หากสองปีก่อนคือห้วงเวลาที่ทั่วโลกเผชิญความขมขื่นจากพิษซับไพรม์ ปีที่เพิ่งผ่านไปคืออดีตอันเลวร้ายของภาวะเศรษฐกิจซบเซา ในปีนี้จึงถึงคราวที่หลายประเทศต้องปวดหัวเพราะต้องเผชิญกับวิกฤตหนี้สินรุมเร้า อันนำมาซึ่งปรากฏการณ์ขาดดุลงบประมาณบานปลาย จนกลายเป็นปัญหาที่ยากจะเยียวยาภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว
แสงสว่างทางเศรษฐกิจที่เริ่มสาดส่องจากจีนและสหรัฐกำลังถูกบดบังจากเงามืดของกรีซ โปรตุเกส อังกฤษ และสเปน สี่ประเทศที่ตกเป็นจำเลยทางเศรษฐกิจ ด้วยข้อกล่าวหาที่ว่า ปัญหาหนี้สินในกลุ่มประเทศเหล่านี้คือตัวบ่อนทำลายความเชื่อมั่นของนักลงทุน และทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกทรุดตัวตามๆกันเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ซ้ำร้ายความเสียหายยังแผ่ขยายไปยังตลาดปริวรรตเงินตรา ที่ทำให้เงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐในอัตราแลกเปลี่ยนที่ระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือนเมื่อช่วงต้นสัปดาห์
สัญญาณเตือนภัยที่เริ่มส่งเสียงดังขึ้นเรื่อยๆ ทำให้บรรดาผู้นำของสหภาพยุโรป (อียู) เตรียมประชุมร่วมกันที่กรุงบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยี่ยมในวันพรุ่งนี้ (11 กุมภาพันธ์) เพื่อหารือถึงแนวโน้มเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศสมาชิก แต่ก่อนจะถึงวันนั้น ขอเชิญทุกท่านร่วมแกะรอยชะตากรรมทางเศรษฐกิจจากกรีซถึงสเปนไปด้วยกันนับจากบรรทัดต่อไปนี้
กรีซ
"กรีซ" ประเทศที่มีผู้เปรียบเปรยว่าเป็นดั่ง "รากแก้ว" แห่งอารยธรรมกรีกโบราณ อันเป็นพื้นฐานทางวัฒนธรรมที่เลื่องชื่อของชาติตะวันตก แต่กลับสอบตกวิชาบริหารเศรษฐกิจ หลังรัฐบาลก่อหนี้เกินตัวจนทำให้ตัวเลขพุ่งสูงกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ถึง 113% ในปี 2552 และมีแนวโน้มไต่ระดับต่อไปแตะ 125% ในปีนี้ ขณะที่ยอดขาดดุลงบประมาณอยู่ที่ระดับ 12.7% ของจีดีพี สูงกว่าเพดานขาดดุลงบประมาณที่อียูตั้งไว้ที่ 3%
พฤติกรรมการใช้จ่ายเงินเกินพอดีทำให้กรีซมีหนี้สินจำนวนมหาศาลถึง 2.94 แสนล้านยูโร หรือ 4.341 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และทำให้ประเทศตกเป็น "จุดอ่อน" ในกลุ่มสมาชิกอียู หรืออาจเป็นผู้ถ่วงความเจริญของโลกในยามที่โอกาสของการลืมตาอ้าปากทางเศรษฐกิจอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม
ท่ามกลางมรสุมหนี้สินที่กำลังสร้างปัญหาให้กรีซและกลุ่มประเทศอียูนั่นเอง มีนักวิเคราะห์ออกมาแสดงทัศนะว่า กรีซคือผลพวงของความฉ้อฉลทางการเมืองและเศรษฐกิจแบบทุนนิยม จากการทุจริตทั้งภาคธุรกิจและในวงข้าราชการ ทำให้มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณกันอย่างมันมือ ทั้งหมดนี้คือต้นตอของวิกฤตหนี้สินขนาดมหึมา และงบประมาณขาดดุลก้อนมโหฬาร
