"Self-conquest is the greats of victory" การชนะใจตนเอง คือ ชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุด

2/21/2013

Behavior Gap “หลุมดำ” ของผลกำไร

สมมติว่าคุณมีระบบการลงทุนดีๆ ส่วนระบบ Money Management ก็เยี่ยม แต่ถ้าพฤติกรรมการลงทุนของคุณมันห่วยล่ะ ผลจะเป็นอย่างไร?

สิ่งที่มีผลต่อผลกำไรในระยาวของคุณมากที่สุด … อาจเป็นพฤติกรรมของคุณเอง

ผมเองเป็นคนหนึ่งที่เชื่อมั่นอย่างมากว่าต่อให้มีคนอ่านบล็อกของผมเป็น ประจำสักหมื่นคน และต่อให้อีกเป็นพันๆคนรู้ว่าระบบการลงทุนแบบไหนที่ให้กำไรในระยะยาวบ้าง แต่ยังไงๆซะก็จะมีเพียงไม่กี่คนที่จะทำกำไรได้ในระยะยาว

ทำไมน่ะหรือครับ?

คำตอบง่ายมากเลย … เพราะการลงทุนหรือการเก็งกำไรมันเป็น Skill ความชำนาญ หรือพูดง่ายๆก็คือต่อให้รู้ก็ไม่ได้แปลว่าจะทำได้ มันคือ Knowledge + Action (และอาจบวกด้วยโชคเข้าไปเพิ่มเข้าไปเป็นครั้งเป็นคราว) นั่นเอง ^o^

ทีนี้ถ้าจะถามว่าส่วนของการ Action หรือการปฏิบัติภาคสนามของจริงมันสำคัญแค่ไหน ผมเลยขอหยิบเอา Slide ที่ได้ทำไปพูดแถมๆตอนท้ายในงาน The Super Trend ที่ผ่านมาให้ดูกัน โดยที่ผมได้แสดงให้เห็นว่าเพียงแค่การมี Error ชนิดเดียวนั้น มันก็เพียงพอแล้วที่จะทำให้ผลตอบแทนของคุณลดลงทันตา

จะเกิดอะไรขึ้นเพียงแค่จิตใจของคุณ “โลเล”

สำหรับการทดลองในคราวนี้นั้น ผมได้นำเอาความผิดพลาดง่ายๆจากพฤติกรรมของนักลงทุนในตลาดประเภทหนึ่งมาทดสอบ นั่นก็คือความ “โลเล” ในการตัดสินใจซื้อ-ขายหุ้น โดยสิ่งที่จะเกิดขึ้นในภาพด้านล่างก็คือกราฟเงินทุนของระบบการลงทุนชนิด เดียวกันทุกอย่าง แต่ต่างกันเพียงความล่าช้าในการเข้าซื้อหรือขายหุ้นที่มีอยู่เท่านั้นเอง ซึ่งในการทดสอบครั้งนี้นั้น ผมได้ตั้งเงื่อนไขให้ Computer ทำการ Delay วันที่ซื้อขายแบบ Random ตั้งแต่ 0 – 10 วันเป็นจำนวน 1,000 ครั้ง (แต่ในภาพจะโชวแค่ 20 เส้น) เพื่อสังเกตุถึงความแตกต่างระหว่าง

“ผลกำไรที่ควรจะเป็นไปตามระบบ และผลกำไรที่จะเกิดขึ้นจาก Behavior Gap ของเรา”

และนี่ก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นครับ!

Behavior Gap “หลุมดำ” ของผลตอบแทนจากการลงทุน

คุณคงจะเห็นได้อย่างชัดเจนแล้วนะครับว่า เพียงแค่ข้อผิดพลาดในการบังคับจิตใจเพียงข้อเดียว ก็มันสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงผลการลงทุนออกไปได้อย่างสิ้นเชิงแล้ว!!

นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมผมจึงอยากย้ำเสมอว่าเทคนิคต่างๆในการลงทุนนั้นไม่ ใช่ทุกอย่าง สิ่งที่แทบจะเป็นทุกอย่างคือการควบคุมจิตใจและพฤติกรรมของคุณเองต่างหาก บางคนวิ่งหาระบบสุดยอดแทบตายแต่ลืมคิดไปว่า มีคนมากมายที่สามารถจะสร้างระบบการลงทุนดีๆออกมาได้ แต่มีไม่กี่คนหรอกที่จะใช้มันได้เต็มที่จริงๆ

ดังนั้นนอกจากจะวิ่งออกไปข้างนอกแล้ว เราต้องรู้จักวิ่งเข้ามาค้นหาในจิตใจของเราเองด้วย

แน่นอนว่ามันคือสิ่งที่ยากที่สุด แต่นี่เป็นสิ่งที่คุณจำเป็นต้องทำมันให้ได้ … คุณต้องพยายามฝึกๆๆแล้วก็ฝึก ค่อยๆเรียนรู้และบ่มเพาะนิสัยการลงทุนที่ดีไปเรื่อยๆ ไม่เช่นนั้นแล้ว สุดท้ายคุณก็อาจทำให้ระบบการลงทุนดีๆของคุณกลายเป็นเพียงแค่ขยะไปก็ได้ แถมตัวของคุณเองก็ยังจะกลายเป็น “หลุมดำ” ของผลตอบแทนจากระบบดีๆไปโดยปริยายครับ

อย่าให้คำกล่าวที่ว่า “ระบบการลงทุนนั้น Work แต่คนใช้ดันไม่ Work” เกิดขึ้นกับเราเป็นอันขาด เพราะมันถือเป็นศักดิ์ศรีของเซียนเม่าอย่างเราเอามากๆเลยนะครับ ^o^

http://www.mangmaoclub.com/behavior-gap/

QE 1 2 3

มาตรการผ่อนคลายทางการเงิน (Quantitative Easing, QE) คือ หนึ่งในทางเลือกหลักที่ธนาคารกลางแต่ละประเทศใช้ในการควบคุมปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจสาเหตุที่ QE เริ่มเป็นอีกปัจจัยที่นักลงทุนให้ความสำคัญนั้น ก็เริ่มมาจากคราวที่ FED หรือธนาคารกลางสหรัฐฯ มีการใช้ QE ในการแก้ปัญหาวิกฤติซับไพรม์
ช่วงเกิดวิกฤติซับไพร์ม หรือ  QE1 ซึ่งมีการประกาศใช้วันที่ 28-29 ต.ค.2551  จำนวน 6  แสนล้านดอลลาร์สหรัฐโดยการออกมาตรการQE1 ในช่วงปลาย พ.ย.2551 - มี.ค.2552 เพื่ออุ้มสถาบันการเงินไม่ให้ล้ม พร้อมกับเพื่อพยุงตลาดอสังหาริมทรัพย์ด้วยการรับซื้อหนี้จำนองจากพอร์ตธนาคารพาณิชย์ผ่านโครงการ TALF (Term Asset-Backed Securities Loan Facilities) รวมมูลค่าราว 1.75 ล้านล้านเหรียญ โดยหวังว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะฟื้นตัวขึ้น แต่เมื่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ไม่ได้ฟื้นตัวขึ้นดังหวัง FED
จึงประกาศใช้ QE2 ต่อ ด้วยการเข้าซื้อพันธบัตรระยะยาวในตลาดตั้งแต่ต้นเดือน พ.ย.2553 – มิ.ย.2554 อีก 6 แสนล้านเหรียญ โดยผลจาก QE ทั้ง 2 ครั้ง กลับส่งผลเสียต่อค่าเงินดอลลาร์สรอ.ที่อ่อนค่าลงมาก
ส่วน QE3 ที่โผล่ตามมาติดๆ เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2555
QE4 , FED ประกาศใช้ QE4 ด้วยการซื้อพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐรอบใหม่วงเงิน 4.5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน เพื่อรองรับแนวโน้มเศรษฐกิจเมื่อมาตรการ Operation Twist หมดอายุลง 12 ธันวาคม 2555



8/08/2012

กลุ่มทรอยก้า (Troika)

คณะกรรมการร่วมผู้ตรวจสอบวินัยการคลังของยุโรป ที่เรียกว่า "ทรอยก้า"(Troika) ซึ่งประกอบด้วย คณะกรรมาธิการยุโรป European Commission (EC) ธนาคารกลางยุโรป European Central Bank (ECB) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ International Monetary Fund (IMF)