอีกหนึ่งสกุลได้ในทันที สกุลเงินสามารถค้าขายโดยผ่ายตัวแทน โบรกเกอร์ (Broker) หรือ ตัวแทน (Dealer) และซื้อขายกันเป็นคู่ต่างสกุลเงิน ยกตัวอย่างเช่น เงินดอลลาร์(us)กับเงินยูโร , เงินดอลลาร์(us)กับเงินปอนด์ อังกฤษ หรือเงินดอลลาร์(us)กับ เงิน เยน ญี่ปุ่น
โดยทั่วไปแล้วอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินต่ออีกสกุลเงินหนึ่ง สะท้อนถึงสถานภาพของเศรษฐกิจของประเทศนั้น เปรียบเทียบ กับอีกประเทศหนึ่ง ไม่เหมือนตลาดหุ้น (Stock Market) ของนิวยอร์ค ตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ไม่มีสถานที่ตั้งหรือศูนย์กลาง หรือสำนักงานใหญ่ เหมือนตลาดหุ้นอื่น ตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ถูกจัดอยู่ในประเภท Over the Counter (OTC) หรือ ธนาคาร “Interbank” ด้วยความจริงที่ว่าตลาดทั้งหมดเดินด้วยการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ ภายในเครือข่ายของธนาคาร ตลอด 24 ชั่วโมงก่อน ปี ค.ศ. 1990 เฉพาะเศรษฐี และ องค์กรใหญ่ ๆ เท่านั้น ที่สามารคเข้าเทรดในตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศ นี้ได้ คุณสมบัติขั้นต่ำคือคุณต้องมี 50,000,000.– (ห้าสิบล้าน)เหรียญสหรัฐ เพื่อเริ่มต้นที่จะเข้าทำการเทรด แรกทีเดียว ตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ถูกจัดให้เป็นตลาดที่ใช้โดยธนาคาร และ องค์กรใหญ่ ๆ เท่านั้น ไม่ได้มีไว้ให้พวกเราเข้าเทรดเล่นๆหรอกนะ อย่างไรก็ตามความก้าวหน้าทางอินเตอร์เน็ต การเทรดในตลาดซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ได้ถูกจัดโดยเอเยนซี่ต่างๆ ให้เข้าทำการเทรดได้ ด้วยบัญชีรายย่อย สำหรับพวกเรา ๆ ท่าน ๆ
Subscribe to:
Posts (Atom)