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจจะเลวร้ายแค่ไหน นายกรัฐมนตรีจอร์จ ปาปันเดรอู ของกรีซกลับออกมาประกาศจะยืนหยัดด้วยลำแข้งของตัวเอง พร้อมชี้แจงว่าไม่ต้องการง้อความช่วยเหลือจากชาติใด เช่นเดียวกับรัฐมนตรีคลังกรีซที่กล่าวในการประชุมว่าด้วยอนาคตของธุรกิจธนาคารในประเทศว่า กรีซยังไม่จำเป็นต้องขอเงินกู้จากต่างประเทศเพื่อกอบกู้สถานการณ์เงินแต่อย่างใด แม้ว่าปัจจุบัน รัฐบาลกรีซจะถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือจาก A มาอยู่ที่ระดับ BBB+ เป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปีจนทำให้กรีซกลายเป็นนักเรียนที่รั้งตำแหน่งบ๊วยในชั้นเรียนยูโรโซน
โปรตุเกส
"โปรตุเกส" ชาวยุโรปชาติแรกที่เข้ามาทำการติดต่อค้าขายกับประเทศไทยเราในสมัยอยุธยา เป็นนักเรียนอีกรายในก๊วนเพื่อนร่วมยุโรปที่โดนแรงกระเพื่อมจากปัญหาหนี้สินซึ่งขยายวงกว้างลุกลามมาเรื่อยๆ หลังจากโปรตุเกสมีค่าประกันความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ (CDS) ของพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
หนึ่งในมาตรวัดความเสี่ยงทางเศรษฐกิจของโปรตุเกสอีกประการหนึ่ง คือ ส่วนต่างของอัตราผลตอบแทน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบระหว่างโปรตุเกสและเยอรมนีซึ่งถือเป็นตราสารหนี้ปลอดความเสี่ยงมากที่สุดในกลุ่มยูโรโซนพบว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุไถ่ถอน 10 ปีของโปรตุเกสเพิ่มขึ้นอีก 0.21% เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ถือเป็นการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนที่มากที่สุดในรอบเกือบ 1 ปี
เมื่อผลลัพธ์ออกมาในรูปนี้ คงไม่ผิดนักหากจะบอกว่าโปรตุเกสกำลังลอกการบ้านกรีซ ซึ่งเป็นประเทศที่มีอัตราผลตอบแทนพันธบัตรพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 10 ปี อันเป็นตัวบ่งชี้ว่า ต้นทุนของการออกพันธบัตรของกรีซและโปรตุเกสที่มีต่อการชำระหนี้นั้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่รายงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เมื่อวันที่ 20 มกราคมระบุว่า โปรตุเกส อาจเกิดวิกฤตเศรษฐกิจได้อีกครั้ง หากตัวเลขขาดดุลงบประมาณยังคงอยู่ในระดับสูง ดังนั้น มาตรการเร่งด่วนที่ไอเอ็มเอฟแนะให้รัฐบาลควรทำ คือ การลดค่าใช้จ่ายภาครัฐ การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และการขึ้นอัตราภาษี
อังกฤษ
"อังกฤษ" ถิ่นกำเนิดสถาบันการศึกษาชั้นแนวหน้าของโลกอย่างมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์และออกซ์ฟอร์ดกำลังเข้าคอร์สติวเข้มเพื่อกวดวิชาการควบคุมยอดขาดดุลงบประมาณครั้งใหญ่ ก่อนที่ชื่อเสียงระดับโลกของสถาบันทั้งสองจะตกอยู่ในสถานการณ์อันตราย ภายใต้แผนการหั่นงบประมาณด้านการศึกษามูลค่า 600 ล้านปอนด์ภายในเวลา 3 ปี
เชื่อว่าน้อยคนนักจะนึกถึงภาคธุรกิจการศึกษายามที่เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจภายในประเทศ แต่หนึ่งในแง่มุมที่น่าสนใจและอยากหยิบยกมาเล่าสู่กันฟังในครั้งนี้ คือ ผลกระทบจากปัญหาหนี้สินที่เลวร้ายกำลังทำให้มหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดของอังกฤษ อย่าง ออกซ์ฟอร์ด และเคมบริดจ์ พลอยโดนลูกหลงจากการหั่นงบประมาณของรัฐบาลไปด้วย สาเหตุก็เป็นเพราะทางสถาบันต้องพึ่งเงินภาษีในการดำเนินงาน ซึ่งทางตัวแทนของมหาวิทยาลัยชั้นนำของรัฐบาลหวั่นเกรงว่า การปรับลดงบประมาณอาจส่งผลกระทบเลวร้ายถึงขั้นทำลายขีดความสามารถทางการแข่งขันระดับนานาชาติ อันหมายรวมถึงการแข่งขันทางเศรษฐกิจ หรือแม้กระทั่งเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดจากบทความที่มีผู้เขียนไว้ว่า การสั่งสมบ่มเพาะระบบการศึกษาที่ยอดเยี่ยมที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ในระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 800 ปี จะพังทลายลงได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่เดือน
ไซมอน จอห์นสัน อดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศเมื่อปี 2550-2551 กล่าวย้ำถึงชะตากรรมอันเลวร้ายของอังกฤษว่า อังกฤษอาจตกที่นั่งลำบากเช่นเดียวกับกรีซและโปรตุเกส หากปมปัญหาหนี้สินที่มีอยู่ท่วมหัวในขณะนี้ยังไม่ได้รับการคลี่คลายให้ดีขึ้น
สำหรับเกรดเฉลี่ยการสอบวัดผลของอังกฤษนั้น สถาบันจัดอันดับเครดิตชื่อดังของโลกยังคงให้อันดับความน่าเชื่อถือของเมืองผู้ดีที่ AAA ซึ่งในประเด็นนี้โจเซฟ สติกลิทซ์ ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียและเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์เชื่อว่า นักเรียนคนนี้จะสามารถรักษาอันดับความน่าเชื่อถือที่ทริปเปิ้ลเอเอาไว้ได้ต่อไป
สเปน
"สเปน" อดีตนักล่าอาณานิคมรุ่นบุกเบิกที่เคยสร้างความยิ่งใหญ่ไปทั่วโลก ก่อนจะก้าวผ่านเวลามาถึงยุคสมัยที่สเปนสามารถเข็นแบรนด์ซาร่า (Zara) ให้เจิดจ้าในแวดวงแฟชั่นระดับโลก ล่าสุด สเปน รั้งตำแหน่งประเทศที่มียอดขาดดุลงบประมาณที่ระดับ 11.4% ขณะที่หนี้สาธารณะส่อแววพุ่งทะลุ 5 แสนล้านยูโร (7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) ภายในสิ้นปีนี้
ภาวะระส่ำระสายจากปัญหาหนี้สินในสเปนทำให้เครดิตสวิส กรุ๊ป ออกมาเตือนว่า สเปน อาจเป็นนักเรียนที่เสี่ยงทำคะแนนสอบผ่านชนิดคาบเส้น หากพิจารณาจากปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจในประเทศที่ไอเอ็มเอฟระบุว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสเปนยังคงมีมูลค่าสูงเกินความเป็นจริงอยู่ 12%
อย่างไรก็ตาม โฆเซ่ มานูเอล คัมปา รัฐมนตรีเศรษฐกิจของสเปนตั้งเป้าลดยอดขาดดุลงบประมาณให้เหลือ 3% ภายใน 3 ปี พร้อมประกาศแผนประหยัดงบประมาณจำนวน 5 หมื่นล้านยูโร (7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) แต่นักวิเคราะห์เศรษฐกิจบางรายยังไม่ปักใจเชื่อถึงความเป็นไปได้ของเป้าหมายดังกล่าว ด้วยมองว่ารัฐบาลยังมองเกมไม่ออก แถมยังประเมินสถานการณ์ในแง่ดีมากเกินไป
สุดท้ายแล้ว สเปน ก็ไม่สามารถรักษาเกรดเฉลี่ยที่ระดับ AAA จากการวัดผลของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชื่อดังเอาไว้ได้ เพราะเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมาทางสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส (S&P) ได้ปรับลดอันดับเครดิตตราสารหนี้ของสเปนลงมาอยู่ที่ AA+ พร้อมให้แนวโน้มเป็นลบ จากเดิมที่อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ เนื่องจากสเปนยังต้องเผชิญกับปัญหาขาดดุลการค้า และอาจเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำยาวนานกว่าที่คาดการณ์ไว้
ลูกศิษย์ทั้งสี่จากชั้นเรียนของสหภาพยุโรป คือ ตัวอย่างของกลุ่มก้อนประเทศเศรษฐกิจที่กำลังตะเกียกตะกายขึ้นจากห้วงเหวแห่งทุนนิยม ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้สำนักข่าวบีบีซีของอังกฤษได้จัดทำสำรวจความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมในปัจจุบันจากประชาชน 29,000 คนใน 27 ประเทศทั่วโลก เนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปีแห่งการพังทลายของกำแพงเบอร์ลินที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของชัยชนะในระบบทุนนิยมนับตั้งแต่ปี 2532
บทสรุปของผลสำรวจข้างต้นบ่งชี้ว่า 1 ใน 4 เชื่อว่าทุนนิยมกำลังล่มสลาย โดยมีเพียงร้อยละ 11 ที่มองว่าทุนนิยมยังคงทำงานได้ดี แต่ร้อยละ 23 เชื่อว่าระบบนี้จะทำให้หลายประเทศเผชิญกับหายนะ
กระแสความตื่นตระหนกต่อปัญหาหนี้สินในยุโรปที่ก่อตัวขึ้นในครั้งนี้อาจถือได้ว่าเป็นการ "หักปากกาเซียน" ของบรรดานักวิเคราะห์ที่ต่างออกมาคาดการณ์กันอย่างหน้าชื่นตาบานว่า เศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม คำตอบของคำถามที่หลายคนสงสัยว่าสหภาพยุโรปจะมีวิธีการรับมือกับวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในรูปแบบใด เชื่อว่าเราทั้งหลายจะได้หมดข้อสงสัย...ในอีกไม่นานเกินรอ
สำนักข่าวอินโฟเควสท์
แสงสว่างทางเศรษฐกิจที่เริ่มสาดส่องจากจีนและสหรัฐกำลังถูกบดบังจากเงามืดของกรีซ โปรตุเกส อังกฤษ และสเปน สี่ประเทศที่ตกเป็นจำเลยทางเศรษฐกิจ ด้วยข้อกล่าวหาที่ว่า ปัญหาหนี้สินในกลุ่มประเทศเหล่านี้คือตัวบ่อนทำลายความเชื่อมั่นของนักลงทุน และทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกทรุดตัวตามๆกันเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ซ้ำร้ายความเสียหายยังแผ่ขยายไปยังตลาดปริวรรตเงินตรา ที่ทำให้เงินยูโรอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐในอัตราแลกเปลี่ยนที่ระดับต่ำสุดในรอบ 8 เดือนเมื่อช่วงต้นสัปดาห์
สัญญาณเตือนภัยที่เริ่มส่งเสียงดังขึ้นเรื่อยๆ ทำให้บรรดาผู้นำของสหภาพยุโรป (อียู) เตรียมประชุมร่วมกันที่กรุงบรัสเซลล์ ประเทศเบลเยี่ยมในวันพรุ่งนี้ (11 กุมภาพันธ์) เพื่อหารือถึงแนวโน้มเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศสมาชิก แต่ก่อนจะถึงวันนั้น ขอเชิญทุกท่านร่วมแกะรอยชะตากรรมทางเศรษฐกิจจากกรีซถึงสเปนไปด้วยกันนับจากบรรทัดต่อไปนี้
กรีซ
"กรีซ" ประเทศที่มีผู้เปรียบเปรยว่าเป็นดั่ง "รากแก้ว" แห่งอารยธรรมกรีกโบราณ อันเป็นพื้นฐานทางวัฒนธรรมที่เลื่องชื่อของชาติตะวันตก แต่กลับสอบตกวิชาบริหารเศรษฐกิจ หลังรัฐบาลก่อหนี้เกินตัวจนทำให้ตัวเลขพุ่งสูงกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ถึง 113% ในปี 2552 และมีแนวโน้มไต่ระดับต่อไปแตะ 125% ในปีนี้ ขณะที่ยอดขาดดุลงบประมาณอยู่ที่ระดับ 12.7% ของจีดีพี สูงกว่าเพดานขาดดุลงบประมาณที่อียูตั้งไว้ที่ 3%
พฤติกรรมการใช้จ่ายเงินเกินพอดีทำให้กรีซมีหนี้สินจำนวนมหาศาลถึง 2.94 แสนล้านยูโร หรือ 4.341 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และทำให้ประเทศตกเป็น "จุดอ่อน" ในกลุ่มสมาชิกอียู หรืออาจเป็นผู้ถ่วงความเจริญของโลกในยามที่โอกาสของการลืมตาอ้าปากทางเศรษฐกิจอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม
ท่ามกลางมรสุมหนี้สินที่กำลังสร้างปัญหาให้กรีซและกลุ่มประเทศอียูนั่นเอง มีนักวิเคราะห์ออกมาแสดงทัศนะว่า กรีซคือผลพวงของความฉ้อฉลทางการเมืองและเศรษฐกิจแบบทุนนิยม จากการทุจริตทั้งภาคธุรกิจและในวงข้าราชการ ทำให้มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณกันอย่างมันมือ ทั้งหมดนี้คือต้นตอของวิกฤตหนี้สินขนาดมหึมา และงบประมาณขาดดุลก้อนมโหฬาร
อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจจะเลวร้ายแค่ไหน นายกรัฐมนตรีจอร์จ ปาปันเดรอู ของกรีซกลับออกมาประกาศจะยืนหยัดด้วยลำแข้งของตัวเอง พร้อมชี้แจงว่าไม่ต้องการง้อความช่วยเหลือจากชาติใด เช่นเดียวกับรัฐมนตรีคลังกรีซที่กล่าวในการประชุมว่าด้วยอนาคตของธุรกิจธนาคารในประเทศว่า กรีซยังไม่จำเป็นต้องขอเงินกู้จากต่างประเทศเพื่อกอบกู้สถานการณ์เงินแต่อย่างใด แม้ว่าปัจจุบัน รัฐบาลกรีซจะถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือจาก A มาอยู่ที่ระดับ BBB+ เป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปีจนทำให้กรีซกลายเป็นนักเรียนที่รั้งตำแหน่งบ๊วยในชั้นเรียนยูโรโซน
โปรตุเกส
"โปรตุเกส" ชาวยุโรปชาติแรกที่เข้ามาทำการติดต่อค้าขายกับประเทศไทยเราในสมัยอยุธยา เป็นนักเรียนอีกรายในก๊วนเพื่อนร่วมยุโรปที่โดนแรงกระเพื่อมจากปัญหาหนี้สินซึ่งขยายวงกว้างลุกลามมาเรื่อยๆ หลังจากโปรตุเกสมีค่าประกันความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ (CDS) ของพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
หนึ่งในมาตรวัดความเสี่ยงทางเศรษฐกิจของโปรตุเกสอีกประการหนึ่ง คือ ส่วนต่างของอัตราผลตอบแทน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบระหว่างโปรตุเกสและเยอรมนีซึ่งถือเป็นตราสารหนี้ปลอดความเสี่ยงมากที่สุดในกลุ่มยูโรโซนพบว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุไถ่ถอน 10 ปีของโปรตุเกสเพิ่มขึ้นอีก 0.21% เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ถือเป็นการเพิ่มขึ้นของอัตราผลตอบแทนที่มากที่สุดในรอบเกือบ 1 ปี
เมื่อผลลัพธ์ออกมาในรูปนี้ คงไม่ผิดนักหากจะบอกว่าโปรตุเกสกำลังลอกการบ้านกรีซ ซึ่งเป็นประเทศที่มีอัตราผลตอบแทนพันธบัตรพุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 10 ปี อันเป็นตัวบ่งชี้ว่า ต้นทุนของการออกพันธบัตรของกรีซและโปรตุเกสที่มีต่อการชำระหนี้นั้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่รายงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เมื่อวันที่ 20 มกราคมระบุว่า โปรตุเกส อาจเกิดวิกฤตเศรษฐกิจได้อีกครั้ง หากตัวเลขขาดดุลงบประมาณยังคงอยู่ในระดับสูง ดังนั้น มาตรการเร่งด่วนที่ไอเอ็มเอฟแนะให้รัฐบาลควรทำ คือ การลดค่าใช้จ่ายภาครัฐ การปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ และการขึ้นอัตราภาษี
อังกฤษ
"อังกฤษ" ถิ่นกำเนิดสถาบันการศึกษาชั้นแนวหน้าของโลกอย่างมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์และออกซ์ฟอร์ดกำลังเข้าคอร์สติวเข้มเพื่อกวดวิชาการควบคุมยอดขาดดุลงบประมาณครั้งใหญ่ ก่อนที่ชื่อเสียงระดับโลกของสถาบันทั้งสองจะตกอยู่ในสถานการณ์อันตราย ภายใต้แผนการหั่นงบประมาณด้านการศึกษามูลค่า 600 ล้านปอนด์ภายในเวลา 3 ปี
เชื่อว่าน้อยคนนักจะนึกถึงภาคธุรกิจการศึกษายามที่เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจภายในประเทศ แต่หนึ่งในแง่มุมที่น่าสนใจและอยากหยิบยกมาเล่าสู่กันฟังในครั้งนี้ คือ ผลกระทบจากปัญหาหนี้สินที่เลวร้ายกำลังทำให้มหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่สุดของอังกฤษ อย่าง ออกซ์ฟอร์ด และเคมบริดจ์ พลอยโดนลูกหลงจากการหั่นงบประมาณของรัฐบาลไปด้วย สาเหตุก็เป็นเพราะทางสถาบันต้องพึ่งเงินภาษีในการดำเนินงาน ซึ่งทางตัวแทนของมหาวิทยาลัยชั้นนำของรัฐบาลหวั่นเกรงว่า การปรับลดงบประมาณอาจส่งผลกระทบเลวร้ายถึงขั้นทำลายขีดความสามารถทางการแข่งขันระดับนานาชาติ อันหมายรวมถึงการแข่งขันทางเศรษฐกิจ หรือแม้กระทั่งเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดจากบทความที่มีผู้เขียนไว้ว่า การสั่งสมบ่มเพาะระบบการศึกษาที่ยอดเยี่ยมที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ในระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 800 ปี จะพังทลายลงได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่เดือน
ไซมอน จอห์นสัน อดีตหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศเมื่อปี 2550-2551 กล่าวย้ำถึงชะตากรรมอันเลวร้ายของอังกฤษว่า อังกฤษอาจตกที่นั่งลำบากเช่นเดียวกับกรีซและโปรตุเกส หากปมปัญหาหนี้สินที่มีอยู่ท่วมหัวในขณะนี้ยังไม่ได้รับการคลี่คลายให้ดีขึ้น
สำหรับเกรดเฉลี่ยการสอบวัดผลของอังกฤษนั้น สถาบันจัดอันดับเครดิตชื่อดังของโลกยังคงให้อันดับความน่าเชื่อถือของเมืองผู้ดีที่ AAA ซึ่งในประเด็นนี้โจเซฟ สติกลิทซ์ ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโคลัมเบียและเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์เชื่อว่า นักเรียนคนนี้จะสามารถรักษาอันดับความน่าเชื่อถือที่ทริปเปิ้ลเอเอาไว้ได้ต่อไป
สเปน
"สเปน" อดีตนักล่าอาณานิคมรุ่นบุกเบิกที่เคยสร้างความยิ่งใหญ่ไปทั่วโลก ก่อนจะก้าวผ่านเวลามาถึงยุคสมัยที่สเปนสามารถเข็นแบรนด์ซาร่า (Zara) ให้เจิดจ้าในแวดวงแฟชั่นระดับโลก ล่าสุด สเปน รั้งตำแหน่งประเทศที่มียอดขาดดุลงบประมาณที่ระดับ 11.4% ขณะที่หนี้สาธารณะส่อแววพุ่งทะลุ 5 แสนล้านยูโร (7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) ภายในสิ้นปีนี้
ภาวะระส่ำระสายจากปัญหาหนี้สินในสเปนทำให้เครดิตสวิส กรุ๊ป ออกมาเตือนว่า สเปน อาจเป็นนักเรียนที่เสี่ยงทำคะแนนสอบผ่านชนิดคาบเส้น หากพิจารณาจากปัจจัยแวดล้อมทางเศรษฐกิจในประเทศที่ไอเอ็มเอฟระบุว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ของสเปนยังคงมีมูลค่าสูงเกินความเป็นจริงอยู่ 12%
อย่างไรก็ตาม โฆเซ่ มานูเอล คัมปา รัฐมนตรีเศรษฐกิจของสเปนตั้งเป้าลดยอดขาดดุลงบประมาณให้เหลือ 3% ภายใน 3 ปี พร้อมประกาศแผนประหยัดงบประมาณจำนวน 5 หมื่นล้านยูโร (7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ) แต่นักวิเคราะห์เศรษฐกิจบางรายยังไม่ปักใจเชื่อถึงความเป็นไปได้ของเป้าหมายดังกล่าว ด้วยมองว่ารัฐบาลยังมองเกมไม่ออก แถมยังประเมินสถานการณ์ในแง่ดีมากเกินไป
สุดท้ายแล้ว สเปน ก็ไม่สามารถรักษาเกรดเฉลี่ยที่ระดับ AAA จากการวัดผลของสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชื่อดังเอาไว้ได้ เพราะเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมาทางสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส (S&P) ได้ปรับลดอันดับเครดิตตราสารหนี้ของสเปนลงมาอยู่ที่ AA+ พร้อมให้แนวโน้มเป็นลบ จากเดิมที่อยู่ในระดับมีเสถียรภาพ เนื่องจากสเปนยังต้องเผชิญกับปัญหาขาดดุลการค้า และอาจเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำยาวนานกว่าที่คาดการณ์ไว้
ลูกศิษย์ทั้งสี่จากชั้นเรียนของสหภาพยุโรป คือ ตัวอย่างของกลุ่มก้อนประเทศเศรษฐกิจที่กำลังตะเกียกตะกายขึ้นจากห้วงเหวแห่งทุนนิยม ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้สำนักข่าวบีบีซีของอังกฤษได้จัดทำสำรวจความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมในปัจจุบันจากประชาชน 29,000 คนใน 27 ประเทศทั่วโลก เนื่องในโอกาสครบรอบ 20 ปีแห่งการพังทลายของกำแพงเบอร์ลินที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของชัยชนะในระบบทุนนิยมนับตั้งแต่ปี 2532
บทสรุปของผลสำรวจข้างต้นบ่งชี้ว่า 1 ใน 4 เชื่อว่าทุนนิยมกำลังล่มสลาย โดยมีเพียงร้อยละ 11 ที่มองว่าทุนนิยมยังคงทำงานได้ดี แต่ร้อยละ 23 เชื่อว่าระบบนี้จะทำให้หลายประเทศเผชิญกับหายนะ
กระแสความตื่นตระหนกต่อปัญหาหนี้สินในยุโรปที่ก่อตัวขึ้นในครั้งนี้อาจถือได้ว่าเป็นการ "หักปากกาเซียน" ของบรรดานักวิเคราะห์ที่ต่างออกมาคาดการณ์กันอย่างหน้าชื่นตาบานว่า เศรษฐกิจโลกกำลังฟื้นตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม คำตอบของคำถามที่หลายคนสงสัยว่าสหภาพยุโรปจะมีวิธีการรับมือกับวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นในรูปแบบใด เชื่อว่าเราทั้งหลายจะได้หมดข้อสงสัย...ในอีกไม่นานเกินรอ
สำนักข่าวอินโฟเควสท์